|
นาโนเทคโนโลยี หน่วยที่ 2: ทำความรู้จักกับนาโนเทคโนโลยี มหัศจรรย์อาณาจักรนาโน (1) |
|
|
|
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแนวคิดของความเป็นไปได้ในอนาคตที่เกิดขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว และมีหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด การโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ที่มีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ทุกประการหรือที่มีลักษณะตามที่ต้องการ ระบบพลังงานแสงที่สามารถเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากได้ เป็นต้น แต่หากย้อนมองกลับมาสู่ระบบภายในธรรมชาติที่เราอาศัยอยู่ จะพบว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นไม่ได้เป็นสิ่งแปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วภายในธรรมชาติ ดังนั้นแล้วสิ่งที่มนุษย์พยายามประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ ก็เป็นเพียงแค่การเลียนแบบการทำงานในระบบของธรรมชาตินั่นเอง อาจสามารถเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนขึ้นได้ อย่างเช่นระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าจะกล่าวไปแล้วก็เป็นการเลียนแบบระบบการทำงานของเซลล์สมองของมนุษย์ การโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตก็เป็นการเลียนแบบการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในธรรมชาติ (ซึ่งพบได้ใน พืช และแมลง) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ก็เป็นการเลียนแบบการสังเคราะห์แสงของพืชนั่นเอง |
|
จากข้อค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่าสิ่งมีชีวิตในธรรมชาตินั้นมีวิวัฒนาการมานานนับพันล้านปี เพื่อปรับโครงสร้างการทำงานและระบบต่างๆ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งการทำงานภายในระบบต่างๆ ล้วนแล้วแต่อาศัยสารอินทรีย์ในระบบธรรมชาติทั้งสิ้น การถ่ายทอดพลังงานหรือการส่งผ่านข้อมูล สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสารตัวนำ(conductor) หรือสารกึ่งตัวนำ(semiconductor) เช่น ซิลิคอนในการถ่ายทอดอิเล็คตรอนแต่อย่างใด ที่สำคัญที่สุดเซลล์สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อเกิดการสึกหรอ และสามารถประกอบขึ้นมาใหม่ได้เมื่อเซลล์เก่าถูกทำลาย ในขณะที่เครื่องจักรกลที่มนุษย์สร้างยังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ แต่คงอีกไม่นานที่เครื่องจักรกลเหล่านี้จะมีการพัฒนาศักยภาพ และความสามารถได้ใกล้เคียงกับกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้ก็เป็นผลเนื่องมาจากเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นที่เรียกว่า นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกระแสความสนใจของเหล่านักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เคยมีผู้กล่าวกันว่าการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ระดับนาโน (nanoscience) จะผลักดันทำให้นาโนเทคโนโลยีเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยทั้งหมดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จักมาแล้ว |
|
|
|
|
|
|
คำว่า นาโน (nano) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า nanos ในภาษากรีกโบราณที่แปลว่า แคระ (dwarf) ในปัจจุบันคำว่า นาโน ในทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็น ตัวนำหน้าหน่วยหรือคำอุปสรรค (prefix) ซึ่งเป็นหน่วยความยาวใน ระบบ SI แปลความหมายได้ว่า 1/1,000 ล้าน (หนึ่งในพันล้าน) ดังนั้นถ้าเราพูดว่า 1 นาโนเมตรจึงมีขนาดเท่ากับ 1 ใน 1,000 ล้านส่วนของเมตร สามารถเขียนได้โดยแทนด้วยสัญลักษณ์ 1 nanometer (อักษรย่อคือ nm) = 1/1,000,000,000,000 m = m |
|
|
|
|
|
เราอาจจะนึกไม่ออกหรือสร้างจินตนาการไม่ได้ว่าโลกระดับนาโน หรือโลกของ นั้นมีขนาดเล็กแค่ไหน หรือเราจะสามารถมองเห็นอะไรได้บ้างในโลกที่มีขนาดเล็กมากๆ ระดับนั้น เราสามารถที่จะศึกษาได้จากภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการประดิษฐ์เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้เราสามารถที่จะมองเห็นความเล็กจิ๋วของโลกระดับนาโนได้ (เครื่องมือราคาแพงด้วย) โดยการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสำรวจให้เห็นโลกที่เล็กระดับนั้นได้ แต่จะดีมากขึ้นถ้าเราสามารถมองเห็นโลกระดับนาโนได้ด้วยตาเปล่า โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาสูงเหล่านั้น ถ้าอย่างนั้นลองมาศึกษาดูมุมมองทั้งของโลกที่มีขนาดใหญ่มากๆ กับโลกที่มีขนาดเล็กจิ๋วดูได้จากความมหัศจรรย์กำลังสิบนี้ (โดยที่ไม่ต้องซื้อเครื่องมือราคาแพงเลยด้วย) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทีนี้มาลองสำรวจดูว่า มหัศจรรย์กำลังสิบในมุมมองที่เริ่มตั้งแต่ระยะที่อยู่ห่างจากกาแล็กซี่ที่เราอาศัยอยู่เป็น 10 ถึง 100 ล้านปีแสง ถ้าเราสามารถมองเห็นได้ในระยะจากจุดนั้น จะสามารถมองเห็นสิ่งใดได้บ้าง (เสมือนกับเราเป็นนักบินอวกาศที่บินไปกับยานอวกาศ แล้วมองจากมุมมองในอวกาศกลับเข้ามายังโลกของเรา) หรือถ้าสามารถมองเห็นได้ในระดับของวัตถุที่มีขนาดเล็กจิ๋วมากๆ นั้น จะสามารถมองเห็นสิ่งใดหรือโครงสร้างของอะไรบ้าง (ก็เปรียบเสมือนเราเป็นสิ่งที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสมากๆ หรือมีขนาดเท่ากับควาก (quark) เลยทีเดียว แล้วอาศัยอยู่ภายในของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง) |
|
|
|
|
|
|
|
คำอธิบาย ภาพในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเล็กเป็นภาพของสิ่งที่เราเข้าไปใกล้อีก 10 เท่าของภาพกรอบใหญ่ที่กำลังแสดงอยู่
|