ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์จำนวนมากต้องการซับสเตรตสองตัวหรือมากกว่า
กลไกของปฏิกิริยาที่มีซับสเตรตสองตัวนั้น อาจแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ
แบบแรกคือ แบบปิงปอง (ping-pong mechanism) และแบบที่สองคือ แบบลำดับ
(sequential mechanism)

      กลไกของการเกิดปฏิกิริยาแบบปิงปองเกิดขึ้นโดยที่เอนไซม์จะเข้าจับกับซับสเตรต
ตัวหนึ่งก่อน และให้ผลผลิตของปฏิกิริยา รวมทั้งตัวเอนไซม์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปออกมา จากนั้นซับสเตรตตัวที่สองจึงเข้าจับและทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ให้ผลิตผลอีกตัว หนึ่งและได้เอนไซม์กลับคืนมาในสภาพเดิม

        

           จากภาพจะเห็นได้ว่าซับสเตรต A ต้องเข้ามาทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ E เพื่อให้ได้ P แล้วเอนไซม์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เป็น F ซึ่งเหมาะกับซับสเตรต B จากนั้นจึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ Q และ E ตัวเดิมกลับคืนมา

 

       ในการเกิดปฏิกิริยาแบบลำดับ เอนไซม์จะจับกับซับสเตรตทั้งคู่เสียก่อน
แล้วจึงจะเร่งปฏิกิริยาให้ได้ผลผลิตออกมา กลไกแบบลำดับสามารถแบ่งออกได้เป็น
2 แบบย่อย คือ แบบลำดับตามระเบียบ (sequential ordered) ซึ่งเอนไซม์จะจับกับ
ซับสเตรตทีละตัวในลำดับที่แน่นอน และแบบลำดับสุ่ม (sequential random)
ซึ่งเอนไซม์จะจับกับซับสเตรตตัวใดก่อนก็ได้



            จากภาพจะเห็นได้ว่า ซับสเตรต A ต้องเข้าจับกับเอนไซม์ E เพื่อให้เกิด EA ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อนก่อน ซับสเตรต B จึงเข้ามาจับได้ จากนั้นจะให P ออกมาก่อน ในที่สุดก็จะได้ผลิตภัณฑ์ Q และเอนไซม์ E ตัวเดิมกลับคืนมา

 

        จากภาพจะเห็นได้ว่าซับสเตรต A หรือ B เข้ากับเอนไซม์อย่างไรก็ได้ ไม่ต้องเรียงลำดับ และจะผลิตภัณฑ์ P และ Q ออกมา

 

1. น้องๆ คิดว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกซิเจน หรือ ก๊าซไนโตรเจน เป็นซับสเตรตของเอนไซมในร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่