|
พลังงานทางเลือก
(alternative energy resource) เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
และพลังงานนิวเคลียร์ เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในสัดส่วนที่สูงมาก
และนอกจากนั้นยังมีแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นทางเลือกทดแทนทางอื่น
ตัวอย่างเช่น พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง พลังงานคลื่น พลังงานความร้อนจากทะเล
พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานลม
และพลังชีวมวล พลังงานทางเลือกจัดว่าเป็นพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
(renewable energy) ตัวอย่างของการใช้พลังงานทางเลือก มีดังต่อไปนี้
|
1.
พลังงานจากมหาสมุทร (energy from ocean) |
1.1พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง
(energy from tides) |
บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหลายๆ
บริเวณมีความเหมาะสมที่จะใช้พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
บริเวณดังกล่าวได้แก่ อ่าว หรือปากแม่น้ำ ที่อิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในบริเวณนั้น ชายฝั่งบางแห่งมีความแตกต่างของระดับน้ำขึ้นสูงสุด
กับระดับน้ำลดลงต่ำสุดถึง 10 เมตร และมีการขึ้นของน้ำ 2 ครั้ง
และการลงของน้ำ 2 ครั้ง ในหนึ่งวัน พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง ได้รับความนิยมในช่วง
200 ปีที่ผ่านมาแล้ว ในช่วงนั้นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ได้จากไม้ซึ่งหาได้ง่ายในธรรมชาติ
ต่อมาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีราคาถูกลง โครงการพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงจึงไม่มีการพัฒนาต่อ
|
|
ภาพที่ 5.12 แนวเขื่อนคอนกรีตกั้นปากอ่าว สร้างขวางทิศทางน้ำขึ้นน้ำลง
|
|
ภาพที่ 5.13 รูปแบบของกังหันน้ำในทะเล ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต
|
1.2
พลังงานจากคลื่น (energy from ocean waves) |
คลื่นที่ซัดสาดเกิดขึ้นตามชายฝั่งทั่วไป และพลังงานที่เกิดขึ้นมากมายมหาศาล
มีผู้มองเห็นถึงพลังงานดังกล่าว และพยายามที่จะนำพลังงานนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีผู้ออกแบบ และก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากคลื่น
แสดงได้ในภาพที่ 5.14 ถึง ภาพที่ 5.16 โครงสร้างดังกล่าวมีหลักการทำงานโดยใช้การเคลื่อนที่ของคลื่นเป็นตัวการที่จะอัดอากาศ
เข้าไปในโครงสร้างที่เป็นช่องว่างเล็กๆ อากาศที่ถูกอัดจะทำหน้าที่ไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ปัจจุบันการผลิตพลังงานจากคลื่นจะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อสถานที่ที่จะติดตั้งโครงสร้างดังกล่าวมีความเหมาะสม
(ซึ่งหาได้ยากมาก) และการผลิตกระแสไฟฟ้าจากคลื่น ใช้ได้เพียงพอต่อชุมชนในระดับหมู่บ้านเท่านั้น
|
|
ภาพที่ 5.14 แบบแปลนการวางโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังคลื่น
|
โครงสร้าง
might whale เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนพลังงานคลื่นเป็นอากาศที่ได้รับการบีบอัด
อากาศจะถูกทำให้แห้งและปรับความดันให้เหมาะสม บริเวณถังอัดอากาศ
(compressed air tank)
เพื่อนำไปหมุนใบพัดเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า |
|
ภาพที่ 5.15 รูปของโครงสร้าง might whale
|
|
|
ภาพที่ 5.16 ภาพแสดงการทำงานของ โครงสร้าง might whale
คลื่นส่วนบนจะถูกกั้นด้วยแผ่นโครงสร้างอีกด้านของโครงสร้างจะเป็นห้องที่มีช่องอากาศขนาดเล็ก
คลื่นที่ซัดสาดเข้ามายังโครงสร้างนี้จะทำให้ระดับน้ำยกตัวขึ้น
ผลก็คืออากาศที่อยู่ในห้องนี้จะถูกอัดผ่านช่องอากาศ
|
1.3
พลังงานความร้อนจากมหาสมุทร (ocean thermal power) |
มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ความร้อนจากมหาสมุทรในการผลิตกระแสไฟฟ้า
เนื่องจากอุณหภูมิบริเวณส่วนล่างของน้ำทะเลเป็นประมาณ 20 องศาเซลเซียล
ขณะที่อุณหภูมิในส่วนบนของน้ำทะเลเป็น 28 องศาเซลซียล ซึ่งสามารถทำให้แอมโมเนียที่มีสถานะเป็นของเหลวเปลี่ยนสถานะไปเป็นก๊าซ
และก๊าซแอมโมเนีย นี้สามารถนำไปขับเคลื่อนกังหันแก๊สเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
แก๊สแอมโมเนียที่ผ่านการหมุนกังหันก๊าซ จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอีกครั้งโดยแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำทะเลอุณหภูมิต่ำที่นำมาจากส่วนล่างของมหาสมุทร
การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอาศัยพลังานความร้อนจากมหาสมุทรเป็นการลงทุนที่สูงปัจจุบันการนำพลังงานความร้อนจากมหาสมุทรมาใช้งานเป็นเพียงโครงการที่คิดขึ้นที่เกาะฮาวาย
ประเทศอเมริกาเท่านั้น
|
2
พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (solar energy) |
ความรู้และความเข้าใจในปัจจุบันทำให้เราสามารถใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้หลายรูปแบบ
แต่เดิมเราใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ สำหรับทำให้แห้ง (ตากผ้า ตากผลผลิตทางการเกษตร)
ถนอมอาหาร (ทำกุ้งแห้ง กล้วยตาก) ปัจจุบันเราสามารถสังเคราะห์วัสดุที่เมื่อทำปฏิกิริยากับแสงอาทิตยเซลล์จะเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า
วัสดุดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า โซลาเซลล์ (solar cell) โซลาเซลล์สามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าไม่มากนัก เช่น เครื่องคิดเลข การนำโซลาเซลล์ไปใช้งานจำเป็นต้องอาศัยแหล่งให้พลังงานอีกประเภท
คือ แบตเตอรี เพื่อใช้ในการกักเก็บกระแสไฟฟ้า และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
ลักษณะการรวมระบบโซลาเซลล์ กับแบตเตอรี่ มีชื่อเรียกว่า ระบบโฟโตโวตาอิค
(photovoltaics) หรือระบบพีวี
|
ระบบพีวี
ประกอบด้วยแผงโซลาเซลล์ แบตเตอรี และอุปกรณ์เปลี่ยนกระแสไฟตรง
(DC) เป็นกระแสสลับ (AC) การนำระบบ พีวี ไปใช้ทำให้การใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
ทำได้หลากหลายเช่น นำไปใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ ใช้เป็นไฟบ้าน
ทำเป็นโรงไฟฟ้า ใช้สูบน้ำ เป็นต้น
ในประเทศไทย
มีการนำระบบพีวีมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521
เพื่อการทดลอง และศึกษา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 2,745
กิโลวัตต์ ได้มีการสนับสนุนการใช้พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์จากภาครัฐ
กับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะติดตั้งระบบพีวีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในบ้าน
แต่ระบบดังกล่าวมีราคาสูงมากต้องลงทุนเป็นเงินถึง 5 แสนบาท เพื่อแลกกับไฟฟ้าที่สามารถใช้ได้ในครอบครัวระดับเล็กเท่านั้น
|
|
ภาพที่ 5.17 พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์
ที่มา : www.cnn.com/.../space/ 12/01/solar.explainer
|
3.
พลังงานน้ำ (hydro power) |
พลังงานน้ำเป็นค่าที่อาศัยพลังงานศักย์ของน้ำที่เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์
มาหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานศักย์ที่พบอยู่ในน้ำตามธรรมชาติ
คือ บริเวณส่วนบนของน้ำตก หรือถ้าแหล่งน้ำนั้นไม่มีพลังงานศักย์ก็อาจจะสร้างเขื่อนเป็นทั้งเพื่อกักเก็บน้ำและยังเป็นการเพิ่มพลังงานศักย์ให้น้ำ
|
|
ภาพที่ 5.18 พลังงานน้ำ
ที่มา : www.esru.strath.ac.uk/.../ Hydro%20Power.htm
|
4.
พลังงานความร้อนใต้พิภพ (geothermal energy) |
หลักฐานที่บ่งบอกได้ว่าโลกของเราร้อน และโลกกำลังเย็นตัวลง คือ
การเกิดภูเขาไฟ และน้ำพุร้อนบริเวณต่างๆ (ภาพที่ 5.19) ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาไฟที่มีพลังงานทั่วโลก
ซึ่งเกิดสอดคล้องกับตำแหน่งของรอยต่อของเพลท ในบริเวณใกล้เคียงกับภูเขาไฟ
จะเป็นบริเวณที่เปลือกโลกมีความร้อนผิดปกติ มนุษย์ได้ค้นพบวิธีนำความร้อนเหล่านี้มาใช้งานคือ
ทั้งโดยตรง และทางอ้อม
การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพโดยตรงได้แก่การนำน้ำร้อน
หรือไอน้ำร้อนมาใช้อาบ ใช้ความร้อนแก่อาคาร และบ้านเรือน ใช้ในการอบแห้ง
ส่วนการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพทางอ้อม คือ การนำความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้า
|
|
|
ภาพที่ 5.19 แสดงตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาไฟที่มีพลังงานทั่วโลก
|
ที่มา : http://pubs.usgs.gov/publications/text/understanding.html#anchor19173262 |
|
ภาพที่ 5.20 ภาพตัดขวางแสดงลักษณะของการเกิดแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
|
การนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ทำได้โดยการนำไอน้ำร้อนมาหมุนกังหันโดยตรง หรือการนำน้ำร้อนมาทำให้ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำกลายเป็นไอ
เรียกสารดังกล่าวว่า ของไหลที่ทำงาน (working fluid) หรือ ของเหลวไบนารี่
(binary liquid) และนำไอของของเหลวนั้นไปหมุนกังหัน การนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ได้แสดงไว้ในภาพที่
5.22 หลุมผลิต (production well) เป็นหลุมเจาะที่พบแหล่งสะสมตัวของพลังงานความร้อนใต้พิภพ
น้ำร้อน หรือน้ำร้อนปนกับก๊าซร้อน จะดันขึ้นมาเอง และสามารถการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพ
มาใช้ได้
ประเทศไทย
พบแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมากบริเวณภาคเหนือของประเทศ มีการทดลองนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ที่
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การผลิตกระแสไฟฟ้าแบบระบบไบนารี่
(ภาพที่ 5.23 และ 5.24) โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 120 กิโลวัตต์
|
|
ภาพที่ 5.21 พลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่โผล่ให้เห็นบนผิวโลก
|
|
ภาพที่ 5.22 การนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ หลุมผลิต
(production well)
|
จะเป็นหลุมเจาะเพื่อจะนำน้ำร้อนมาใช้
ซึ่งใช้ได้ 2 แบบ คือแบบใช้ไอน้ำ (ภาพที่ 5.23) และใช้ให้ความร้อนแก่ของไหลที่ทำงาน
(ภาพที่ 5.24) หลังจากน้ำร้อนได้เสียพลังงานให้กับกังหัน หรือของไหลที่ทำงานไปแล้ว
น้ำดังกล่าวจะถูกอัดลงไปในชั้นหิน เรียกหลุมเจาะแบบนี้ว่า หลุมอินเจ็กชั่น
(injection well)
|
|
ภาพที่ 5.23 การนำไอน้ำร้อนมาใช้หมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
|
|
|
ภาพที่ 5.24 การนำน้ำร้อนมาแลกเปลี่ยนความร้อนกับของเหลวที่ทำงาน
ของเหลวที่ทำงานจะเป็นตัวขับกังหัน
เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนี้เรียกระบบไบนารี่
(binary cycle power plant)
|
|
ภาพที่ 5.25 โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
เดินเครื่องด้วยระบบไบนารี มีกำลังการผลิต 120 กิโลวัตต์
|
5.
พลังงานลม (wind energy) |
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์จากพลังงานลม ทั้งในด้านเกษตรกรรม เช่น
ระหัดวิดน้ำเข้านา การคมนาคม (เรือใบ) และในด้านสงคราม การใช้พลังงานลม
โดยติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่เพื่อใช้แรงลมมาหมุนเพลามอเตอร์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้เริ่มมามานานแล้ว
เมื่อ พ.ศ. 2535 ได้มีการติดตั้งกังหันลม จำนวน 1,600 หน่วย บริเวณที่เป็นทะเลทราย
และมีลมพัดตลอดปีที่รัฐแคลิฟอร์เนียร์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในประเทศไทย
ได้มีการติดตั้งกังหันลม เพื่อการศึกษา อยู่ที่แหลมพรมเทพ จังหวัดภูเก็ต
|
|
ภาพที่ 5.26 พลังงานลม
ที่มา : www.nrel.gov/clean_ energy/home_wind.html
|
6.
พลังงานชีวมวล (biomass energy) |
คำว่า
ชีวมวล เป็นชื่อรวมสำหรับวัสดุซาก และสารที่ย่อยสลายมาจากพืช
เช่น ต้นไม้ และส่วนที่เหลือจากพืชผลของเสียจากสัตว์ อินทรีย์สาร
และเศษขยะจากบ้านเรือน ชีวมวลสามารถใช้เป็นแหล่งที่ให้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตแก๊ส หรือ เชื้อเพลิงเหลวได้ พลังงานดังกล่าวเรียกว่า
พลังงานชีวมวล
|
7. ไบโอดีเซล (biodiesel) |
เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตมาจากน้ำมันพืช
ไขมันสัตว์ หรือน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ไบโอดีเซลบริสุทธิ์
(100% ไบโอดีเซล) เรียกว่า neat biodiesel ใช้เติมในรถยนต์เหมือนน้ำมันดีเซลได้แต่ยังไม่มีสถานีบริการ ไบโอดีเซลมีคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกับดีเซลมากจึงใช้แทนดีเซลได้
การนำไปใช้อาจปรับแต่งเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องปรับแต่งเลย
ไบโอดีเซลให้การเผาไหม้ที่สะอาดกว่า ไอเสียมีคุณภาพดีกว่า ทั้งนี้เพราะออกซิเจนในไบโอดีเซลให้การสันดาปที่ดีกว่าดีเซล
จึงมีคาร์บอนมอนอกไซด์น้อยกว่า และเนื่องจากไม่มีกำมะถันในไบโอดีเซลจึงไม่มีปัญหาสารซัลเฟต
นอกจากนี้ยังมีเขม่าคาร์บอนน้อย จึงไม่ทำให้เกิดการอุดตันของระบบไอเสียได้ง่าย
ช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์เป็นอย่างดี จากการศึกษาปัจจุบันราคาต้นทุนการผลิตยังสูงกว่าดีเซลประมาณ
1-2 เท่า
|
8.
แก๊สชีวภาพ (biogas) |
แก๊สชีวภาพ
คือ แก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของอินทรีย์สารในสภาพที่ขาดออกซิเจน
เรียกกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ว่า การย่อยสลายไร้อากาศ ตามธรรมชาติโดยทั่วไปกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะ
ก้นทะเลสาบ และที่ลึกลงไปในใต้ผิวดิน หรืออาจเกิดจากมนุษย์ เช่น
ในบ่อน้ำเสียปศุสัตว์ และในหลุมขยะกลบฝัง เป็นต้น แก๊สชีวภาพประกอบด้วยแก๊สมีเทน
60-80 % คาร์บอนไดออกไซด์ 20 -40% โดยประมาณ นอกจากนี้อาจมีไนโตรเจน
ไฮโดรเจน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ในปริมาณเล็กน้อย
|
|
|
พลังงานทางเลือก
มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างไร |
|
|
|
เว็บไซต์อ้างอิง
|
http://www.dmf.go.th/default_frame.asp?page=download/annual.asp
http://www.eppo.go.th/encon/encon-DANCED.html
http://www.eppo.go.th/encon/index.html
http://pr.egat.co.th/AnnualReport/AnnualReport2003/index.html
http://pr.egat.co.th/AnnualReport/AnnualReport2003/PDF/p84.pdf
http://dir4.nipa.co.th/?p=www.pttep.co.th&prov=utf8
http://www.eere.energy.gov/
http://www.eere.energy.gov/biomass/
http://energy.cr.usgs.gov/coal/index.htm
|