นักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า “แร่” ตัวอย่างเช่น

          Brush and Penfield, 1898 กล่าวว่า แร่ คือ สารประกอบทางเคมีที่จะชักนำให้เกิดสารประกอบอนินทรีย์ในธรรมชาติ และมีสูตรโครงสร้างที่แน่นอน หรือ คือ กระบวนการตกผลึกและมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่แน่นอน
          

          Dana and Ford, 1932 กล่าวว่า แร่ คือ ผลผลิตจากกระบวนการทางอนินทรีย์ มีรูปร่างที่แน่นอน ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสมกับลักษณะของโครงสร้างอะตอมก็จะแสดงออกในรูปผลึก


          Mason, et al, 1968 กล่าวว่า แร่ เกิดจากการรวมตัวกันของของแข็งชนิดเดียวกัน ในรูปสารประกอบอนินทรีย์ ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมี ที่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมที่แน่นอน

          O’ Donoghue, 1990 กล่าวว่า แร่ เกิดจากสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์

          Nickel, E.H., 1995 กล่าวว่า แร่ คือ ธาตุ หรือ สารประกอบเคมีที่เป็นรูปผลึก และเกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา

 

          แร่ในความหมายทางวิชาการจึงต้องมีสมบัติดังนี้คือ เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ เป็นสารอนินทรีย์ เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ กล่าวคือ อะตอมถูกจัดเป็นระเบียบที่แน่นอน และมีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน โดยอาจแปรผันได้ในวงจำกัด จึงสามารถเขียนเป็นสูตรโครงสร้างทางเคมีได

 

ส่วนประกอบและโครงสร้างภายในของแร่


          ธาตุ อะตอม และ ไอออน

          ธาตุหมายถึง สารเนื้อเดียวล้วน ประกอบด้วยอะตอมซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของธาตุที่ไม่สามารถทำให้แตกสลายเป็นหน่วยย่อยด้วยวิธีทางเคมีธรรมดา ธาตุที่นักวิทยาศาตร์รู้จักมีมากถึง112 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติบนโลก 92 ชนิด ในจำนวนนี้ธาตุที่พบมากที่สุด 8 ธาตุ ได้แก่ O, Si, Al, Fe, La, Mg, K และ Na ซึ่งมีปริมาณรวมกันมากกว่า 98% ของธาตุทั้งหมดบนเปลือกโลก

          อะตอมซึ่งเป็นหน่วยพึ้นฐานของธาตุประกอบด้วย นิวเคลียสขนาดเล็กเนื้อแน่นประจุบวกอยู่ตรงกลาง โดยมีอีเล็คตรอนที่มีประจุลบอยู่รอบนอก ในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกและนิวตรอนที่เป็นกลางตามทฤษฎี อะตอมที่เป็นกลางมีจำนวนโปรตรอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอีเล็คตรอนที่อยู่โดยรอบ อย่างไรก็ตามในธรรมชาติอะตอมของธาตุต่างๆ มักมีการสูญเสียอีเล็คตรอนหรือการเพิ่มประจุ อะตอมที่มีประจุบวกหรือบบเรียกรวมๆ ว่าไอออน อะตอมที่มักคายอีเล็คตรอน ทำให้อะตอมกลายเป็นประจุบวกเรียก cations เช่น Na คาย 1 อีเล็คตรอนเพื่อเป็น cation ที่มีประจุ +1 ส่วนอะตอมที่มักรับอีเล็คตรอนทำให้อะตอมกลายเป็นประจุลบเรียก anions เช่น อะตอมของ O รับอิเล็คตรอนเพิ่ม 2 ทำให้มีประจุ -2

          โดยปกติอะตอมและไอออนจะไม่แยกตัวอยู่โดดๆ แต่จะจับตัวกับอะตอมหรือไอออนอื่น ทำให้เกิดสารประกอบหรือเกิดแร่ที่มีความเสถียร การเกาะยึดกันของอะตอม และไอออนด้วยแรงไฟฟ้าข้างต้นเรียก "chemical bonds" ซึ่งมีลักษณะการยึดติดกันเป็น 4 แบบ คือ ionic bonds, covalent bonds, metallic bonds และ Vander Waals forces สมบัติทางกายภาพของแร่หลายประการ  เช่น  สี  ความแข็ง  ความหนาแน่น  การเป็นตัวนำไฟฟ้า  ต่างขึ้นอยู่กับประเภทของ bonds

          "ionic bonds" เป็นการยึดติดกันของ ions ที่มีประจุต่างกัน เช่น แร่เกลือแกง Na+ Cl-

          "covalent bonds" เป็นการยึดติดกันของธาตุที่อยู่ใกล้กันใช้อิเล็คตรอนร่วมกัน เช่น แร่เพชร โดย C แต่ละตัวใช้อีเล็คตรอนร่วมกัน 4 อีเล็คตรอน ยึดติดกันในทุกทิศทาง ทำให้เพชรมีความแข็งมาก

          "metallic bonds" อีเล็คตรอนของธาตุโลหะจะอยู่กันหลวมๆ และไม่เกาะติดกับอะตอมใดโดยเฉพาะทำให้อะตอมของโลหะจึงถูกจับกันแน่นมากทำให้โลหะมีความหนาแน่นมาก เนื่องจากอีเล็คตรอนของธาตุโลหะมีอิสระในการเคลื่อนย้ายสูงทำให้โลหะมีเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดีมาก

          "van der waals forces" อะตอมที่ยึดติดกันด้วยแรงไฟฟ้าอ่อนๆ ที่เกิดจากการกระจายตัวของอิเล็คตรอนที่ไม่สม่ำเสมอในอะตอมหนึ่งๆทำให้บางส่วนของอะตอมมีประจุลบมาก หรือน้อยกว่าปกติ

          ส่วนประกอบของแร่ และโครงสร้างของผลึกแร่สามารถวิเคราะห์ได้ในห้องปฎิบัติการด้วยเครื่องมือเฉพาะ หากแร่มีผลึกใหญ่และรูปผลึกสมบูรณ์ อาจสะท้อนให้เห็นโครงสร้างการจัดตัวของอะตอมภายในของแร่นั้นได้ เพราะรูปทรงผลึกจะถูกกำหนดและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดวางตัวของโครงสร้างภายใน อย่างไรก็ตามแร่ในธรรมชาติส่วนใหญ่มักไม่มีรูปผลึกใหญ่ที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า ยิ่งกว่านั้นแร่ที่มีรูปทรงคล้ายกันอาจมีหลายชนิด การตรวจสอบแร่เพื่อรู้ถึงส่วนประกอบทางเคมีจึงต้องอาศัยสมบัติทางกายภาพอื่นๆ สนับสนุน ในกรณีที่ต้องการทราบเบื้องต้นและไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้ใช้อย่างสะดวก


 


สมบัติทางกายภาพที่ใช้จำแนกแร่


          สมบัติทางกายภาพของแร่ ที่สามารถนำมาใช้จำแนกแร่โดยทั่วไปประกอบด้วย สี สีผง ความแข็ง ผลึก ความโปร่งแสง ความถ่วงจำเพาะ ความมันวาว เป็นต้น

          สี (color) เป็นสมบัติที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่จะให้ระบุชนิดของแร่ว่าเป็นแร่ตัวใดนั้นเป็นสิ่งที่ยากเพราะแร่หลายชนิดมีสีคล้ายๆกัน จึงไม่เหมาะที่จะใช้การดูสีเป็นหลักเกณฑ์ตายตัวในการบอกชนิดของแร่ เพียงแต่สามารถนำมาใช้ในการคาดเดาว่าอาจจะเป็นแร่ชนิดใด แล้วจึงนำสมบัติอื่นๆ มาเปรียบเทียบ ต่อไป


ภาพที่ 2.1 แร่ควอตซ์ที่มีสีแตกต่างกัน

 

          สีผง (streak) สีผงของแร่ที่ได้จากการขูด หรือ บดเป็นผงอาจจะแตกต่างจากสีที่เป็นจริงของแร่ และแร่จะมีสีผงละเอียดที่แน่นอน เช่น แคลไซต์ ในแร่ชนิดเดียวกันจะมีความแตกต่างกันทั้งทาง สี และรูปร่าง แต่แคลไซต์ทุกตัวจะมีสีผงละเอียดเป็นสีขาวเหมือนกัน การดูจากสีผงละเอียดจะทำให้สามารถแยกแร่ที่มีสีเหมือนกันแต่แตกต่างกันในสีของผงละเอียด    ตัวอย่างเช่น   ทอง (gold)    กับ  ชาร์โคไพไรท์ (chalcopyrite) ซึ่งมีสีของแร่เป็นสีเหลืองเหมือนกัน แต่ทำให้เป็นผงแล้วสีของแร่ทั้งสองนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ทองจะมีสีผงละเอียดเป็นสีเหลืองแต่ชาร์โคไพไรท์จะมีสีผงละเอียดเป็นสีดำ

 




ทอง (gold)

ชาร์โคไพไรท์ (chalcopyrite)

ภาพที่ 2.2 เปรียบเทียบความคล้ายของสีแต่ถ้าขูดสีผงละเอียดออกมาจะต่างกัน

 

 


ภาพที่ 2.3 แร่ที่ถูกขูดเป็นผงจะให้สีที่แท้จริงของแร่

 

          ความแข็ง (hardness) เป็นสมบัติหลักของแร่ ด้วยรูปลักษณ์และสมบัตินี้ทำให้สามารถจำแนกแร่ได้ง่ายขึ้น  ความแข็งของแร่ หมายถึง ความทนทานต่อการขูดหรือการกะเทาะของแร่ เช่น ถ้านำแร่ A มาขูดกับแร่ B แล้วทำให้แร่ B เป็นรอยได้ แต่เมื่อนำแร่ B มาขูดแร่ A ไม่สามารถทำให้แร่ A เป็นรอยได้ แสดงว่า แร่ A มีความแข็งกว่าแร่ B ความแข็งโดยใช้สเกลของ เฟเดอริก  โมห์  (Frederick Mohs) ซึ่งมีอยู่ 10 แร่เรียงตามลำดับจากอ่อนสุดไปหาแข็งสุดได้ดังนี้

 

แร่
ค่าความแข็ง (โดยประมาณ)
ทัลก์ (talc)
1
ยิปซัม (gypsum)
2
แคลไซต์ (calcite)
3
ฟลูออไรต์ (fluorite)
4
อะพาไทต์ (apatite)
5
เฟลสปาร์ (feldspar)
6
ควอตซ์ (quartz)
7
โทแพซ (topaz)
8
คอรันดัม (corundum)
9
เพชร (diamond)
10

 


 

ทัลก์ (talc)
ยิปซัม (gypsum)




แคลไซต์ (calcite)
ฟลูออไรต์ (fluorite)




อะพาไทต์ (apatite)
เฟลด์สปาร์ (feldspar)




ควอตซ์ (quartz)
โทแพซ (topaz)




คอรันดัม (corundum)
เพชร (diamond)

ภาพที่ 2.4 ตัวอย่างของแร่ที่มีความแข็งต่างกัน

 

แต่ถ้าไม่สามารถหาแร่มาตรฐานเหล่านี้ได้ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ทดสอบที่หาได้ง่าย เช่น

          เล็บมือ   ความแข็งประมาณ 2.5
          เหรียญหรือทองแดง
  ความแข็งประมาณ 3
          มีด ดาบ หรือกระจก   ความแข็งประมาณ 5.5
          ตะไบเหล็ก   ความแข
็งประมาณ 6.5

 

 


ภาพที่ 2.5 ตัวอย่างการขีดแก้วลงไปบนกระเบื้องทำให้กระเบื้องเป็นรอยเนื่องจากแก้วมีความแข็งกว่า
คือมีความแข็งประมาณ 5.5 ตามสเกลของ Mohs

 

 


ภาพที่ 2.6 ถ้าแร่มีความแข็งน้อยกว่า 2.5 สามารถใช้เล็บในการขูด

 

 

.


ภาพที่ 2.7 แร่บางชนิด ไม่สามารถใช้เล็บขูดได้ถึงแม้จะมีความแข็งน้อยว่า 2.5

 

 


ภาพที่ 2.8 ขูดแก้วไม่เป็นรอยแสดงว่ามีความแข็งต่ำกว่า 5.5

 

วิธีการตรวจสอบแร่จากความแข็งของแร่นั้นมีข้อเสียที่อาจจะทำให้เกิดการจำแนกผิดได้ เช่น


          • บางครั้งแร่ที่มีความแข็งเท่ากันจะขูดกันเป็นรอยได้
          • แร่ที่ถูกขูดเป็นรอยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นแร่ที่อ่อนกว่าเสมอไป เพราะอาจเกิดจากเนื้อของแร่ที่จับตัวกันไม่แน่น
          • ความแข็งของด้านต่างๆ ของแร่เดียวกันอาจไม่เท่ากัน
          • แร่ที่ไม่บริสุทธิ์แร่อื่นเจือปนอยู่อาจมีความแข็งขึ้นหรือน้อยลง