คอพอก (goiter ) คือต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นกว่าปกติ ถ้าโตมาก ๆ จะกดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก ไอ สำลัก ถ้ากดหลอดอาหารจะกลืนอาหารลำบาก ปัจจุบันคนที่มีอาการคอพอกไม่ค่อยพบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี แต่จะมีผู้ที่ขาดสารไอโอดีน และมีผู้ที่มีอาการคอโหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ในปัจจุบันต้องใช้วิธีการคลำ หรือใช้เครื่องอัลตราซาวน์วัด

 

คอโตเนื่องจากขาดไอโอดีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน

                            (ภาพจากhttp://banglapedia.search.com.bd/Images/G_0146A.JPG)

      การขาดไอโอดีน

       ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนได้น้อย (hypothyroidism) ซึ่งจะไม่มีสัญญาณย้อนกลับไปยับยั้งไฮโพทาลามัสทำให้มีสร้างฮอร์โมนไทรอยฮอร์โมนรีลีสซิงฮอร์โมน (Thyroid Releasing Hormone : TRH)มากขึ้น และไม่มีการยับยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้มีสร้างไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (Thyroid Stimulating Hormone : TSH) เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน   ทำให้ต่อมไทรอยด์กระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มมากขึ้น จนต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมจะโตขึ้นเรียกว่า โรคคอพอก (simple goiter)

 

      สาเหตุ

                                        การสร้างที่ปกต

 

 

การหลั่งของไทรอยด์รีลิสซิ่งฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัสมากระตุ้นการหลั่งไทรอยด์ สติมูเลติงฮอร์โมนและมากระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น

 

      ปัจจัยที่ทำให้เกิดคอพอก

      1. การได้รับธาตุไอโอดีนในอาหารน้อยกว่าปกติ

      2. การได้รับสาร กอยโทรเจน (goitrogens) มากเกินไป

         สาร กอยโทรเจน(goitrogens) เป็นสารยับยั้งการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน โดยยับยั้งการส่งผ่าน ไอโอดีน ได้แก่สารพวก ไทโรยูราซิล(throuraci) และไทโอไซยาเนท (thiocyanate) ซึ่งพบในกระหล่ำปลี,หัวผักกาด มัสตาด และ ยารักษาโรคไทรอยด์ เช่นเพอโคเรท (perchlorate)

     3. การขาดเอนไซม์TPO สำหรับการสร้างฮอร์โมนมาตั้งแต่กำเนิด

     4. ร่างกายต้องการฮอร์โมนมากเกินปกติ พบในวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์ ผู้มีเนื้องอกของต่อมไทรอยด์  มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์และสาเหตุอื่นๆ

  เห็นด้วยหรือไม่ ที่สตรีควรรับประทานอาหารทะเลให้เพียงพอในขณะตั้งครรภ์

 

    

      ไทรอยด์ฟอลลิเคิลต้องการเกลือไอโอดีนในการผลิตฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ ไอโอดีนสามารถพบได้ในอาหารทะเล ประเภทกุ้ง หอย ปู ปลา พืชในทะเล ประเภทสาหร่ายและเกลือทะเล ซึ่งร่างกายจะนำไอโอดีนนี้ไปรวมกับโปรตีน สังเคราะห์เป็นฮอร์โมนไทรอกซินและไตรไอโอโดไทโรนิน

เกลือไอโอดีนส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน

    

   ท่านทราบหรือไม่ว่าในเกลือที่เรารับประทานมีไอโอดีนเท่าไร

   

      กระทรวงสาธารณสุขออกกฎให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนเป็นพาหะนำพาให้ประชาชนชาวไทยได้รับไอโอดีนมากพอต่อวัน เพราะว่าประชาชนบางกลุ่มไม่ได้ไอโอดีนจากอาหารมากเพียงพอ จึงให้มีการเสริมเกลือทะเล(หรือเกลือสมุทร) และเกลือสินเธาว์จนมีความเข้มข้นไอโอดีนถึงประมาณ 30 ไมโครกรัม/กรัมของเกลือ เพื่อให้ทุกคนได้รับไอโอดีนมากเพียงพอ

    เกลือสินเธาว์และเกลือทะเล ตามธรรมชาติจะมีปริมาณไอโอดีนน้อยเกือบเท่ากัน(คือประมาณ2 - 5 ไมโครกรัม/ กรัมของเกลือ) จนไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค  เพื่อให้ได้รับไอโอดีนมากพอ จึงต้องมีการเสริมเกลือทั้งสองอย่างเท่ากัน ถ้ารับประทานเกลือธรรมชาติ จะเป็นเกลือสินเธาว์หรือเกลือสมุทรก็ตามต้องได้รับประทานมากขึ้น 5-10เท่า เพื่อให้ได้รับไอโอดีนมากพอ ซึ่งเป็นขนาดที่ร่างกายทนไม่ได้

    เกลือสินเธาว์หรือเกลือทะเลที่ผลิตในประเทศไทย จำนวนมากมีการเสริมไอโอดีนไม่ได้มาตรฐานทั้งๆ ที่หน้าซองเขียนไว้ว่าผลิตตามมาตรฐาน จึงต้องมีการตรวจและสุ่มตัวอย่างเกลือที่ผลิตออกมาว่ามีไอโอดีนในรูปของเกลือไอโอเดรท โดยใช้เครื่องมือชุด I - Kit ซึ่งผลิตโดยสถาบันนวัตรกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และกระทรวงสาธารณสุข   สนใจติดต่อชุด และการใช้ได้ตามเว็บไซด์ของสถาบันนวัตรกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ที่ WWW.il@mahidol.ac.th หรือที่อีเมล scprw@mahidol.ac.th

    ฉะนั้นสรุปได้ว่าเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์มีไอโอดีนน้อยมากจึงไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค การไม่เพียงพอนี้ถือได้ว่าเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์ขาดสารไอโอดีนเท่าๆ กัน

       การมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป

        ถ้าฮอร์โมนไทรอกซินผลิตออกมามากเกินไป( hyperthyroidism) จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษ (toxic goiter) จะทำให้ร่างกายมีอาการเหมือนมีการสร้างพลังงานหรือกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป ได้แก่ หงุดหงิด นอนไม่หลับ ตื่นเต้นง่าย ตาเบิ่งกว้าง ถ้ายื่นมือไปข้างหน้าปลายนิ้วจะสั่น (tremor) มีการเผาผลาญโปรตีนมากทำให้อ่อนเพลียและเนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญมากจึงทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้กินจุ น้ำหนักลด มีการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก ตัวอุ่นชื้นเนื่องจากเส้นเลือดแดงคลายตัว อาจมีอาการคอพอกและตาโปน(exophthalmoses) เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง

    

ตัวอุ่นชื้น

ตื่นเต้นง่าย

หัวใจเต้นเร็ว

ตาโปน

น้ำหนักลด

เหงื่อออกมาก

 

อาการของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

 

       โรคเกรฟ (Grave’s disease) เป็นโรคหนึ่งของการมีไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของโรคภูมิแพ้ตนเอง (immune disorder) ซึ่งมีอาการคล้ายโรคคอหอยพอกเป็นพิษ

 

 

อาการหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคเกรฟ จะมีอาการตาโปน(exophthalmoses)
เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง

       การรักษา

       โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยการให้รับประทานยา หรือได้รับสารไอโอดีนที่เป็นกัมมันตรังสี หรือการผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออกเพื่อให้การสร้างฮอร์โมนไทรอกซินน้อยลง