ไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต และไขมันในธรรมชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) หรือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไตรเอซิลกลีเซอรอล 1 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 38 kJ ซึ่งให้พลังงานมากกว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเกือบ 2 เท่า ก่อนที่จะเกิดการย่อย ไตรเอซิลกลีเซอรอลสามารถถูกดูดซึมได้ที่ผนังของลำไส้เล็ก ในการที่จะย่อยไตรเอซิลกลีเซอรอลนั้น ไตรเอซิลกลีเซอรอลจะต้องเปลี่ยนจากรูปที่ไม่ละลายน้ำไปเป็นรูปของไมเซลล์ (micelles) หลังจากนั้นต่อมน้ำดีจะหลั่งน้ำดีไปคลุกเคล้ากับไตรเอซิลกลีเซอรอลที่ลำไส้เล็ก ทำให้เอนไซม์ไลเปสที่ละลายในน้ำ (water soluble lipase) ในลำใส้เล็กสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเอนไซม์ไลเปสย่อยไตรเอซิลกลีเซอรอลแล้วจะได้เป็น
มอนอเอซิลกลีเซอรอล (monoacylglycerol) ประมาณ 95% ของพลังงานทั้งหมดของไตรเอซิลกลีเซอรอลจะยังคงอยู่ในรูปของสายโซ่ของกรดไขมัน มีเพียง 5% เท่านั้นที่จะอยู่ในรูปของกลีเซอรอล
การเข้าสู่วิถีไกลโคไลติกของกลีเซอรอล (entry of glycerol into the glycolytic pathway) 1. กลีเซอรอลที่ได้จากการย่อยไตรเอซิลกลีเซอรอลโดยเอนไซม์ไลเปสจะเข้าทำปฏิกิริยาฟอสฟอริเลชันต่อ ได้เป็น L-glycerol 3-phosphate โดยมีเอนไซม์ glycerol kinase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 2. L-glycerol 3-phosphate ที่ได้ถูกออกซิไดซ์ด้วย NAD+ ได้เป็น dihydroxyacetone phosphate โดยมี glycerol -phosphate dehydrogenase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 3. dihydroxyacetone phosphate ที่ได้จะถูกเปลี่ยนไอโซเมอร์ D-glyceroldehyde 3-phosphate โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็น triose phosphate isomerase 4. D-glyceroldehyde 3-phosphate ที่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ในกระบวนการไกลโคลิซิสต่อไป
ปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันเกิดในไมโทคอนเดรียและปฏิกิริยาออกซิเดชันเพื่อเปลี่ยนจากกรดไขมันไปเป็น
CO2 และ H2O อย่างสมบูรณ์จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
คือ 1.
บีตา-ออกซิเดชัน (b-oxidation) ในส่วนของการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัวนั้น จะค่อนข้างคล้ายกับออกซิเดชันของกรดไขมันอิ่มตัว แต่จะขอไม่อธิบายในที่นี้ 2.
วัฏจักรกรดซิตริก (citric acid cycle)
3. การถ่ายโอนอิเล็กตรอนไปสู่ลูกโซ่การหายใจในไมโทคอนเดรีย เราสามารถแบ่งการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมันออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 1. ออกซิเดชันของกรดไขมันอิ่มตัว 2. ออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว |