
ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท
ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน
(fight or flight response)
ต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ
2 ต่อม คือต่อมหมวกไตส่วนนอกเจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (mesenchymas)
ของชั้นมีโซเดิร์มของตัวอ่อน ต่อมหมวกไตส่วนในเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกับเซลล์ประสาท
ในทารกต่อมหมวกไตจะมีขนาดใหญ่
แต่เนื่องจากขาดสารเร่งปฏิกิริยา จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ได้
ผลิตได้แต่สารที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนอีสโทรเจนที่รก

โครงสร้างของต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง
จึงเรียกว่าต่อมหมวกไต (suprarenal gland) แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
2 ชั้นคือต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex)
และต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา(adrenal medulla) ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ต่างกัน

ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ต่างกัน
|