ถ้าร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนลดลงต่ำกว่าปกติ
หรือถ้าอัตราการเผาผลาญสารอาหารลดลงจะกระตุ้นให้ไฮโพทาลามัส หลั่งไทโรโทรปิน
รีลิสซิงฮอร์โมน เรียกย่อว่าที อาร์ เอช(TRH :thyrotropin releasing
hormone) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน
เรียกย่อว่าที เอส เอช(TSH : thyroid stimulating hormone) เพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์
ให้หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาจนกระทั่งความเข้มข้นของไทรอยด์ฮอร์โมนปกติ
ในภาวะที่ร่างกายต้องการพลังงาน เช่น อาการหนาว อยู่ในที่สูง หรือมีการตั้งครรภ์
จะมีผลในการควบคุมทำให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น
ความเครียด อาการหนาว กระตุ้น
การควบคุมการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อมีไทรอยด์ฮอร์โมนเพียงพอ
จะเกิดขบวนการย้อนกลับไปที่ต่อมใต้สมองและไฮโพทาลามัสให้ยับยั้งการสร้าง
T3 และ T4 โดยยับยั้งการหลั่ง TRHที่ไฮโพทาลามัส
ซึ่ง TRH ทำหน้าที่ยับยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งTSH ลดลง ทำให้มีการสร้างไทรอยด์ลดลงอยู่ในระดับที่ปกติ
การทำงานของต่อมไทรอยด์
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมนเพศ ได้แก่ อีสโทรเจน และแอนโดรเจน
ที่มีปริมาณสูงจะทำให้ TSH ลดลง นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้น TSH จะลดลงด้วย
- ค่าปกติอยู่ที่ 0.5-5.0
mU/L
- หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง
15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
- ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ
(ในที่นี้
U ย่อมาจากunit ซึ่งหมายถึง International unit (IU))
IUหมายถึงปริมาณของฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดผลจำเพาะใดจำเพาะหนึ่ง
(เช่นการหลั่งฮอร์โมนจากอวัยวะ หรือการผลิตน้ำตาลจากอวัยวะ) ตามคำจำกัดความขององค์กรนานาชาติและเป็นที่ยอมรับโดยอย่างสากล
ดังนั้นค่า IU ของฮอร์โมนแต่ละตัวอาจจะไม่เหมือนกัน
การควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง
(autoregulation)
ถ้ามีพยาธิสภาพที่ต่อมใต้สมองทำให้ไม่สามารถหลั่ง
TSH ได้ การควบคุมด้วยตัวเอง (autoregulation) ก็จะยังคงดำเนินไปโดยต่อมไทรอยด์สามารถทำงานเองได้ในระยะหนึ่ง
ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของ ไอโอไดด์ภายในต่อม เพราะร่างกายจะรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้คงที่อยู่เสมอ
ไอโอดีนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปสามารถทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้
แต่ร่างกายจะพยายามปรับให้เป็นปกติ เช่นถ้ามีไอโอดีนมากเกินไป ต่อมจะลดประสิทธิภาพการทำงานลง
โดยมีการปรับการขนส่งไอโอไดด์ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนลดลง เรียกการสังเคราะห์ฮอร์โมนลดลงเนื่องจากมีไอโอดีนมากเกินไปนี้ว่าผลกระทบแบบของ
วูล์ฟ ไชยคอฟ (Wolff - Chaikoff effect)
ในภาวะที่ขาดไอโอดีน
ต่อมจะเพิ่มประสิทธิภาพ และความไวต่อการตอบสนองต่อ TSH จะพบว่ามีการนำเอาไอโอไดด์
เข้าต่อมไทรอยด์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญมากในการทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์
ในด้านการใช้ไอโอดีน ถ้าต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป ก็จะมีการนำเข้าไอโอไดด์เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
แต่ ถ้า ต่อมไทรอยด์ไม่ค่อยสังเคราะห์ฮอร์โมน ค่าไอโอไดด์ที่ต่อมนำเข้ามาใช้
จะน้อยลง ในสมัยก่อนนิยมใช้ 131I ซึ่งเป็นไดโอไดด์กัมมันตรังสี
(radioactive iodide) เป็นตัวทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ แต่ ปัจจุบันนิยมนำเอา
123I มาใช้ทดสอบการทำงานของไอโอดีน เนื่องจากเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อน้อยกว่าเพราะมีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ
0.55 วัน ซึ่งสั้นกว่า131I ซึ่งมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 8.1
วัน
การวัดปริมาณไอโดไดด์กัมมันตรังสี
วิธีการตรวจ
ให้ผู้ต้องการตรวจรับประทานไอโอดีนรังสี
(radioactive iodine ) ซึ่งมีทั้งแบบน้ำและเม็ด ก่อนตรวจเป็นเวลา 24
ชั่วโมง หลัง จากนั้นเข้าเครื่องตรวจไทรอยด์ ผลการตรวจจะให้ภาพลักษณะทางขวามือโดยจะบอกได้ว่าเซลล์ไทรอยด์สามารถนำไอโอดีนในกระแสเลือดไปใช้ได้มากน้อยเท่าไร
ภาพทางซ้ายมือคือเครื่องไทรอยด์สแกน
ภาพทางขวามือคือผลของการตรวจการเปล่งกัมมันตภาพรังสี จะเห็นต่อมไทรอยด์เป็นรูปปีกผีเสื้อ
ขนาดปกติคือกว้าง5.1ซม.ยาว5.1 ซม.ถ้าผิดปกติก็จะเล็กหรือใหญ่กว่านี้
|