ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย สมองและไขสันหลังซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง
ของการตอบสนอง โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะที่ยังเป็นตัว
อ่อนอยู่ จะมีลักษณะเป็นหลอดกลวงเรียกว่านิวรัลทิวบ์ (neural tube ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ สมองส่วนหน้า ส่วนกลางและส่วนหลัง

 





 

ภาพที่ 2.1 สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะเป็นตัวอ่อน

 


 


ภาพที่ 2.2 การพัฒนาสมองขณะอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่ 3 สัปดาห์จนเป็นทารก

 

          สมองและไขสันหลังมีเยื่อหุ้มเชื่อมกัน 3 ชั้นโดยชั้นนอกสุด (dura mater) มีลักษณะ
หนา เหนียว และแข็งแรง ทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนให้กับส่วนที่เป็นเนื้อสมองและ
ไขสันหลัง ชั้นกลาง (arachnoid mater) เป็นแผ่นบางๆติดกับเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด
(dura mater) ส่วนชั้นในสุด (pia mater) เป็นชั้นที่แนบสนิทไปตามรอยโค้งเว้าของสมองและ
ไขสันหลัง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากที่สุด เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงสมองและ
ไขสันหลัง

 



 

ภาพที่ 2.3 แผนภาพสมอง ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมอง

 

          ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในเป็นช่องว่าง (subarachnoid space) ซึ่ง เป็นที่
อยู่ของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid:CSF) โดยเป็นช่องค่อนข้างใหญ่
ติดต่อกับช่องภายในไขสันหลัง และโพรงในสมอง น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังมีหน้าที่นำ
ออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท และยังนำของเสียออกจากเซลล์ ด้วย
ซึ่งถ้าสมองขาดออกซิเจนเพียง 3-5 นาที เซลล์ประสาทในสมองอาจตายได้