|
|
|
|
|
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง |
|
|
|
นับแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนแม้ปัจจุบัน
จึงกล่าวได้ว่าโลกเป็น “พลวัต” (dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา
กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกอาจ แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ
ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลก (internal processes)
และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก (superficial
processes) ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันและส่งผลต่อลักษณะธรณีสันฐาน
ภูมิลักษณ์ ตลอดจนทรัพยากรธรณีที่เกิดขึ้นและแผ่กระจายบนพื้นผิวโลก
|
|
|
-ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
และภูเขาไฟระเบิด
-แผ่นธรณีภาคหรือแผ่นเปลือกโลก (plates) เคลื่อนที่ได้อย่างไร
-กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก แตกต่างกันอย่างไร |
|
|
|
|
กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
(internal processes) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกแล้วส่งผลกระทบออกมาสู่พื้นผิวโลก
เช่น การขับเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
เป็นต้น
กล่าวคือ เมื่อความร้อนไหลวนจากแมกมาส่วนที่อยู่ลึกขึ้นสู่ที่สูงจนมาถึงส่วนผิวของแมกมาที่อยู่ใต้แผ่นธรณีภาคจะเกิดการกระจายความ
ร้อนและในขณะเดียวกันความร้อนนั้นและแรงดันทำให้พื้นผิวที่เป็นเหมือนฝาครอบอยู่นั้นปริและแตกออกเกิดเป็นเขตแยกตัว
(divergent zone) ส่วนที่วงจรการพาความร้อนสองแนวหมุนวนมาเจอกันจะทำให้วัตถุที่เย็นกว่าจมลงไปทำให้เกิดแรงลอยตัว
มีวัตถุลอยอยู่บนแมกมา
ได้บริเวณที่แนวการพาความร้อนมาปะทะกันเรียกว่าขอบเขตของการรวมตัว (convergent zone)
เขตรอยต่อของแผ่นธรณีภาคส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยกระบวนการไหลวนของความร้อนในชั้นเนื้อโลก
ทั้งขอบเขตแบบแยกตัวและรวมตัวการไหลวนของความร้อนในรูปแบบของการแยกตัวทำให้แผ่นดินหรือพื้นทวีปแยกออกเป็นร่องหรือเป็นแนวทรุดซึ่งเป็นช่องทางให้แมกมาไหลแทรกขึ้นมาเป็นหินบะซอลต์และ
ถ้ารอยแตกนั้นขยายกว้างออกไปทำให้หินบะซอลต์แทรกขึ้นมาตามร่องทรุดนั้นเรื่อยๆ
จนเกิดเป็นพื้นมหาสมุทรรุ่นใหม่
|
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
(plate tectonics) ที่ทราบกันดีว่าโลกไม่ได้หยุดนิ่ง เนื่องจากมีแรงกระทำต่อใต้พื้นผิวโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา
โดยมีทั้งการเพิ่มพูนพื้นที่ และการสูญเสียพื้นที่ ทั้งนี้เพราะส่วนบนของโลก
ประกอบด้วยแผ่นธรณีภาค (plate) ที่ประกอบด้วยชั้นเปลือกโลกและส่วนบนของชั้นเนื้อโลกตอนบนที่เรียกว่าลิโธสเฟีย
(lithosphere) หลายแผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนเบื้องแรกจากแรงไหลทะลักขึ้นมาของหินหลอมเหลวร้อน
(magma และ lava) แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันได้หลายรูปแบบจึงมีรอยต่อระหว่างแผ่นธรณีภาคที่แตกต่างกัน
จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
พบว่า หินบริเวณตรงกลางแนวสันเขาใต้น้ำกลางทะเลเป็นหินบะซอลต์ใหม่
มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกไป จึงมีการตั้งทฤษฎีของแนวสันเขากลางมหาสมุทรว่าเป็นรอยแตกกึ่งกลางมหาสมุทร
ซึ่งเป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่ถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันทีละน้อยรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆได้
|
|
ภาพที่ 1.1 แมกมาใต้เปลือกโลกถูกความร้อน
และแรงดันดินขั้นมา ทำให้แผ่นดินโก่งตัว
|
|
ภาพที่ 1.2 เกิดเป็นลักษณะหุบเขาทรุด
|
|
ภาพที่ 1.3 เป็นผลให้เกิดเป็นทะเลขึ้นมา
|
|
ภาพที่ 1.4 เกิดเทือกเขากลางมหาสมุทร
เกิดขึ้นพร้อมกับหุบเขาทรุด
|
|
แนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน อันเนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค
(ภาพที่ 1.1) ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อน
สู่ชั้นเปลือกโลกได้ หลังจากนั้น อุณหภูมิ และความดันของแมกมาจึงลดลง
เป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด (ภาพที่
1.2)
ในระยะเวลาต่อมา เมื่อมีน้ำสะสมเกิดเป็นทะเล (ภาพที่ 1.3)
และเป็นรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตก
จะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง
พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า
การขยายตัวของพื้นทะเล (sea floor spreading) และกลายเป็นแนวเทือกเขาและหุบเขากลางมหาสมุทรขึ้น
(ภาพที่ 1.4) |
|
เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก
(plate) จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป
ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแนวมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน
บางแผ่นเคลื่อนเข้าหา และมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกันอันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลก |
|
|
-จงบอกความแตกต่างระหว่างแผ่นธรณีภาค
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด แมนเทิล และแก่นโลก
-plate boundaries หมายถึงอะไร
-มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิด plate boundaries |
|
|
|