ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งอยู่บริเวณลำคอ หน้าต่อกล่องเสียง เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในคนปกติมีน้ำหนักประมาณ 25 กรัม เจริญมาจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนชั้นใน (endoderm) ที่อยู่ที่ฐานของคอหอย แล้วแทรกตัวเข้าไปอยู่หน้าต่อหลอดลม แบ่งออกเป็น 2 พูและเชื่อมกันตรงกลาง ด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (isthmus)

ตำแหน่งของต่อมไทรอยด์ที่บริเวณลำคอ
แบ่งออกเป็น 2 พูซ้ายและขวา เชื่อมต่อกันด้วยอิสมัท

 

      ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน ที่สามารถดึงไอโอดีนจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ต่อมไทรอยด์ จะประกอบด้วยถุงหุ้มที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ซึ่งเป็นที่สร้างฮอร์โมน เรียกว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) เป็นที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxine)       และไทรไอโอโดไทโรนิน (triiodothyronine) ซึ่งมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ   แล้วเก็บไว้ในของเหลว ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่าคอลลอยด์หรือโพรงถุงไทรอยด์ (colloid) ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เรียกว่าไทโรโกลบูลิน (thyroglobulin) ไกลโคโปรตีนคือโปรตีนเชิงซ้อนซึ่งมีหมู่ของคาร์โบไฮเดรตทำพันธะโควาเลนท์กับโปรตีน

 

            1. ฟอลลิคูลา เซลล์ (follicular cell)

            2. พาราฟอลลิคูลา เซลล์ (parafollicular   cell หรือ C-  cell ) 

          

            ฟอลลิคูลาร์เซลล์ (follicular cell) เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ต่อมไทรอยด์จะประกอบ ด้วยท่อกลมๆหลายอัน เรียกว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ฟอลลิเคิล แต่ละอันประกอบด้วย เซลล์ เยื่อบุผิวชนิดลูกเต๋า (cuboid) เรียงตัวเป็นชั้นเดียวล้อมรอบช่องว่าง ซึ่งบรรจุสารคอลลอยด์ เซลล์เหล่านี้คือ ฟอลลิคูลา เซลล์(follicular cell) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxine , หรือ tetraiodothyronine, T4) และไทรไอโอโดไทโรนิน: triiodothyronine, T3)

ต่อมไทรอยด์เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์ ประกอบด้วยไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) มีฟอลลิคูลาร์ เซลล์เป็นเซลล์รูปลูกเต๋า (cuboid) ที่เรียงตัวชั้นเดียวล้อมรอบช่องว่าง ซึ่งบรรจุสารข้นๆ เรียกว่า คอลลอยด์ (colloid )