|
ปิโตรเลียม
หมายถึงการผสมของไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีสถานะเป็นของเหลว
แก๊ส หรือของแข็งก็ได้ ตัวอย่างของปิโตรเลียมได้แก่ น้ำมันดิบ
แก๊สธรรมชาติ และยางมะตอย (asphalt/bitumen) คำว่า บิทูเมน หมายถึง
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดปะปนกัน เกิดตามธรรมชาติในรูปของแข็ง
หรือของเหลว และละลายได้ในสารละลายคาร์บอนไดซัลไฟต์ (carbon disulphide)
ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิน (tar) และยางมะตอย
|
กำเนิดปิโตรเลียม |
ปิโตรเลียม มีกำเนิดคล้ายกับถ่านหิน โดยต้นกำเนิดของปิโตรเลียมเป็นซากพืช
และซากสัตว์ขนาดเล็กจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นกำเนิดของปิโตรเลียมที่มีการศึกษากันไว้ได้แก่ แพลงค์ตอน สาหร่ายที่อยู่อาศัยในทะเลสาบและน้ำเค็ม
แบคทีเรีย และพืชบกชนิดต่างๆ สิ่งมีชีวิตจะสะสมพร้อมกับตะกอนละเอียดประเภทโคลนและสะสมอย่างรวดเร็วในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซากพืชและซากสัตว์ที่ตายสะสมตัวพร้อมกันกับตะกอนโคลน
และถูกปิดทับด้วยตะกอนโคลนและตะกอนทราย
|
|
ภาพที่ 5.9 การทับถมของตะกอนเป็นชั้นหนาหลายร้อยเมตร ทำให้เพิ่มน้ำหนักกดทับ
ตะกอนต่างๆ
จะกลายเป็นหินตะกอน และสารอินทรีย์จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นปิโตรเลียม
|
การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียม |
หินตะกอน
(เนื้อละเอียด) ที่ประกอบไปด้วยปิโตรเลียม มีชื่อเรียกว่า หินต้นกำเนิด
(source rock) เนื่องมาจากความหนาแน่นของก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบมีน้อยกว่าน้ำและหินต้นกำเนิด
ปิโตรเลียมที่เกิดจึงพยายามแยกตัวออกจากหินต้นกำเนิด โดยทั่วไปหินต้นกำเนิดของปิโตรเลียมจะเป็นหินดินดาน
ซึ่งเกิดสลับกับหินทราย ถึงแม้ว่าหินดินดานเป็นหินที่มีความพรุนสูงมาก
แต่ความพรุนไม่เชื่อมต่อกันทำให้ปิโตรเลียม น้ำ และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถเคลื่อนที่ภายในชั้นหินดินดานได้สะดวก
ปิโตรเลียม น้ำ และก๊าซอื่นๆ จึงเคลื่อนที่ออกจากชั้นหินดินดาน
ไปยังหินทรายที่ปิดทับอยู่ด้านบน (ใช้เวลานานมาก) ถึงแม้ว่าหินทรายเป็นหินที่มีความพรุนต่ำกว่าหินดินดาน แต่ช่องว่างที่อยู่ระหว่างตะกอนทรายเชื่อมต่อกันทำให้ปิโตรเลียมสามารถไหลผ่านหินชั้นนี้ได้สะดวก
ปิโตรเลียมจะเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางไกลๆ ไปยังแหล่งกักเก็บผ่านช่องว่างเล็กๆ
ในหินทราย
|
บริเวณที่กักเก็บของปิโตรเลียม
(reservoir rock) |
การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมไปยังบริเวณที่กักเก็บปิโตรเลียมเกิดได้โดยอาศัยความหนาแน่นของปิโตรเลียมที่น้อยกว่าน้ำ
และหินทรายและโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับเป็นบริเวณที่กักเก็บ
ตัวอย่างของบริเวณที่กักเก็บปิโตรเลียมแบบประทุนคว่ำ และโครงสร้างรอยเลื่อนมีดังในภาพที่
5.10
|
|
ภาพที่ 5.10 โครงสร้างแบบประทุนคว่ำ หินทรายที่เกิดสลับกับหินดินดาน
ล่างและบน เกิดโครงสร้างแบบประทุนคว่ำ
หินดินดานด้านบนเป็นหินที่มีสัมประสิทธิ์การซึมได้ต่ำ จึงเรียกว่าเป็น
cap rock
|
|
ภาพที่ 5.11 โครงสร้างแบบรอยเลื่อน หินดินดานทำหน้าที่เป็น cap
rock เช่นกัน
|
|
|
-
ปิโตรเลียม เกิดจากอะไร
-
หินต้นกำเนิด (source rock) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
|
|
|
|
ศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปิโตรเลียม
|
|
ปิโตรเลียม
(petroleum)
|
ปิโตรเลียมเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก
ได้แก่ คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ
เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้ ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง
ของเหลว หรือแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน
ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้
ปิโตรเลียมแบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ
และ แก๊สธรรมชาติ
|
หินน้ำมัน (oil shale) |
หินน้ำมัน
มีลักษณะคล้ายหินดินดาน สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ มีอินทรียสารที่เรียกว่าแคโรเจน
(kerogen) เป็นสารอุ้มน้ำมันอยู่ในเนื้อหิน ถ้าจุดไฟจะติดไฟ ชาวบ้านจึงเรียกว่า
หินติดไฟ หรือหินดินดานน้ำมัน ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการกลั่นเอาน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิงและประโยชน์อื่นๆ
แหล่งหินน้ำมันที่สำคัญในประเทศไทยได้แก่
อำเภอแม่สอด-แม่ระมาด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แหล่งบ้านป่าลี้
จังหวัดลำพูน และอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
|
source
rock |
หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม
คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (sedementary rock) ที่มีสารอินทรีย์มาก
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางธรณีวิทยา ภายใต้ความร้อน และความดัน
สารอินทรีย์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงและสลายตัวให้ปิโตรเลียม หินต้นกำเนิดปิโตรเลียมจะต้องมีปริมาณของสารอินทรีย์อย่างน้อย
0.5 % และโดยทั่วไปควรจะมากกว่า 1.5 % สารอินทรีย์บางชนิดจะให้น้ำมันดิบ
(crude oil) และบางชนิดจะให้แก๊สธรรมชาติ หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม
ส่วนใหญ่จะเป็นหินดินดานสีเทาดำ หรือ ดำ และหินปูนที่เกิดในสภาวะแวดล้อมแบบปะการัง
|
cap
rock |
ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลว หรือแก๊สไหลผ่าน ปิดทับอยู่ด้านบนของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม
และปิดกั้นไม่ให้ไฮโดรคาร์บอนหนีออกมาถึงพื้นผิวดินได้
|
LNG |
มาจากคำว่า liquified natural gas หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว หมายถึง
แก๊สธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นมีเทน (CH4) ถูกนำมาอัดให้อยู่ในสภาพของเหลวโดยลดอุณหภูมิถึงประมาณ
160 องศาเซลเซียส ใส่ในถังที่ทนความเย็นและความดันเป็นพิเศษ
เพื่อสะดวกในการขนส่งในปริมาณมากๆ และในระยะทางไกลๆ
|
LPG |
มาจากคำว่า liquified petroleum gas หรือ แก๊สธรรมชาติเหลว หรือ
รู้จักกันในนาม แก๊สหุงต้มเป็นแก๊สโปรเพน (C3H6)
ผสมกับแก๊สบิวเทน (C4H10) โดยนำมาอัดใหม่เป็นของเหลวใส่ถังเพื่อความสะดวกในการขนส่ง
ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มในครัวเรือน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
หรือเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
|
methane
|
มีเทน
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแก๊สธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบไฮโดรคาร์บอน
1 อะตอม (CH4) ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า
ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี
|
natural
gas |
แก๊สธรรมชาติ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดเบา ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน
(C) ตั้งแต่ 1-4 อะตอม กับไฮโดรเจน (H) จับตัวเป็นโมเลกุลโดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ตามชั้นหินดินเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี
เนื่องจากความร้อนและความกดดันจึงแปรสภาพเป็นแก๊สธรรมชาติ ไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เบากว่าอากาศ
แก๊สธรรมชาติประกอบด้วยแก๊สมีเทน (CH4) เป็นส่วนใหญ่
และอาจมีแก๊สอีเทน (C2H6) โปรเพน (C3H8)
และบิวเทน (C4H10) ปนอยู่บ้าง นอกจากนี้ก็อาจมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ไนโตรเจน ฮีเลียม ไอน้ำ ปนอยู่ด้วย ประโยชน์ของแก๊สธรรมชาติ
คือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี
|
NGL
|
มาจากคำว่า natural gas liquid หรือที่เรียกกันว่า แก๊สโซลีนธรรมชาติ
คือ ไฮโดรคาร์บอนซึ่งสามารถแยกออกมาในรูปของเหลวจากการผลิตแก๊สธรรมชาติประกอบด้วยอีเทน
แอลพีจี และเพนเทน เป็นองค์ประกอบหลัก
|
NGV |
มาจากคำว่า natural gas vehicles หมายถึงยานยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัด
(compressed natural gas; CNG) เป็นเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีแก๊สมีเทนเป็นส่วนใหญ่
นำมาอัดด้วยความดันสูง (แต่ก็ยังเป็นแก๊สอยู่) บรรจุในถังเพื่อความสะดวกในการขนส่ง
และใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะ ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน
และดีเซล ซึ่งนำมาทดลองใช้กับรถเมล์โดยสาร ขสมก แล้ว
|
พลังงานนิวเคลียร์
(nuclear energy) |
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ จัดเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป (nonrenewable
resource) จะสามารถนำพลังงานนี้มาใช้ได้จากธาตุกัมมันตภาพรังสี
ยูเรเนียม 235 ซึ่งมักสกัดมาจาก ยูรานิไนต์ (uraninite,UO2)
ยูเรเนียม 235 เป็นธาตุที่นิยมนำมาใช้เป็นต้นกำเนิดพลังงานความร้อน
การนำอนุภาคนิวตรอนที่ได้มาจากสารรังสีเข้าไปกระตุ้นธาตุหนัก ยูเรเนียม
235 ทำให้เกิดการแตกตัวกลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งจะมีการปลดปล่อยความร้อนพร้อมกับอนุภาคนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่อีกจำนวนหนึ่ง
|