สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่มีไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและน้ำแถบที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ชายทะเล และทะเล ซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย |
ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย เร่งกายหายใจ ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย จึงมีผลต่อพลังงาน และอุณหภูมิของร่างกายอย่างมาก ที่สำคัญคือควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาการของสมอง |
|
ไอโอดีนมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก |
ช่วงชีวิตที่กำลังมีการพัฒนาของสมองเป็นช่วงที่วิกฤตที่สุด คือ เมื่อตัวอ่อนอายุ 8 สัปดาห์จนถึงช่วงอายุ 3 ปี หลังคลอด |
การพัฒนาและเจริญเติบโตของสมองของตัวอ่อนในครรภ ์และทารกแรกเกิด จำเป็นต้องรับไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพียงพอจากมารดา |
ไอโอดีนที่แม่ได้รับจากอาหาร จะถูกนำไปสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน และไทรอยด์ฮอร์โมนจากแม่จะถูกส่งไปยังตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ โดยผ่านทาง placenta ไทรอยด์ฮอร์โมนที่ตัวอ่อนในครรภ์ได้รับ จะไปควบคุมการพัฒนา สมองและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ |
การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในระยะตัวอ่อนในครรภ์ เป็นผลมาจากการขาดสารไอโอดีนในมารดา การเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ ต้องพึ่งไทรอยด์ฮอร์โมนที่มาจากมารดา ถ้ามารดาไม่ได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นสารสำคัญยิ่งของการพัฒนาสมองได้อย่างเพียงพอ สมองของตัวอ่อนในครรภ์จะเสียหาย ลูกที่ออกมาจะเป็นโรคเอ๋อ แต่ถ้าขาดไอโอดีนรุนแรงอาจจะแท้งหรือลูกออกมาพิการได้
เด็กที่ขาดไอโอดีนจะมี
IQ ต่ำ
|
||
ผลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่าการขาดสารไอโอดีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนสูง มีระดับสติปัญญา ต่ำกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ได้รับสารไอโอดีนเพียงพอ ถึง 13.5 จุด I.Q. และผลของการขาดสารไอโอดีนต่อพัฒนาการทางสมอง จะแปรผันตามระดับการขาดไอโอดีน การขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย อาจไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายอย่างชัดเจน แต่ยังคงมีผลต่อระดับเชาว์ปัญญา | ||
|
จากงานวิจัยระดับเชาว์ปัญญาเด็กในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา พบว่าไอโอดีนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีผลทำให้ค่าเฉลี่ยของระดับเชาว์ปัญญา (I.Q.) เด็กในแต่ละภาคแตกต่างกัน | |
เด็กในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าเฉลี่ย IQ ต่ำกว่าเด็กภาคกลางและภาคใต้ และจากการสำรวจในปี พ.ศ.2539 - 2540 พบเด็กในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในกลุ่มที่มีพัฒนาการล่าช้ามากที่สุด ต่างกับการสำรวจในช่วงปี พ.ศ.2542 ของสำนักส่งเสริมสุขภาพที่พบว่า เด็กในภาคเหนือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อยู่ในเกณฑ์ที่ดี สอดคล้องกับการศึกษาในปี พ.ศ. 2547 ที่พบว่า เด็กในภาคเหนืออยู่ในกลุ่มที่มีพัฒนาการดีอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกับเด็กในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ ขณะที่เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงตลอดในระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมาของการสำรวจทุกครั้ง |
จากข้อมูลภาวะขาดสารไอโอดีนของประเทศไทยที่พบ เป็นปัญหาสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน และเคยเป็นปัญหาที่มีความชุกในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่าส่วนอื่นของประเทศ ประเทศไทยมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาภาวะขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่า ขนาดของปัญหาในบางพื้นที่ไม่ลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ | |
จากรายงานการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินความก้าวหน้าในโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปี พ.ศ.2543 หญิงตั้งครรภ์ในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีการขาดสารไอโอดีน และรายงานในปี พ.ศ.2544 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางจังหวัดในภาคกลาง มีการขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย |
จากการศึกษาพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กปฐมวัย (นิชรา เรืองดารกานนท์, 2547) สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสาธารณสุขในเรื่องการขาดสารไอโอดีนที่ยังคงมีอยู่พอสมควร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในบางส่วนของภาคกลาง ในขณะที่ภาคเหนือไม่มีปัญหาดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ว่า ไอโอดีนเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับพัฒนาการที่ดีขึ้นของเด็กภาคเหนือในระยะหลัง |
ถ้าอยากรู้ว่าคนปกติมี I.Q. โดยเฉลี่ยเท่าไหร่ คลิกที่นี่