ความหมายและองค์ประกอบของชีวสารสนเทศศาสตร์


  ในบทเรียนนี้เป็นการนำความรู้ทางชีววิทยาต่าง ๆ ซึ่งผู้เรียนได้ศึกษามาจากบทเรียน
ก่อนหน้านี้มาบูรณาการกับความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้้ประโยชน์
์จากข้อมูลทางชีววิทยาเหล่านั้นได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาข้อมูล
ของสิ่งมีชีวิตด้านจีโนม (genome) จีโนมิกส์ (genomics) และโปรติโอมิกส์ (proteomics)
มีจำนวนมากขึ้นทุกๆ ปี การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกไม่่สะดวกต่อการสืบค้นและนำ
ข้อมูลมาใช้ จึงมีการนำความรู้ด้านอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
มาผสมผสาน เพื่อจัดเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งจุลินทรีย์์ พืช สัตว์และมนุษย์ รวมถึงการ
วิเคราะห์สังเคราะห์ และแปลผลข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจนเกิดเป็นวิทยาศาสตร์
ชีวภาพแขนงใหม่ เรียกว่าชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือไบโออินฟอร์เมติกส์ (bioinformatics)

 

                

 

  ชีวสารสนเทศศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพว่าด้วยการใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ (information technology) มาจัดเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนมาก
อย่างเป็นระบบโดยอาศัยวิทยาการคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการวิเคราะห์และแปล
ผลข้อมูลทางชีวภาพจำนวนมากมาย เพื่อตอบคำถามทางชีววิทยาให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้นและคาดเดาผลอาจจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่

 

        


                         รูปที่ 7.1
ชีวสารสนเทศศาสตร์เกิดจากการบูรณาการของ
                                        สาขาวิชาต่าง ๆ

 

ชีวสารสนเทศศาสตร์มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก

1. ฐานข้อมูล (database) ที่สร้างขึ้นเพื่อจัดเก็บและดำเนินการต่าง ๆ กับชุดของข้อมูล
ขนาดใหญ่

2. ขั้นตอนวิธี (algorithm) และสถิติที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง
สมาชิกในชุดข้อมูลขนาดใหญ่นั้น

3. การใช้เครื่องมือ (tools) สำหรับการวิเคราะห์และตีความข้อมูลหลากหลายประเภท
จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ รวมทั้งลำดับเบสในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ ลำดับกรดอะมิโนโครง
สร้างโปรตีน ข้อมูลการแสดงออกของยีน และวิถีทางชีวเคมีต่าง ๆ


        

                                    รูปที่ 7.2
องค์ประกอบของชีวสารสนเทศศาสตร์