สมองของคนมีพัฒนาการสูงที่สุดเพราะมี ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวและมี
รอยหยักบนสมองมากกว่าสัตว์อื่นๆ โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม บรรจุอยู่ภายใน
กะโหลกศีรษะ เพื่อป้องกันสมองไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน สมองประกอบด้วยเซลล์
ประสาทร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาททั้งหมดในร่างกาย โดยเป็นเซลล์ประสาทประสานงาน
เป็นส่วนใหญ่

 

 

ภาพที่ 2.4 สมองอยู่ภายในกะโหลกศีรษะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน

 

          ฉะนั้นคนจึงมีความสามารถในการเรียนรู้มากกว่าสัตว์อื่นๆ เนื่องจาก รอยหยักบนสมอง
(gyrus) และอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัว จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถ
ในการเรียนรู้
          สมองนอกจากเป็นศูนย์กลางใหญ่ของระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมและปรับสภาพ
การทำงานของระบบประสาท ให้ดำเนินไปได้ตามปกติแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญอีก 2 อย่างคือ


        1.ผสมผสานกระแสความรู้สึกที่รับเข้าจากอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ และนำออกไปที่
อวัยวะตอบสนองคล้ายกับไขสันหลัง

        2.ผสมผสานและเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจและใต้อำนาจ
จิตใจในทุกส่วนของร่างกาย โดยศูนย์ควบคุมจะอยู่ที่บริเวณต่างๆ ของสมอง

 

ภาพที่ 2.5 สมองส่วนควบคุม
การเคลื่อนไหวส่งข้อมูล ข่าวสาร
ไปยังกล้ามเนื้อสั่งให้หดตัวทำให้
ร่างกายเคลื่อน ไหวเพื่อจับลูกบอล

 

         ผลจากโครงสร้างของสมองช่วยให้มนุษย์สามารถควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนและแต่ละส่วนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย
แตกต่างกันดังนี้

1.สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของสมองได้แก่


       1.1 ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) สมองส่วนนี้ของคนจะเป็นส่วนที่อยู่ทางด้านหน้าสุดและไม่ค่อยเจริญ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น

       1.2 ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้า
ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือดและความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ และการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

       1.3 ทาลามัส (thalamus) อยู่เหนือไฮโพทาลามัส มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาท
ที่ผ่านเข้าออกแล้วแยกกระแสประสาทไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ

       1.4 ซีรีบรัม (cerebrum) หรือสมองใหญ่ แบ่งเป็น 2 ซีกโดยสมองใหญ่ซีกซ้ายจะควบคุม ร่างกายซีกขวาสมองใหญ่ซีกขวาจะควบคุมร่างกายซีกซ้าย นอกจากนี้สมองส่วนซีรีบรัมยังแบ่งเป็น 5 พู เพื่อควบคุมการทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ในส่วนต่างๆ ได้แก่การควบคุมเกี่ยวกับ
ความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป


2. สมองส่วนกลาง (mid brain) สมองส่วนนี้พัฒนาลดรูปเหลือเฉพาะออพติกโลบ (optic lobe) มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลอกไปมา ควบคุมการปิดเปิดของ รูม่านตา ให้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่างที่เข้ามากระทบ โดยถ้าแสงมาก รูม่านตาจะเล็กแสงสว่างน้อยรูม่านตาจะขยาย


3.สมองส่วนหลัง (hind brain) สมองส่วนนี้ประกอบด้วย


        3.1 ซีรีเบลลัม (cerebellum) ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ราบรื่น เที่ยงตรง สามารถทำงานที่ละเอียดอ่อน และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

        3.2 เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata ) เป็นสมองส่วนสุดท้าย ซึ่งตอนปลายอยู่ติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึกและการอาเจียน

        3.3 พอนส์ (pons) ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า การหายใจ

          สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem) ซึ่งภายในก้านสมองจะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาท เชื่อมโยงระหว่างเมดัลลาออบลองกาตากับทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความรู้สึกตื่นตัว หรือความมีสติสัมปชัญญะ เรียกว่า เร็ตติคิวรา แอกติเวติ้ง ซีสเต็ม (reticular activating system)

 


 ก.                   ข.                    ค.                    ง.                    จ.

ภาพที่2.6 ส่วนของสมอง(ด้านข้าง) ก,ข : สมองส่วนหน้า (ซีรีบรัมและทาลามัส)
                        ค : สมองส่วนกลาง
                                                  ง,จ : สมองส่วนหลัง (พอนส์.ซีรีเบลลัมและ
                                          เมดัลลา ออบลองกาตา)

 


ก.


ข.

 

ภาำพที่ 2.7 ภาพสมองคน ก.ด้านล่างของสมอง ข.ด้านข้างผ่าตามยาว

 

       

   รู้ไหมทำไมบางคนจึงถนัดข้างขวาบางคนถนัดซ้าย


 

          ในส่วนของสมองใหญ่หรือซีรีบรัม เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดใหญ่ ผิวด้านนอกเป็น
สีเทา (gray matter) มีส่วนเนื้อสีขาว (white matter) อยู่ด้านใน แบ่งเป็น 2 ซีกโดยสมอง
ซีกซ้าย จะทำหน้าที่ควบคุมการพูด อ่าน เขียน ความเข้าใจภาษา ความสามารถทาง
คณิตศาสตร์ การมีเหตุผลและการแก้ปัญหา ส่วนซีกขวาจะควบคุมการจดจำเกี่ยวกับความ
สามารถด้านดนตรี ศิลปะ การแสดงออกทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ การที่คน
เราจะถนัดซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับว่าใช้สมองซีกไหนควบคุมการเขียนหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มากกว่ากัน


 

ภาพที่ 2.8 ภาพจำลองหน้าที่ของซีรีบรัม ซ้ายและขวา

 

           ส่วนของสมองใหญ่ยังแบ่งเป็นส่วนต่างๆเรียกว่า พู (lobe) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง
ในการควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนี้

 


พู

หน้าที่
พูด้านหน้า
(frontal lobe)


*ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย ทำงานเกี่ยวกับความคิดที่ค่อน ข้างสูง เช่น การมีสมาธิ การวางแผน การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
การตัดสินใจ

พูด้านข้างกระหม่อม
(parietal lobe)


*ควบคุมเกี่ยวกับการรับความรู้สึกด้านอุณหภูมิ สัมผัส รับรู้รส ความเจ็บปวด การพูด การใช้ถ้อยคำ

พูด้านขมับ
(temporal lobe)


* รับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้ยิน การได้กลิ่น และมีเซลล์ประสาทประสานงานที่ใช้ในการแปลประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึก

พูด้านท้ายทอย
(occipital lobe)


*รับความรู้สึกเกี่ยวกับ การมองเห็น รวมภาพที่เห็นเข้ากับประสบการณ์ด้าน
ความรู้สึก

พูด้านในของ
พูด้านขมับ
(insular lobe)


เป็นส่วนที่อยู่ด้านในของ พูด้านขมับ (temporal lobe) ซึ่งมีร่อง
(lateral fissure ) อยู่ด้านข้าง ส่วนนี้ทำงานเล็กน้อยเกี่ยวกับความจำ

 

ภาพที่ 2.9  ภาพจำลองส่วนต่างๆ ของสมองที่ควบคุมการทำหน้าที่ต่างๆ