ภูเขาไฟเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หินและลาวาร้อนจากภายในโลกระเบิดพุ่งหรือไหลทะลักขึ้นมาสู่เปลือกโลก
การระเบิดมีรูปแบบที่เห็นได้ชัดเกิดเป็นภูเขาไฟที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่างและส่วนประกอบของลาวา
ลักษณะการระเบิดของภูเขาไฟแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การระเบิดเป็นแนวยาว
และการระเบิดแบบเป็นจุดร้อน |
การระเบิดเป็นแนวภูเขาไฟ
มักจะเกิดกับภูเขาไฟที่อยู่ในแนวที่เป็นเขตการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก/แผ่นธรณีภาค
โดยภูเขาไฟที่อยู่ใกล้รอยแยกจะเกิดระเบิดเมื่อตะกอนเปียกที่อยู่บนแผ่นธรณีภาคตกลงไปปนกับแมกมา
ก็จะปล่อยแก๊สและของไหลลงไปในแมกมาที่อยู่เหนือแผ่นธรณีภาคมุดตัว
ทำให้บริเวณนั้นมีความหนืดมากกว่าที่อื่น และทำให้ของไหลและแก๊สเหล่านั้นพุ่งลอยขึ้นมาสู่แผ่นธรณีภาคที่ปิดทับอยู่
แล้วตามมาด้วยแมกมา การพุ่งขึ้นมาสู่ผิวโลกนี้ทำให้เกิดเป็นภูเขาไฟ
ที่มีลาวาเป็นไฟร้อนสีแดงฉานไหลเป็นสายลงมาตามไหล่เขาและพื้นลาด
การระเบิดแบบนี้มักจะรุนแรง มีเสียงดัง
การระเบิดเป็นจุดร้อน
มักจะเกิดกับภูเขาไฟที่อยู่บนแผ่นธรณีภาค ส่วนมากจะเป็นภูเขาไฟรูปกรวยที่ไม่สูงชันมาก
ต้นกำเนิดของพลังงานความร้อนของแมกมาจะอยู่ลึกภายในเนื้อโลก
โดยแมกมาที่อยู่ลึกๆ นั้นจะสะสมความร้อนขึ้นมาเองจนเป็นจุดร้อนกว่าบริเวณข้างเคียงในขณะที่แผ่นธรณีภาคที่อยู่ส่วนบนเคลื่อนที่ผ่านจุดนั้นไปอย่างช้าๆ
จึงเกิดการทะลักขึ้นมาตามรอยแตกของมวลหินหลอมสู่ผิวโลกเป็นจุดๆ
หรือเป็นหย่อมๆ ส่วนมากจะเป็นหินบะซอลต์ที่มีปริมาณซิลิกาต่ำ
การะเบิดของภูเขาไฟลักษณะต่างๆ
ทำให้เกิดภูมิลักษณ์เฉพาะของหินภูเขาไฟ ซึ่งจะมีทั้งภูเขาไฟที่ประกอบด้วยหินภูเขาไฟรูปทรงต่างๆ
ปล่องภูเขาไฟที่เหลือจากการระเบิดและท่อแกนของภูเขาไฟ (volcanic
neck) เป็นต้น เช่นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี การระเบิดครั้งสุดท้ายของภูเขาไฟในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อประมาณหกแสนปีที่แล้ว
บริเวณแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ส่วนภูเขาไฟบริเวณภาคอีสานตอนล่าง
บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 0.92 ล้านปีที่แล้ว
|
ภาพที่ 1.10 แสดงลักษณะของภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท
ภาพจาก: Mount St. Helens, Washington
ที่มา: http://volcan.wr.usgs.gov
|
|
|
ภาพที่ 1.11 สระมณีวรรณซึ่งเป็นสระน้ำจืดที่เกิดจาก
การสะสมน้ำในปล่องภูเขาไฟโบราณซึ่งดับสนิทแล้ว
บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ |
|
|
|
การระเบิดของภูเขาไฟจะได้หินชนิดใด |
|
|
|