กระบวนการต่างๆ ของชีวิต เช่น การสลายสารอาหารซึ่งได้แก่ โปรตีน ลิพิด และ
คาร์โบไฮเดรต การสังเคราะห์ชีวโมเลกุลต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย การหายใจระดับเซลล์
การทำงานของกล้ามเนื้อ และการส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี
ทั้งสิ้น

      ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายสามารถเกิดขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมของเซลล์ในร่างกายซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส และค่า pH ที่เป็นกลาง ที่เป็นเช่นนี้ได้ เพราะทุกๆ เซลล์ของร่างกายมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งในทุกๆ ปฏิกิริยา นอกจากนี้ภายนอกเซลล์ เช่น ในน้ำเลือด กระเพาะอาหาร น้ำลาย ก็มีเอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาด้วย

      การที่ปฏิกิริยาเคมีทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาในหลอดทดลองหรือปฏิกิริยาภายในเซลล์จะเกิดขึ้น
ได้นั้น บางส่วนในโมเลกุลของซับสเตรตจะต้องได้รับพลังงานเพิ่มเติมจากสิ่งแวดล้อม มากกว่าบริเวณอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ทั้งโมเลกุลเข้าสู่สภาพเปลี่ยน (transition state) พลังงานเพิ่มเติมนี้ เรียกว่า พลังงานอิสระของการกระตุ้น (free energy of activation)

                

          การที่จะเพิ่มพลังงานกระตุ้นนั้น ทำได้หลายวิธี เช่น เพิ่มอุณหภูมิ เพราะเมื่อเพิ่มอุณหภูมิ โมเลกุลต่างๆ ก็จะมีพลังงานสูงขึ้น ทำให้โอกาสในการชนกัน ในตำแหน่งที่เหมาะสมมีเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยานั้นจึงเกิดขึ้นได้ พลังงานอิสระของการกระตุ้นนี้ จึงเปรียบเสมือนภูเขาอุปสรรคของการเกิดปฏิกิริยาเคมี

 

 

กราฟ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานอิสระและวิถีของปฏิกิริยา

      เอนไซม์ทำหน้าที่ในการลดพลังงานอิสระของโมเลกุลในสภาพเปลี่ยน ทำให้ต้องใช้พลังงานอิสระในการกระตุ้นลดน้อยลง เช่น อาจทำให้เกิดการชนกันในตำแหน่งที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว จึงเปรียบเสมือนกับลดความสูงของภูเขาอุปสรรคลง ทำให้จำนวน (ร้อยละ) ของโมเลกุลของซับสเตรตมีพลังงานเพียงพอที่จะเข้าสู่สภาพเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้น จึงทำให้อัตราเร็วของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นไปด้วย
    เพราะฉะนั้นเอนไซม์จึงทำหน้าที่เสมือนแม่สื่อที่ทำให้สารต่างๆ เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นนั่นเอง (บทที่ 2 ทำไมร่างกายของสิ่งมีชีวิตต้องการเอนไซม์)



กราฟ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานอิสระและวิถีของปฏิกิริยา
เมื่อมีและไม่มีเอนไซม์


ภาพจำลอง แสดงการชนและวางตัวของโมเลกุลของสาร

ภาพจำลอง เมื่อมีเอนไซม์โมเลกุลของสารจะชนและวางตัวในตำแหน่งที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น

 
     


รู้หรือไม่          

      เอนไซม์สามารถเร่งให้ปฏิกิริยาดำเนินได้เร็วขึ้น
เป็น ล้าน-ล้านล้าน (106-1012 ) เท่าของปฏิกิริยาที่ไม่มีการเร่งและ มีความจำเพาะต่อตัวเข้าทำปฏิกิริยาสูงมาก