แผ่นดินไหว
(earthquake)
|
แผ่นดินไหว
เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด
กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด
เมื่อแรงเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก
ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก |
ผู้คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากสาเหตุต่างๆ
กันไป เช่น
- คนญี่ปุ่นเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากเทพเจ้าแห่งปลา
ชื่อ Namazu สะบัดหางไปมา
- Thales นักปราชญ์ชาวกรีกในสมัยพุทธกาลเชื่อว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมาจะต้องมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ภายใน
โดยเขาคิดว่าการไหลของคลื่นในมหาสมุทรอย่างรุนแรงเป็นต้นเหตุทำให้เกิดแผ่นดินไหว
- Homer กวีชาวกรีกเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เทพเจ้า
Poseidon แห่งท้องทะเลลึกทรงพิโรธ
- คนจีนโบราณคิดว่า
แผ่นดินไหวเกิดจากพญามังกรที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินขยับและเคลื่อนไหวลำตัวพร้อมส่งเสียงคำราม
|
ทฤษฎีการเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี
2 ทฤษฎี คือ |
1.
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source theory)
แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการ
คดโค้งโก่งงออย่างเฉียบพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว |
2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ
(elastic rebound theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจาก
การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน
(fault) ดังนั้น เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน
และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม
ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการ
กำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับรอยเลื่อนที่มีพลัง (active
fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก
(plate tectonics) |
ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว
คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก
ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น
ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์
(epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี
2 ประเภท คือ
- คลื่นปฐมภูมิ (primary waves: P-waves)
- คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves: S-waves)
การกำหนดตำแหน่งของแผ่นดินไหวและการตรวจวัดทำโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่ เรียกว่า ไซสโมมิเตอร์
(seismometer) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงและแปรผลเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนผ่านมา
|
|
|
-
แผ่นดินไหวคืออะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดมาจากอะไร
- แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด
- ความลึกเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างไร
|
|
|
|
|
ภาพที่ 1.5 แสดงศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และคลื่นความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก
|
จากภาพ
อธิบายได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทั้งคลื่น P และ คลื่น S จะเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งหนึ่งใต้ผิวโลก
ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่าเรียกว่า จุดโฟกัส หรือ ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว
เมื่อคลื่นทั้ง 2 ชนิดคลื่นที่ผ่านไปในชั้นหินใต้ผิวโลก อนุภาคต่างๆ
ในชั้นหินที่ถูกคลื่น P กระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไป
ดังนั้น ชั้นหินจึงตกอยู่ในสภาพถูกอัด และขยายตัวเหมือนการยืดหดของลวดสปริงในกรณีของคลื่น
S นั้น อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับทิศการพุ่งไปของคลื่น
เหมือนลูกคลื่นที่เกิดจากการขยับเส้นเชือกผูกปลายขึ้นลง คลื่น
P นั้น ตามปกติจะมีความเร็วมากกว่าคลื่น S ดังนั้นการวัดเวลาที่คลื่นที่
P และ S เดินทางถึงเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ
บนผิวโลก จะทำให้นักธรณีวิทยาสามารถวิเคราะห์และรู้ได้ว่าจุดโฟกัสของการเกิดคลื่นอยู่ที่ใดคลื่น
p-wave จะเดินทางไปได้ทั้งใน
ตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ส่วนคลื่น s-wave จะเดินทางไปได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น |
คลื่นพื้นผิว
(surface wave) คือลักษณะที่คลื่นแผ่รังสีอยู่รอบเปลือกโลก |
|
ภาพที่
1.6 ลักษณะของคลื่นพื้นผิวที่แผ่รังสีรอบเปลือกโลก
|
ส่วนคลื่นในตัวกลาง
(body wave) คือลักษณะที่คลื่นแผ่รังสีภายในเปลือกโลก |
|
ภาพที่ 1.7 ลักษณะของคลื่นในตัวกลางที่แผ่รังสีภายในโลก
|
|
|
-คลื่นพื้นผิว
(surface wave) กับคลื่นในตัวกลาง (body wave) ต่างกันอย่างไร
-คลื่นชนิดใดมีอนุภาคทำลายล้างสูง
-ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) หมายถึงอะไร |
|
|
|
ขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน
(seismograph) หลักการโดยสังเขปของเครื่องมือคือ มีตัวโครงยึดติดกับพื้นดิน
และมีกระดาษหมุนไปด้วยความเร็วคงที่ เมื่อแผ่นดินมีการเคลื่อนไหวสะเทือน
กระดาษกราฟที่ติดอยู่กับโครงจะเคลื่อนที่ตามแผ่นดินแต่ลูกตุ้มซึ่งมีความเฉื่อยจะไม่เคลื่อนที่ตามปากกาที่ผูกติดกับลูกตุ้มก็จะเขียนกราฟลงบนกระดาษ
และในขณะเดียวกันทำให้ได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ของขนาดการเคลื่อนที่ของแผ่นดินต่อหน่วยเวลา |
|
ภาพที่
1.8 เครื่องมือวัดแผ่นดินไหวพร้อมกระดาษบันทึกเพื่อแปรผล (seismometer)
ที่มา:http://www.adlc.ca/home/studwork/sampleLessons/Science24/lesson3-5.htm
|
|
|
|
-
ไซสโมกราฟ คืออะไร
- ไซสโมแกรม คืออะไร
- ไซสโมกราฟ และไซสโมแกรมสัมพันธ์กันอย่างไร |
|
|
|
การวัดแผ่นดินไหวนิยมวัดอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การวัดขนาด (magnitude)
และการวัดความรุนแรง (intensity) การวัดขนาดเป็นการวัดกำลัง
หรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนการวัดความรุนแรงเป็นการวัดผลกระทบของแผ่นดินไหว
ณ จุดใดจุดหนึ่งที่มีต่อคน โครงสร้างอาคาร และพื้นดิน มาตราการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมใช้ทั่วไป 3 มาตรา ได้แก่ มาตราริกเตอร์
มาตราเมอร์แคลลี และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์ |
มาตราริกเตอร์
เป็นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้จากการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว
โดยวัดจากความสูงของคลื่น (amplitude) จากเส้นไซสโมแกรม ซึ่งแอมพลิจูดยิ่งสูงเท่าไรก็เท่ากับพื้นดินสะเทือนมากเท่านั้น
หรือแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น วิธีการนี้ ชาร์ล
เอฟ ริกเตอร์ (Charles F. Richter) ได้คิดค้น และคำนวณออกมาเป็นสมการลอกกาลิธึม
เพื่อคำนวณหาระดับขนาดต่างๆ โดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือน
และมีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับระยะทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
ได้ผลลัพธ์ออกมาจนเป็นมาตราที่เรียกว่า มาตราริกเตอร์ (Richter
scale) ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0-9 มาตราที่ใช้กันทั้งสองวิธีนี้ใช้เปรียบเทียบ
หรือวัดขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ได้
|
มาตราเมอร์แคลลี
วัดจากความรู้สึกของคนร่วมกับการประเมินผล และความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหว
วิธีนี้ถูกกำหนดขึ้นเป็นมาตราที่เรียกว่า มาตราเมอร์แคลลี
(mercalli scale) |
มาตราการวัดขนาดโมเมนต์
การวัดขนาด ด้วยมาตราริกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
แต่วิธีการของริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวมากขึ้นทั่วโลก
ข้อมูลที่ได้ แสดงว่า วิธีการของริกเตอร์ใช้ได้ดีเฉพาะในช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น
ใน ค.ศ. 1977 ฮิรู
คะนะโมะริ ( Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น)
ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน
มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า มาตราขนาดโมเมนต์ ( moment
magnitude scale) |
|
|
มาตราเมอร์แคลี่
กับมาตราริกเตอร์ และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์ต่างกันอย่างไร |
|
|
|
แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว
แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรง
- บริเวณขอบหรือรอยตะเข็บของแผ่นเปลือกโลก (แผ่นธรณีภาค) ในกรณีของประเทศไทย
และสุมาตรา แนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวเกาะอันดามัน-นิโคบา
ในมหาสมุทรอินเดีย
- แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศ
และแนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น การทดลองระเบิดเขื่อน
บ่อน้ำมัน เป็นต้น |
แนวของแผ่นดินไหวบนโลกนี้ ส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นตามแนวตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยต่อที่เป็นการรวมตัวหรือเป็นบริเวณที่มีการมุดของแผ่นธรณีภาค
ดังนั้นพื้นที่ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) และเป็นตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาคจะทำให้ภูมิลักษณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวพื้นที่จะมีการเคลื่อนที่ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ
เปลี่ยนสภาพหรือรูปลักษณ์ของพื้นที่ไปจากเดิม มีการเกิดรอยแตก
รอยแยกบนพื้นดิน มีการเกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) จึงทำให้หินในพื้นดิน
ภูเขา พังทลายลงสู่ที่ต่ำ สำหรับประเทศไทยซึ่งไม่ได้อยู่แนวเขตแผ่นดินไหวรุนแรง
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงมาจากพื้นที่ที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนที่มีพลัง
ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากรอยเลื่อน และอาจจะเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวในอดีตของไทย
ได้แก่ แนวรอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
และรอยเลื่อนระนอง เป็นต้น
|
|
|
- บริเวณใดพบว่าสามารถเกิดรอยเลื่อนได้
- รอยเลื่อน จุดโฟกัส และจุดเหนือการเกิดแผ่นดินไหว
สัมพันธ์กันอย่างไร
- รอยเลื่อน และแผ่นดินไหวสัมพันธ์กันอย่างไร
- รอยเลื่อน คืออะไร แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร |
|
|
|
การพยากรณ์แผ่นดินไหว
|
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังคงไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ
ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง
ๆ ของบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหว
|
คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก
ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว
แรงเครียดในเปลือกโลกที่เพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง
การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ
ก่อนเกิดแผ่นดินไหวได้แก่ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง
มีฟองอากาศ และ รสขม)
ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่นสูงๆ
|
|
ภาพที่ 1.9 ตัวอย่างภาพความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหว
ที่มา : www.uh.edu/~jbutler/ anon/quakes.htm
|
การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว
แมลงสาปจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ
หนู งู วิ่งออกมาจากรู
ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ |
|
|
-สามารถคาดเดาเหตุการณ์ก่อนการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างไร
และมีวิธีการตรวจสอบได้อย่างไรว่าเกิดแผ่นดินไหวจริง
-จะมีการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวได้อย่างไร |
|
|
|