|
นาโนเทคโนโลยี หน่วยที่ 3(ส่วนที่สอง): นาโนเทคโนโลยีจากระบบธรรมชาติสู่การสังเคราะห์ นาโนเทคโนโลยีโดยการสังเคราะห์ (6) |
|
|
|
|
เส้นลวดนาโน เป็นโครงสร้างนาโนที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ของวัตถุของแข็งที่มีรูปร่างเป็นเส้นใน 1 มิติ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กมากในระดับนาโนเมตร (ไม่เกิน 100 นาโนเมตร) ด้วยขนาดเล็กระดับนาโนเมตรและมีรูปร่างโครงสร้างใน 1 มิติของเส้นลวดนี้ ทำให้โครงสร้างนาโนนี้เกิดปรากฎการณ์ทางควอนตัมกับคุณสมบัติของเส้นลวดนาโน เพราะว่าทำให้อิเล็กตรอนสามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น [ด้วยเหตุนี้บางครั้งก็จะเรียกเส้นลวดนาโนว่าเป็นเส้นลวดควอนตัม (quantum wire)] เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นภายในท่อนาโนคาร์บอน แต่สำหรับเส้นลวดนาโนนั้นสามารถจะสร้างขึ้นมาได้จากหลายวิธีและหลายวัสดุที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งมีขนาดโครงสร้างเพียง 1 มิติเท่านั้น |
|
|
|
เส้นลวดนาโนนำแสงซิลิกอน ขนาด 50 นาโนเมตร ที่พันรอบเส้นผม |
เส้นลวดนาโนที่อยู่ภายในท่อนาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้น |
|
|
เส้นลวดนาโนที่มีอยู่ที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นมานั้นมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน เพราะเส้นลวดนาโนสามารถสร้างขึ้นมาจากวัสดุที่เป็นสารอนินทรีย์ต่างๆ ได้มากมาย ตัวอย่างเช่น เส้นลวดนาโนของโลหะ ก็ได้แก่ เส้นลวดนาโนนิกเกิล เส้นลวดนาโนแพลทตินัม เส้นลวดนาโนทองคำ เป็นต้น ส่วนเส้นลวด นาโนที่เป็นสารกึ่งตัวนำ ก็ได้แก่ เส้นลวดนาโนซิลิกอน เป็นต้น และเส้นลวดนาโนที่เป็นฉนวน ก็ได้แก่ เส้นลวดนาโนออกไซด์ของซิลิกอน เส้นลวดนาโนออกไซด์ของไทเทเนียม เป็นต้น |
|
|
|
|
เส้นลวดนาโนที่จัดเรียงเป็นตาข่ายแบบ 4X4 เพื่อนำมาทดสอบเกี่ยวกับการเป็นหน่วยความจำสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ |
|
หน่วยความจำที่สร้างขึ้นมาจากเส้นลวดนาโนของโลหะ |
|
|
แต่ในระบบธรรมชาติก็มีเส้นลวดนาโนเช่นเดียวกัน เส้นลวดนาโนระดับโมเลกุลที่ประกอบกันขึ้นมาอย่างเป็นพอลิเมอร์จากหน่วยอะตอมย่อยของสารอินทรีย์ ได้แก่ โมเลกุลของ ดีเอ็นเอ นั่นเอง ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็มีแนวคิดที่จะนำโครงสร้างนาโนของดีเอ็นเอมาใช้ สำหรับสร้างเป็นตัวนำไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับนาโนเช่นเดียวกัน |
|
|
|
แบบแผนอุปกรณ์นาโนที่ใช้ดีเอ็นเอเป็นเส้นลวดนาโน โดยการนำเอาดีเอ็นเอ 2 สายมาขยายข้ามผ่านช่องภายในชิพซิลิกอน |
|
|
เส้นลวดนาโนสามารถแสดงคุณสมบัติพิเศษเฉพาะทางไฟฟ้าได้ เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมากของมันเอง และคุณลักษณะการนำไฟฟ้าของเส้นลวดนาโน ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงตัวของอะตอมที่บริเวณพื้นผิวของเส้นลวดนาโน ถ้าเส้นลวด นาโนยิ่งมีขนาดที่เล็กลงไปเท่าไหร่ จำนวนอะตอมที่จัดเรียงตัวอยู่ที่บริเวณพื้นผิวก็จะยิ่งมีจำนวนมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับจำนวนอะตอมที่อยู่ภายในเส้นลวดนาโน ก็จะยิ่งทำให้เส้นลวดนาโนสามารถที่จะนำไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการนำเส้นลวดนาโนมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าต่างๆ เช่น ทรานซิสเตอร์ เกทพื้นฐานเชิงตรรกะ (logic gate) หน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวม เป็นต้น หรือแม้แต่การนำมาใช้ในการสร้างเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาเซลล์ (solar cell) |
|
|
|
|
แผงวงจรรวมเส้นลวดนาโนความเร็วสูง |
|
ทรานซิสเตอร์แบบแกนร่วมที่ใช้เส้นลวดนาโนขนาด 5 นาโนเมตร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
นาโนปอร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 61 nm ได้จากการสังเคราะห์โดย FIB (Focus Ion Beam) บนพื้นผิวของซิลิกอนไนไตรด์ (Si3N4) |
|
นาโนปอร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 nm ที่ได้จากการใช้ Ar Ion Beam สังเคราะห์จากนาโนปอร์ที่ผ่านการสังเคราะห์โดย FIB มา |
|
|
การสังเคราะห์นาโนปอร์นั้น โดยมากจะเป็นการสังเคราะห์มาประยุกต์ใช้งานที่เฉพาะเจาะจง เช่น การสร้างเครื่องปั้มไอออน ซึ่งจะทำงานเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น โดยจะทำหน้าที่ในการปั้มไอออนจากด้านหนึ่งที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงมาถ่ายเทสู่อีกด้านหนึ่งที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า หรือถูกใช้ในการสร้างตัวรับสัมผัสระดับนาโน (nanosensor) เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบโครงสร้างและการทำงานระดับโมเลกุล เช่น ดีเอ็นเอ หรือ โปรตีน เป็นต้น |
|
|
นาโนปอร์สังเคราะห์บนแผ่นพลาสติก เพื่อใช้ในการสร้างเครื่องปั๊มไอออนระดับนาโน โดยจะทำหน้าที่ปั๊มไอออน จากด้านหนึ่งของแผ่นพลาสติกไปสู่อีกด้านหนึ่ง |
|
|
นาโนปอร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในระบบธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูขนาดเล็กระดับนาโนเมตร (แต่ก็จะต้องมีขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลที่จะผ่านเข้าออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) ที่อยู่กับบริเวณของเนื้อเยื่อที่เป็นฉนวนทางไฟฟ้า (ซึ่งจะถูกใช้เป็นตัวตรวจสอบระดับโมเลกุล) โดยมีทั้งที่อยู่เป็นช่องผ่านภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบลำดับเบสของดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ทำหน้าที่จำแนกว่าดีเอ็นเอเป็นสายเดี่ยวหรือสายคู่ จำแนกชนิดของพอลิเมอร์ตามที่จะผ่านตามความยาว และจำแนกชนิดของไอออน (ตัวอย่างที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น ช่องเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ควบคุมด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือโซเดียม-โปแทสเซียมปั้มนั่นเอง) เป็นต้น |
|
|