นาโนเทคโนโลยี  หน่วยที่ 6: นาโนเทคโนโลยียุคอนาคต(6)
 
 
 
          นอกจากวินิจฉัยแล้ว อุปกรณ์ระดับนาโนยังสามารถใช้เพื่อการบำบัดรักษาเซลล์มะเร็งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้โดยตรง และมีประสิทธิภาพสูงในการผู้ทำการบำบัดรักษา โดยสามารถที่จะดำเนินการเองได้ในการเคลื่อนที่ขนส่งตัวยาที่จะใช้ในการบำบัดเข้าสู่แหล่งกำเนิดเซลล์มะเร็ง หรือทำการบำบัดเซลล์ที่มีโอกาสสูงในการที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ด้วยการใช้โครงสร้างระดับนาโนหรืออนุภาคนาโนที่สามารถที่จะทำลายเซลล์มะเร็งได้  เช่น  เปลือกนาโนนำวิถี (nanoshell) หรืออนุภาคนาโนของเฟอริกออกไซด์  เป็นต้น
 
เปลือกนาโนนำวิถี (nanoshell) สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการรักษา  โดยปราศจากผลข้างเคียง  อันเกิดจากเซลล์ข้างเคียงเซลล์มะเร็งถูกทำลายได้  โดยเปลือกนาโนนำวิถีจะเข้าไปจับเฉพาะกับเซลล์ที่เป็นเซลล์มะเร็ง  ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะของเปลือกนาโนนำวิถีที่จะสามารถดูดกลืนพลังงานได้โดยตรง  ทำให้เกิดความร้อนสูงในระดับที่สามารถทำลายเซลล์ที่เป็นมะเร็งได้ 
 
อนุภาคนาโนถูกส่งเข้าสู่ร่างกายโดยปราศจากผลข้างเคียง  และนำส่งเข้าสู่แหล่งของเซลล์มะเร็งได้โดยตรง  และเมื่อจับตัวกับเซลล์มะเร็ง  ก็จะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งได้
 
          ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระดับนาโน  จึงได้มีอีกแนวคิดในการนำเอาวัสดุนาโนที่เรียกว่า  เทคโทเดนไดรเมอร์ (tectodendrimer) มาประยุกต์ใช้ในระบบการนำส่งยาต้านหรือรักษาโรคมะเร็งภายในร่างกายผู้ป่วย  โดยการที่สามารถเข้าถึงเซลล์มะเร็งได้โดยตรง  ไม่ทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้เคียง  และมีวิธีการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากรับการรักษาด้วย 
 
          ด้วยที่เทคโทเดนไดรเมอร์มีขนาดเล็กมาก  จนสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้   และสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็นในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายหน้าที่พร้อมกันด้วยตนเอง ส่วนประกอบหลักของเทคโทเดนไดรเมอร์มี 5 ส่วนหลัก โดยชิ้นส่วนย่อยแต่ละส่วนประกอบถูกสังเคราะห์ขึ้นจากเดนไดรเมอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 5 นาโนเมตร ซึ่งแต่ละส่วนประกอบก็ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป
 

เทคโทเดนไดรเมอร์ที่มีขนาเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง
5 นาโนเมตรเท่านั้น

 

          ทำหน้าที่คัดกรองว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์มะเร็ง ชิ้นส่วนนี้สร้างขึ้นจากการเชื่อมผิวนอกของเดนไดรเมอร์ด้วยพันธะโควาเลนต์  เข้ากับโมเลกุลของสารที่สามารถจับกับจุดรับสารเฉพาะของเซลล์มะเร็งได้  ซึ่งจะทำให้เดนไดรเมอร์สามารถจับกับเซลล์มะเร็งได้อย่างเฉพาะเจาะจง

          ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยหาระยะของเซลล์มะเร็ง ชิ้นส่วนนี้สร้างขึ้นจากการเชื่อมเดนไดรเมอร์เข้ากับสารชีวโมเลกุล ที่สามารถสร้างสัญญาณได้เมื่อชิ้นส่วนนี้จับกับโปรตีนหรือสารพันธุกรรม  ที่สร้างจากเซลล์มะเร็งที่มีระยะของโรคแตกต่างกันออกไป

          ทำหน้าที่รายงานตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง ชิ้นนี้สร้างขึ้นจากการติดฉลากเดนไดรเมอร์เข้ากับสารเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ หรือเคลือบเดนไดรเมอร์เข้ากับอนุภาคทึบอิเล็กตรอนที่สามารถเห็นได้ด้วยเครื่อง STM ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถทำให้มองเห็นเซลล์มะเร็งและหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างชัดเจน

          ทำหน้าที่ปล่อยยาต้านมะเร็งในปริมาณที่พอเหมาะเข้าสู่เซลล์มะเร็งโดยตรง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็ง ชิ้นส่วนนี้สร้างจากเดนไดรเมอร์ที่ออกแบบให้สามารถบรรทุกยาต้านมะเร็ง และสามารถปลดปล่อยยาต้านมะเร็งเข้าสู่เซลล์มะเร็งได้โดยอัตโนมัติ

          ทำหน้าที่รายงานความสำเร็จที่ได้จากการรักษามะเร็ง ชิ้นส่วนนี้สร้างขึ้นจากเดนไดรเมอร์ที่เชื่อมต่อกับนาโนเซ็นเซอร์  ที่สามารถตรวจจับสัญญาณการตายของเซลล์มะเร็งได้ โดยอาศัยการตรวจวัดปริมาณเอนไซม์ที่ถูกสร้าง  และปล่อยออกมาปริมาณมากในช่วงการทำลายตัวเองของเซลล์มะเร็ง

          หลังจากนั้นก็นำชิ้นส่วนทั้ง 5 ส่วนประกอบมาประกอบเข้าด้วยกัน   ชิ้นส่วนที่ถูกประกอบขึ้นนี้ก็คือ  เทคโทเดนไดรเมอร์นั่นเอง