น้องๆ ทราบหรือไม่เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาได้กี่แบบ





เอ แล้วพี่เอนไซม์จะใช้เกณฑ์อะไร
เป็นตัวจำแนกค่ะ



เอาเป็นว่าเรามาพูดถึงเอนไซม์
ทั่วๆ ไปก่อนดีกว่า

      โดยทั่วไปมักนิยมเรียกชื่อของเอนไซม์โดยใช้ชื่อของซับสเตรต ตามด้วย -ase เช่น ยูรีเอส (urease) (ย่อยสลายยูเรียให้กลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย)
หรือไม่ก็ใช้ ชื่อสามัญ เช่น ทริปซิน เรนนิน
ใช่หรือเปล่าค่ะ


ใช่ครับ แต่เนื่องจากมีการค้นพบเอนไซม์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆและการเรียกชื่อแบบสามัญ อาจทำให้เกิดความสับสนได้

     ดังนั้น สหพันธ์ชีวเคมีนานาชาติ หรือ The International Union of Biochemistry (IUB) จึงได้กำหนดให้มีการจัดระบบการเรียกชื่อเอนไซม์ใหม่ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน และความเป็นระเบียบ โดยใช้เป็นรหัสเอนไซม์ หรือ Enzyme Commission number (EC) ในการนี้ได้แยกเอนไซม์ ออกเป็น 6 กลุ่ม และแบ่งย่อยเป็นคลาสย่อยตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

     EC number นี้จะเป็นตัวเลข 4 ตัวของระบบเลขรหัส โดยเลขตัวที่ 1 แสดง คลาส (class) ที่เอนไซม์นั้นๆ ได้ถูกจัดไว้ ตัวเลขที่ 2 และ3 แสดงคลาสย่อย (sub class และ sub-sub class) ซึ่งจะบอกถึงชนิดของปฏิกิริยาที่ถูกเร่ง และ ตัวเลขที่ 4 แสดง serial number (หมายเลขที่กำหนดให้) จะช่วยแยกเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยา คล้ายกันออกจากกัน


  ตัวอย่าง เอนไซม์มีที่ชื่อสามัญว่า เฮกโซไคเนส (Hexokinase)
มีรหัสเอนไซม์ คือ
EC 2.7.1.1          2 หมายถึง สามารถย้ายหมู่ต่างๆ เรียกว่า ประเภททรานสเฟอเรส
                           7 หมายถึง หมู่ที่ถูกย้าย ในที่นี้คือ ย้ายหมู่ฟอสเฟต
                           1 หมายถึง ซับสเตรตอีกตัวหนึ่งที่มีหมู่แอลกอฮอล์เป็นตัวรับหมู่ฟอสเฟต
                           1 หมายถึง หมายเลขที่กำหนดให้คือ 1 , เฮกโซไคเนส (Hexokinase)
                                                    


  

บางครั้งอาจเรียกเอนไซม์ตาม

ชื่อซับสเตรต ; ผลิตภัณฑ์ กลุ่มของเอนไซม์

เช่น เบตา-ดี-กลูโคส : ออกซิเจน ออกซิโดรีดักเทส (beta-D-glucose:oxygen oxidoreductase) มีชื่อสามัญ คือ กลูโคสออกซิเดส (glucose oxidase)

 

 


 


หนูดีคิดว่า EC จึงเป็นระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อเอนไซม์ให้ถูกต้องตามหลัก
ใช้ในการตีพิมพ์หรืองานวิจัย เพื่อให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น


แต่หนูดีก็จำเป็นจะต้องรู้การเรียกชื่อตามหลัก EC number ด้วยนะ

ในบทเรียนนี้จึงแยกเอนไซม์ออกเป็น 6 ประเภท ซึ่งก็คือตัวเลขตัวแรกในระบบ EC number ดังนี้

 

 

ประเภท

(first digit)

คลาส

(class)

ชนิดของปฏิกิริยาที่เร่ง

(types of reaction catalyzed)

1

ออกซิโดรีดักเทส

(Oxidoreductase)

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน

(oxidation reduction)

2

ทรานสเฟอเรส

(Transferase)

ปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชัน (funtional group) ระหว่างโมเลกุลสองโมเลกุล
3

ไฮโดรเลส

(Hydrolase)

ปฏิกิริยาแยกสลายด้วยน้ำ
4

ไลเอส

(Lyase)

ปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายหมู่ต่างๆออกจากซับสเตรตโดยไม่ใช้น้ำ
5

ไอโซเมอเรส

(Isomerase)

ปฏิกิริยาการเปลี่ยนไปมาระหว่างสารที่เป็น
ไอโซเมอร์ (isomer) ซึ่งกันและกัน
6

ไลเกส หรือ ซินเธเทส

(Ligase or synthetase)

เชื่อมต่อโมเลกุล 2 โมเลกุลเข้าด้วยกัน หากในการเชื่อมต่อ ต้องอาศัยพลังงานจาก ATP เข้าช่วย จะใช้ชื่อว่าซินเธเทส (synthetase)