ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่

     คอร์ติซอล (cortisol) เป็นฮอร์โมนที่จำเป็น (essential hormone) ที่มีความสำคัญต่อชีวิต ถ้าขาดฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นจะมีผลอย่างมากต่อเซลล์ของร่างกาย

      1. เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด กลูโคคอร์ติคอยด์ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งการอดอาหาร (hormone of starvation) เพราะว่าจะกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนบางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน (gluconeogenesis) เรียกว่า กลูโคส สแปริ่ง เอฟเฟ็ก (glucose – sparing effect) ซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญ เพราะจะมีผลในการเผื่อน้ำตาลกลูโคสไว้ให้สมองใช้งานได้ตลอดเวลา

 

     2. กดระบบภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive effect) ยับยั้งกลไกการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดการสลัดอวัยวะที่ปลูกถ่าย (organ rejection) แต่กลูโคคอร์ติคอยด์จะไม่มีผลต่อภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากภายนอก เช่นการได้รับวัคซีนที่เป็นอิมมูนต่างๆ (immune)

     3. ต่อต้านการอักเสบ (anti inflammatory effect) โดยการลดการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว ไปยังบริเวณที่อักเสบ ลดการเกิดหนอง (exudation) และลดการแพ้สารต่างๆ โดยยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน

แต่เนื่องจากระบบป้องกันตนเอง (defense mechanism) ถูกยับยั้งด้วย ทำให้เกิดผลเสียคือ ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทำให้ติดเชื้อง่าย และทำให้ลดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแบคทีเรีย(helicobacter pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร เพราะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ความเข้าใจเดิมมีอยู่ว่า ว่าโรคกระเพาะเกิดจากการมีกรดมากเกินไปเท่านั้น    เราต้องระวังในการรับประทานสเตรอยด์ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ถ้าได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ ต้องระวังเรื่องอะไร

ตอบ

 

      4. กระตุ้นการสลายแคลเซียม โดยการเสริมฤทธิ์ของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนทำให้มีแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น และลดการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ ทำให้มีการขับแคลเซียมที่ท่อไตเพิ่มมากขึ้น ลดการสร้างกระดูก ยับยั้งการเติบโตของกระดูก ทำให้เกิดโรคกระดูกผุ

       5. ผลต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองไวต่อสิ่งเร้า และต่อสู้กับความเครียด

 

 

      การทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกควบคุมโดย อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิคฮอร์โมน (adrenocorticotrophic hormone : ACTH) ซึ่งเป็นโทรฟิคฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า การหลั่งของ ACTH จะถูกควบคุมอีกทีจากคอร์ติโคโทรฟิน รีลิสซิงฮอร์โมน (corticotrophin releasing hormone: CRH) จากไฮโพทาลามัสมาตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ได้แก่ ระยะเวลาของแต่ละวัน การเปลี่ยนเวลานอน การอดอาหาร ภาวะเครียด ระดับของคอร์ติซอลที่ลดลงจะย้อนกลับไปกระตุ้นการหลั่ง CRH และACTH ได้

การควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก

                    ความเครียด การได้รับบาดเจ็บ อารมณ์ ฯ จะกระตุ้นไฮโพทาลามัส ให้หลั่ง CRH ไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง ACTH มากระตุ้นที่ต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้หลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนนอกออกมามีผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่เมื่อระดับฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกมีมากเพียงพอ จะไปยับยั้งไฮโพทาลามัสและต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้ลดการหลั่ง CRH และ ACTH ทำให้ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตปกต

 

       ระดับของฮอร์โมนจะสูงต่ำตามระดับของอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิคฮอร์โมน (adrenocorticotrophic hormone : ACTH) ซึ่งส่งมาควบคุมจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH จะมีการหลั่งเป็นการควบคุมในรอบ 24 ชั่วโมง(circadian rhythm หรือdiurnal ซึ่งแปลว่า กลางวัน-กลางคืน) คือ มีการหลั่งสูงสุดตอนเช้ามืด ก่อนตื่นนอนจนถึงตอนเช้า ในช่วงกลางวันจะลดลงไปเรื่อยๆ จะต่ำสุดในช่วงกลางคืนและก่อนนอน เป็นเช่นนี้ทุกวัน

การเปลี่ยนแปลงของ ACTH และกลูโคคอร์ติคอย ซึ่งจะขึ้นลงในรอบ 24 ชั่วโมง

 


           ภาวะมีฮอร์โมนนี้มากไป ร่างกายจะเป็นอย่างไร?

      ถ้ามีฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้มีความผิดปรกติเกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน เพิ่มความต้องการรับประทานอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีการสะสมไขมันบริเวณแกนกลางของลำตัว เช่น ใบหน้าทำให้หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ (moon face) บริเวณคอมีหนอกยื่นออกมา (buffalo hump) มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีการสลายโปรตีนและไขมันตามบริเวณแขน ขา ทำให้แขน ขาเรียว ผิวบาง เห็นเส้นเลือดฝอย พบเส้นเลือดแตกที่หน้าท้อง(red stria) ขาดประจำเดือน (amenorrhea) กระดูกผุ ติดเชื้อง่าย เกิดกลุ่มอาการโรคที่เรียกว่า คุชชิง(Cushing’s syndrome ) พบในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกของต่อมหมวกไตส่วนนอกหรือได้รับการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนที่มีคอร์ติโคสเตรอยด์เป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันอาการแพ้ อักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

 

ผู้ป่วยเป็นโรคคุชชิง (Cushing’s syndrome )

เด็กที่มีอาการคูชชิ่ง
ภาพด้านซ้ายเป็นภาพก่อนมีอาการ  ภาพด้านขวาคือภาพหน้าพระจันทร์(moon face)เมื่อมีอาการโรคนี้ผ่านไป 4เดือน

 

       ถ้ามีฮอร์โมนนี้น้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าแอดดิสัน (Addison’s disease) จะมีอาการซูบผอม รับประทานอาหารไม่ได้ (anorexia nervosa) อาเจียน ท้องเสีย การรักษาสมดุลของแร่ธาตุสูญเสีย ทำให้สับสนและถึงแก่ความตายได้

อาการแสดงของผู้เป็นโรคแอดดิสัน ซึ่งมีผิวสีเข้มตามที่ต่างๆ

                              A ตามที่ต่างๆ ของลำตัว                      B   แผลเป็น

                              C เส้นลายมือมีสีเข้มขึ้น                       D   หัวนม

                              E บริเวณลงน้ำหนักเช่นข้อศอก             F   เหงือกดำ