พบว่าบุคคลทั่วไปและบุคคลากรทางการแพทย์บางคนเห็นว่าการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพยาธิสภาพซึ่งทำให้มีอาการคอพอก
(goiter) และตาโปน(exophthalmoses) ก่อนที่จะคิดถึงความผิดปกติอื่นๆ
ของร่างกาย อาการที่กล่าวถึงไม่ใช่อาการที่สำคัญมากนัก แต่อาการสำคัญที่สุดคือความผิดปกติทางสมองและการทำงานของร่างกายอื่นๆ
แม้ว่าในประเทศไทยอาการที่เกิดจากการขาดสารไอโอดีนจะพบได้มากในภาคเหนือ
และภาคอีสาน แต่ภาคอื่นของประเทศไทยก็มีปัญหานี้ รวมทั้งจังหวัดที่อยู่ใกล้กับชายทะเลด้วย
นอกจากนี้ยังพบในประเทศที่เป็นเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวเกาะก็มีการขาดสารไอโอดีนอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ทั้งๆ ที่คนคิดว่าน้ำทะเลและเกลือทะเลมีไอโอดีนเพียงพอ
ปัญหาที่สำคัญคือกลุ่มอาการ
IDD (iodine deficiency disorders) ที่เกิดขึ้นได้อย่างถาวร โดยเฉพาะทารกในครรภ์
ที่เกิดจากมารดาขาดสารไอโอดีน และทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับไอโอดีน ในเด็กที่เจริญเติบโตแล้ว
ถ้าขาดก็จะมีอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนและจะมีอาการเสื่อมของสมองชั่วคราวได้
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism)
คือ ภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอในร่างกาย
สาเหตุ
1.
การสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ
2.
เซลล์เป้าหมายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน ซึ่งมีระดับปกติ
3.
ตัวรับสัญญาณ (receptors) ผิดปกติ เกิดโรคของต่อมไทรอยด์
4.
ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
5.
การฉายรังสีที่กระทบกระเทือนต่อมไทรอยด์
6.
การได้รับยากลุ่มกอยโทรเจน (goitrogens) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้การนำไอโอดีนเข้าเซลล์ไม่ได้ดี
หรือแย่งเอนไซม์TPOในการจับไอโอดีน
7.
การขาดไอโอดีน
8.
การขาดเอนไซม์ไทโรเปอรอกซิเดส (thyroperoxidase)
9.
การเกิดโรคของต่อมใต้สมอง หรือที่ไฮโพทาลามัส
1. การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในวัยเด็ก
ผลการศึกษาในหลายประเทศพบว่า
การขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย อาจไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายอย่างชัดเจน
แต่มีผลต่อระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิว
ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ
2-3 ปี ถ้าขาดไอโอดีน จะมีสติปัญญาด้อย มีไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามศักยภาพ
เด็กที่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการขาดไอโอดีน มักมีไอคิวต่ำลงประมาณ
13.5 จุดเด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85
การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมาก
โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง จะทำให้รูปร่างเตี้ยแคระ แขน ขาสั้นหน้าและมือบวม
ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน
พัฒนาการทางด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน อาจหูหนวกและเป็นใบ้ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า
โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism) ซึ่งถ้าสามารถค้นพบปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและให้ไทรอยด์
้ฮอร์โมนทดแทนได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่แรกเกิด พัฒนาการสามารถเป็นปกติได้
การขาดฮอร์โมนในช่วงปีแรกจะทำให้สมองถูกทำลายอย่างถาวร
www.e-radiography.net/ radpath/c/cretinism.htm
เด็กที่มีภาวะเอ๋อหรือเครทินิซึม
(cretinism)
2. การขาดฮอร์โมนไทรอกซินในวัยผู้ใหญ่
จะส่งผลให้อัตราเมแทบอลิซึมลดน้อยลง
ทำให้อ่อนเพลีย เซื่องซึม เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนแอ
ติดเชื้อได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ทนหนาวไม่ได้ มีคอเลสเทอรอลสูง
ในผู้ที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
สารประกอบที่ประเภทวุ้นเช่น กรดไฮยาลูโรนิก
(hyaluronic acid) และคอนดรอยติน ซัลเฟต (chondroitin sulfate) จะจับกับโปรตีนใต้ผิวหนังมากขึ้น
ทำให้รู้สึกว่าผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม
ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยาโต้ตอบช้า ประจำเดือนผิดปกติ
เรียกกลุ่มอาการนี้ว่ามิกซีดีมา ( myxedema)
นอกจากนี้เสียงยังแหบและต่ำ
จนมีผู้กล่าวว่ามิกซีดีมาเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ทางโทรศัพท์ (
myxedema is the one disease that can be diagnosed over the telephone) นอกจากนี้ยังจิตประสาทไม่ดี
(myxedema madness) และมีผลต่อประสาทหูทำให้หูหนวกและเป็นใบ้ได้ (deaf-mutism)
จากภาพจะเห็นอาการบวมของหน้าและมือของผู้ป่วยที่เป็นมิกซีดีมา
นอกจากนี้ยังพบอาการการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติเนื่องจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์
(thyroiditis) ซึ่งเกิดจากการแพ้ภูมิป้องกันของตนเอง (autoimmune)
ทำให้มีอาการเหมือนคนที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยลง คืออ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ตาและปากแห้งและอาจมีอาการซึมเศร้าได้ เรียกโรคนี้ว่าต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต(
Hashimoto's thyroiditis )
การรักษา
ในมารดาที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนที่ปกติ
ระหว่างที่ตั้งครรภ์ไทรอยด์ฮอร์โมนจะผ่านรกไปได้ ดังนั้นทารกจะมีอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเมื่อเกิดแล้ว
ซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว โดยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่เด็กแรกเกิด
จะทำให้เด็กมีโอกาสเติบโตได้เป็นปกติ ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนชดเชยในขวบปีแรก
เด็กจะเติบโตเป็นเด็กปัญญาอ่อน ปัจจุบันจะเจาะเลือดทารกแรกเกิดเพื่อดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมนทุกคน
แต่ถ้ามารดาที่ตั้งครรภ์ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ทารกที่เกิดมาจะมีอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างถาวร ดังนั้นสตรีวัยเจริญพันธุ์
ตั้งแต่อายุ 13 ปี ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ ไม่ควรรอจนกระทั่งตั้งครรภ์
|