1-4-2 การเคลื่อนที่เป็นวงกลม

ในการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของอนุภาค เราพบว่า การบรรยายตำแหน่งของอนุภาค จะทำได้ง่ายถ้าบรรยายโดยใช้มุม แทนที่จะเป็นคู่ลำดับ (x,y) อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ใช้มุมอย่างเดียวในการบอกตำแหน่ง แต่จะต้องบอก ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางด้วย ดังนั้น ตัวแปรที่สำคัญคือรัศมี r และมุม θ
โดยการวัดมุมในทางฟิสิกส์นั้น หน่วยที่ดีที่สุดคือหน่วย เรเดียน (radian, rad) ซึ่งนิยามเป็น

(1-38)

โดย s คือความยาวส่วนโค้ง (arc length) เช่น มุมที่รองรับส่วนโค้งที่เป็นหนึ่งในสี่ของวงกลมจะเป็น

(1-39)

ซึ่งก็คือมุมฉากนั้นเอง

เมื่อการบอกตำแหน่งของวัตถุอยู่ในรูปของมุมและรัศมีแล้ว การบรรยาย ถึงความเร็วในรูปแบบเดิมก็จะไม่สะดวก เราจึงใช้ ความเร็วเชิงมุม (angular velocity, ) และความเร่งเชิงมุม (angular acceleration, ) ในการบรรยาย การเคลื่อนที่ของวัตถุ แทน ความเร็วและความเร่งเดิม ซึ่งอาจจะเรียกของเดิมให้เจาะจงว่าเป็นความเร็วเชิงเส้น และ ความเร่งเชิงเส้น

รปที่ 1-7 แสดงการเคลื่อนที่แบบวงกลมของอนุภาค

ความเร็วเชิงมุม เป็นปริมาณหนึ่งที่ใช้บ่งบอกการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อมีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยขนาดของความเร็วเชิงมุมของอนุภาค ที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมดังรูปที่ 1-7 เขียนได้เป็น
(1-40)

เมื่อ คือขนาดของความเร็วเชิงมุม และ แสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงมุมที่รัศมีของวงกลม r กวาดไปในช่วงเวลาหนึ่ง จากรูปที่ 1-7 เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ และขนาดของความเร็วเชิงเส้น ได้ดังนี้

เมื่อจุด O และจุด A อยู่ใกล้กันมากๆ ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง ของอนุภาคสามารถเขียนตามนิยามได้เป็น

(1-41)

เนื่องจาก s เป็นความยาวของส่วนโค้ง ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของรัศมี R และมุม θ ได้เป็น s = rθ ดังนั้นขนาดของความเร็วในสมการที่ (1-41) เขียนใหม่ได้เป็น

(1-42)

เมื่อแทนสมการที่ (1-40) ลงในสมการที่ (1-42) จะได้ความสัมพันธ์ ระหว่างขนาดของความเร็วเชิงมุม และขนาดของความเร็วเชิงเส้นเป็น

(1-43)

ในส่วนของทิศทางของ นั้น จะมีทิศตั้งฉากกับระนาบการหมุนตามกฎมือขวา ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ 1-8

นอกจากความเร็วเชิงมุมแล้ว ยังมีอีกปริมาณหนึ่งที่ ใช้อธิบายการเคลื่อนที่ ในลักษณะวงกลมได้ ปริมาณดังกล่าวคือ ความเร่งเชิงมุม โดยอาศัยนิยามของความเร่ง ที่ได้ศึกษามาแล้ว ขนาดของความเร่งเชิงมุม หาได้จาก การเปลี่ยนแปลงความเร็วเชิงมุม ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้


(1-44)

เมื่อ α คือ ขนาดของความเร่งเชิงมุมมีหน่วยเป็น

ใช้สมการที่ (1-43) กับสมการที่ (1-44) จะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง ขนาดของความเร่งเชิงมุมและความเร่งเชิงเส้นเป็น

(1-44B)

เนื่องจากความเร็ว และความเร่งเชิงมุม เป็นปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งต้องประกอบด้วย ขนาดและทิศทาง โดยในส่วนขนาดของปริมาณเวกเตอร์ทั้งสอง ได้แสดงให้เห็นแล้วข้างต้น ตามสมการที่ (1-40) และ (1-44) ตามลำดับ สำหรับทิศทางสามารถแสดงได้ตามรูปที่ 1-8

รูปที่ 1-8 แสดงทิศของเวกเตอร์ความเร่งและความเร็วเชิงมุมใน Cartesian coordinates

พิจารณารูปที่ 1-8 อนุภาค A มีวิถีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยมีจุดศูนย์กลางที่ C รัศมี และมีเวกเตอร์ เป็นเวกเตอร์บอกตำแหน่งอ้างอิงกับจุดกำเนิด O เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงเส้น ซึ่งมีทิศในแนวเส้นสัมผัส กับความเร็วเชิงมุมได้ตามสมการที่ (1-43) ซึ่งเป็นไปตามนิยามของผลคูณแบบครอส ดังนั้น

(1-45)

สมการที่ (1-45) แสดงให้เห็นว่า มีทิศตั้งฉากกับ และ

สำหรับในกรณีทั่วไปแล้ว เมื่ออนุภาค มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม อนุภาคจะมีความเร่ง โดยความเร่งที่เกิดขึ้นประกอบด้วย ความเร่งในแนวเข้าสู่ศูนย์กลาง (centripetal acceleration, ) เกิดขึ้นเนื่องจากความเร็วของอนุภาคมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง และ ความเร่งในแนวเส้นสัมผัส (tangential acceleration, ) เกิดขึ้นเนื่องจากความเร็วของอนุภาคมีการเปลี่ยนแปลงขนาด ทำให้ความเร่งลัพธ์ของอนุภาคที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม เขียนได้เป็น

(1-46)
ดังได้แสดงไว้ในรูปที่ 1-9

รูปที่ 1-9 แสดงความเร่งของอนุภาคขณะที่มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี R

เราสามารถหาขนาดของความเร่งทั้งสองได้โดยอาศัยรูปที่ 1-10


รูปที่ 1-10 แสดงวิถีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของอนุภาคในระนาบ

จากรูปที่ 1-10 จะเห็นว่าอนุภาคมีความเร็วที่ตำแหน่ง A เท่ากับ ซึ่งเขียนให้อยู่ในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วยได้เป็น

(1-47)

โดยที่ คือขนาดของ และ คือเวกเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศเดียวกับ
ถ้าในกรณีที่กำลังพิจารณา ความเร็วของอนุภาค มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาด และทิศทาง เทียบกับเวลา (ทั้ง และ ต่างก็เปลี่ยนแปลง) ความเร่งของอนุภาคสามารถเขียนได้เป็น


(1-48)

เป็นอนุพันธ์ของเวกเตอร์ซึ่งก็ยังเป็นเวกเตอร์ และเราสามารถแสดงได้ว่า

(1-49)

โดยที่ มีทิศตั้งฉากกับ และมีทิศพุ่งเข้าสู่จุดศูนย์กลางของวงกลม ดังแสดงในรูปที่ 1-11
รูปที่ 1-11 แสดง ซึ่งตั้งฉากกับ
ทำให้สมการที่ 1-48 สามารถเขียนได้เป็น

(1-50)

แทนค่า และ a ด้วย สมการที่ 1-43 และ 1-44B จะได้ว่า

(1-51)

ดังนั้นเมื่อเทียบสมการที่ (1-51) กับสมการที่ (1-46) จะได้ว่า ความเร่งของอนุภาคในแนวเข้าสู่ศูนย์กลางสามารถเขียนได้เป็น

(1-52)

จะเห็นว่าความเร่งของอนุภาคในแนวเข้าสู่ศูนย์กลางเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพราะมาจาก

ความเร่งของอนุภาคในแนวเส้นสัมผัสสามารถเขียนได้เป็น

(1-53)

ส่วนความเร่งในแนวเส้นสัมผัสนี้ มาจากการเปลี่ยนแปลงขนาดของความเร็ว โดยไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนทิศทาง

สมการที่ 1-52 อาจจะเขียนในรูปที่คุ้นกันมากกว่าคือ

(1-54)

ตัวอย่างที่ 1-5

         จงแสดงว่า โดยที่ มีทิศตั้งฉากกับ และมีทิศพุ่งเข้าสู่ จุดศูนย์กลางของวงกลม

        วิธีทำ
        พิจารณาเทอม
        เนื่องจาก เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยใน Cartesian coordinates (x,y) จึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย ได้ดังนี้ (ใช้รูปที่ 1-10 ประกอบ)

(1-55)

        เมื่อ θ คือมุมระหว่าง กับแกน y
(1-56)

        เมื่อ

(1-57)

        เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยเช่นกัน และมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม

         จากสมการที่ 1-55 และ 1-57 จะเห็นว่า นั่นคือ มีทิศตั้งฉากกับ

ตัวอย่างที่ 1-6

        ถ้าอนุภาคหนึ่งมีการเคลื่อนที่เป็นแบบวงกลมด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัวตามรูป จงหาขนาดของความเร่ง (เชิงเส้น) เฉลี่ยในช่วง p ถึง q

        รูปแสดงการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของอนุภาคด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัวจากจุด p ไปยังจุด q

        วิธีทำ

        เราควรจะทราบก่อนทำการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ว่า การเคลื่อนที่เป็นวงกลม ในลักษณะนี้ ถึงแม้ขนาดความเร็วในการเคลื่อนที่คงที่ ดังนั้นจึงไม่มีความเร่ง ในแนวเส้นสัมผัส แต่วัตถุยังมีความเร่งในแนวเข้าสู่ศูนย์กลาง เพราะมีการเปลี่ยนแปลง ทิศทางของความเร็ว ดังนั้นคำตอบจึงควรเป็นในลักษณะที่ แต่

        จากรูปแสดงให้เห็นถึงวิถีการเดินทางของอนุภาคจากจุด p ไปยังจุด q โดยมีแนวการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมรัศมี r โดยมีขนาดของความเร็วที่จุด p เท่ากับ และขนาดของความเร็วที่จุด q เท่ากับ ดังนั้นอนุภาคมีความเร่งเป็น


        รูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่า ในทิศ -y นั่นคือ จะมีเฉพาะ องค์ประกอบในแนวแกน y ซึ่งเป็นความเร่งสู่ศูนย์กลาง ตามที่คาดไว้แต่แรก

        เวลาที่อนุภาคใช้ในการเคลื่อนที่จากจุด p ไปยังจุด q ด้วยความเร็ว (เนื่องจากอนุภาควิ่งด้วยอัตราเร็วคงตัวดังนั้น หาได้จาก


        เมื่อ arclength (pq) แทนความยาวส่วนโค้ง pq

        ณ จุดนี้เรามีข้อมูลเพียงพอ ที่จะคำนวณหาความเร่ง ที่เกิดจากการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของอนุภาค


        ถ้าพิจารณาให้มุม θ มีค่าน้อยลง กล่าวคือจุด p และ q อยู่ใกล้กันมากๆ โดยอาศัยนิยามเรื่องความเร่งขณะใดขณะหนึ่งจะพบว่า จะกลายเป็นความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง ณ จุดที่แกน y ตัดกับวิถีการเดินทางของอนุภาค นอกจากนี้ยังทำให้เทอม มีค่าเข้าใกล้ 1

          ดังนั้นเราจึงสามารถสรุป ได้ว่าอนุภาคที่มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ด้วยอัตราเร็วคงที่ จะมีขนาดความเร่งเป็น

หรือ

        ซึ่งเป็นไปตามสมการที่ (1-54) โดยความเร่งนี้มีทิศชี้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง และตั้งฉากกับความเร็วของอนุภาคเสมอ ดังรูปที่ 1-12

รูปที่ 1-12 แสดงทิศที่ตั้งฉากกันระหว่างความเร่งสู่ศูนย์กลางและความเร็วของอนุภาค