|
|||
1. คุณรู้สึกว่ากลิ่นดอกกุหลาบกับดอกผกากรองหอมเหมือนกันหรือไม่ 2. แปลกใจไหมทำไมคุณจึงได้กลิ่นของดอกไม้ทั้งสองชนิด |
|||
|
|||
การรับกลิ่นเป็นผลงานที่ซับซ้อนระหว่างจมูกและสมองส่วนหน้าบริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (olfactory bulb) เพื่อส่งต่อสัญญาณไปยังสมองส่วนซีรีบรัมให้แปลข้อมูล ว่าเป็นกลิ่นอะไร หอมหรือเหม็น การรับรู้กลิ่นช่วยในการอยู่รอดของมนุษย์ทำให้รับรู้คุณภาพ ของอาหาร เป็นสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์และสัตว์อื่นๆ รู้ล่วงหน้าว่าภัยใกล้จะถึงตัว |
|||
การได้กลิ่นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ อากาศที่หายใจเข้า
ไปสัมผัสกับเซลล์ประสาทรับกลิ่น (olfactory receptor cell) ซึ่งอยู่บริเวณเพดานภายในช่องจมูก โดยเซลล์ประสาทรับกลิ่นนี้ จะประกอบด้วยเซลล์ 3 ประเภทได้แก่ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่มีลักษณะเป็นขน (ciliated sensory neurons) เซลล์ค้ำจุน (supporting cells) และเซลล์พื้นฐาน (basal cells) ซึ่งเป็น เซลล์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของเยื่อบุจมูกเรียงตัวเป็นแถวเดียว |
|||
|
|||
ภาพที่
3.23 ภาพโครงสร้างภายในจมูก |
|||
|
|||
หลังจากนั้นเยื่อเมือกที่มีโปรตีนซึ่งรวมตัวกับกลิ่นแล้วเรียกว่า ออเดอร์แร้นบายดิ้งโปรตีน (odorant binding protein) จะไปจับกับเซลล์รับกลิ่น(receptor) และไปกระตุ้นอะดีนิ่วไซเคส (adenyl cyclase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่ฝังตัวอยู่ในเยื่อบุของเซลล์ขน (cilia) เพื่อกระตุ้นให้เปลี่ยน พลังงานเอทีพี (ATP) เป็นไซคลิกเอเอ็มพี (cyclic AMP:cAMP) ในไซโตซอล (cytosol) จากนั้นไซคลิกเอเอ็มพี (cyclic AMP:cAMP) จะทำให้ช่องโซเดียม (sodium channels) เปิดเป็นผลให้โซเดียมเข้าสู่เซลล์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์เกิดแอกชั่น โพเทนเชียล (action potential) เป็นกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) ไปยังสมองเพื่อแปลสัญญาณกลิ่นที่ได้รับ (ดังภาพที่ 3.24) |
|||
|
|||
ภาพที่ 3.24 กลไกการรับกลิ่น
|
|||
แปลกใจไหม! ทำไมคนเราจึงสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลิ่นต่างๆ ได้
|
|||
การที่คนเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลิ่นต่างๆซึ่งมีอยู่มากมายประมาณ
10,000 กลิ่นได้นั้นเนื่องจาก เซลล์รับกลิ่นมียีนที่เฉพาะเจาะจงเพียง 1 ยีนเท่านั้น ฉะนั้น เซลล์รับกลิ่นจึงมีอยู่เป็นจำนวนมากและมีหลายชนิด โดยผู้ที่ค้นพบการอธิบายปรากฏการณ์ นี้ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบองค์ความรู้ใหม่และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและ แพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2547 (คศ.2004) คือดร. ริชารด์ เอเซล (Richard Axel) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รัฐนิวยอร์ก และดร.ลินดา บัค (Linda Buck) ซึ่งทำงานที่ศูนย์วิจัย โรคมะเร็งเฟร็ด ของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ เฮาเวริค ฮิวส์ นครซีแอ็ตเติล ประเทศสหรัฐ อเมริกา (Howard Hughes Medical Institute, Fred HutchinsonCancer ResearchCenter, University of Washington, Seattle, USA.) เชิญติดตามการค้นพบของทั้งสองท่านได้แล้วจ๊ะ (คลิก) |
|||