จากที่เคยกล่าวแล้วว่า อัตราเร็วของปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์
เป็นตัวเร่ง มีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในบทนี้
จึงพาทุกๆ คนมาเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเร็ว
ของปฏิกิริยา



      การเพิ่มความเข้มข้นของซับสเตรต จะทำให้อัตราเร็วเริ่มต้นเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในช่วงที่ความเข้มข้นของซับสเตรตยังน้อยอยู่แต่จะเพิ่มขึ้น
ในอัตราที่ช้าลงในช่วงที่ความเข้มข้นของซับสเตรตสูงมากและในที่สุด
อัตราเร็วเริ่มต้นจะสูงคงที่ไม่แปรผันกับความเข้มข้นของซับสเตรตอีกต่อไป




 



ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ปริมาณเอนไซม์เป็นข้อจำกัด
ของปฏิกิริยาไงล่ะ


          ความเข้มข้นของซับสเตรตที่ให้อัตราความเร็วสูงสุดเรียกว่า
ความเข้มข้นอิ่มตัว (saturating concentration) ของซับสเตรต

ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์

 



      เอนไซม์แต่ละตัวจะมีค่า pH ที่ทำงานได้ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงระหว่าง
pH 5 ถึง pH 9 ความสามารถของเอนไซม์ในการจับกับซับสเตรต และ
ในการเร่งปฏิกิริยาอาจขึ้นอยู่กับความสมดุลของประจุของหมู่ต่างๆ ในบริเวณเร่ง
และบริเวณจับของเอนไซม์ รวมทั้งประจุของซับสเตรตเองด้วยที่ pH ต่ำหรือสูง
เกินไปมักทำให้ประจุเปลี่ยนไปจนไม่เหมาะสมที่จะทำปฏิกิริยากัน นอกจากนี้ที่ pH
สูงมากหรือต่ำมากอาจทำให้โครงสร้างของเอนไซม์เสียรูปร่างสามมิติเปลี่ยนไปจนทำงานไม่ได้

 



      เมื่อเพิ่มอุณหภูมิมักจะทำให้ปฏิกิริยาเคมีทั่วๆไปมีอัตราเร็วสูงขึ้นเพราะจะทำให้
โมเลกุลของซับสเตรตมีพลังงานมากขึ้นและเพิ่มโมเลกุลที่มีพลังงานเพียงพอที่จะ
เข้าสู่สภาพเปลี่ยนแต่สำหรับปฏิกิริยาของเอนไซม์ การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้อัตราเร็ว
ของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วยแต่ที่อุณหภูมิสูงเกินไปอาจทำให้เอนไซม์เสียสภาพธรรมชาติ
อัตราเร็วจะลดลงทันที

 

น้องๆ อธิบายได้หรือไม่ว่าเพราะเหตุใด
ร่างกายจึงต้องรักษาระดับอุณหภูมิและ pH ให้อยู่ในระดับ
คงที่เสมอ
 



      เมื่อปฏิกิริยาเกิดที่ความเข้มข้นอิ่มตัวของซับสเตรตอัตราความเร็วเริ่มต้น
จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเอ็นไซม์ที่ใช้

 





อย่างไรก็ตามการเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์โดยมี
ซับสเตรตอย่างเพียงพอ อัตราการเกิดปฏิกิริยา
จะเพิ่มขึ้นได้เพียงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นอัตราการเกิด
ปฏิกิริยาจะคงที่ เนื่องจากค่า Vmax ของเอนไซม์เป็นข้อกำหนด เพราะเป็นค่าที่บอกอัตราเร็วสูงสุดของเอนไซม์นั้นๆ อยู่แล้ว