ระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamics
systems) |
|
เราทราบมาแล้วว่า
ระบบ (system) คือส่วนของบริเวณหรือสสารที่เรากำลังศึกษาซึ่งถูกแยกออกจากสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น เครื่องกลเครื่องหนึ่ง น้ำยาทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ
หรือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ล้วนสามารถเป็นระบบได้ ระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์จะเป็นระบบที่สามารถมีอันตรกิริยาและแลกเปลี่ยนพลังงานกับสิ่งแวดล้อมได้
การแลกเปลี่ยนพลังงานอาจเกิดจากการทำงาน (mechanical work) หรือโดยการส่งผ่าน(พลังงาน)ความร้อน
(heat transfer)
ตัวอย่างเช่นการอบข้าวโพดในหม้อที่ปิดฝา
เมื่อเรานำเมล็ดข้าวโพดใส่หม้อปิดฝาแล้วตั้งไฟ พลังงานจะถูกส่งผ่านไปให้ข้าวโพดโดยการนำความร้อน
เมื่อข้าวโพดขยายตัวมันจะทำงานออกแรงดันฝาให้เปิดออกได้ สภาวะ (state)
ของข้าวโพดมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนี้ เพราะปริมาตร อุณหภูมิและความดันของข้าวโพดต่างก็เปลี่ยนแปลง
กระบวนการที่มีการเปลี่ยนสภาวะของระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ เรียกว่า
กระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamic
process)
ในการบอกระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์
เราจะต้องกำหนดให้แน่นอนว่าอะไรอยู่และอะไรไม่อยู่ในระบบบ้าง เราจึงจะสามารถบรรยายการส่งผ่านพลังงานเข้าและออกได้อย่างถูกต้อง
สำหรับตัวอย่างข้างต้น ระบบคือข้าวโพด ไม่รวมหม้อ ฝาหม้อ หรือเตาไฟ
เครื่องหมายสำหรับความร้อนและงานในเทอร์โมไดนามิกส์
เราบรรยายความสัมพันธ์ของพลังงานในกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ใด
ๆ ในรูปของปริมาณความร้อนที่ให้กับระบบ และงาน ที่ทำต่อระบบ
ค่า
และ
อาจมีค่าเป็นบวก ลบ หรือศูนย์ได้ ดังนี้
เป็นบวก สำหรับปริมาณความร้อนที่ไหลเข้าสู่ระบบ
เป็นลบ สำหรับปริมาณความร้อนที่ไหลออกจากระบบ
เป็นบวก สำหรับงานที่ทำต่อระบบ (โดยสิ่งแวดล้อม)
เป็นลบ สำหรับงานที่ทำโดยระบบ (หรือระบบทำต่อสิ่งแวดล้อม)
แนะ:
ให้มองที่ "ระบบ" เป็นหลัก เมื่อใดก็ตามที่มีใครทำอะไรให้ต่อระบบ
ค่าที่ให้นั้นจะเป็นบวก
UP
|
งานที่ทำในช่วงการเปลี่ยนปริมาตร (work done during volume
change)
|
|
ระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ง่าย
ๆ ที่เราจะใช้ศึกษาคือ gas-in-cylinder system โดยมีแก๊สบรรจุอยู่ภายในท่อทรงกระบอกปลายปิดด้านหนึ่งและมีลูกสูบอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง
ลูกสูบสามารถเลื่อนไปมาได้เพื่อใช้ในการควบคุมปริมาตรของระบบ ตัวอย่างของระบบประเภทนี้
ได้แก่ กระบอกสูบในรถยนต์หรือในเครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องอัดอากาศในตู้เย็นหรือในเครื่องปรับอากาศ
เราจะพิจารณางานที่ทำโดยระบบเมื่อระบบมีการเปลี่ยนปริมาตร
เมื่อแก๊สขยายตัวมันจะเคลื่อนที่ออกและดันขอบเขต (boundary) ของมันให้ใหญ่ขึ้น
นั่นคือแก๊ส (ระบบ) ทำงานในการออกแรงดันอันเป็นผลทำให้ปริมาตรเพิ่มขึ้น
ดังนั้นแก๊สที่กำลังขยายตัวจะทำงานเป็นลบเสมอ ผลแบบนี้เกิดขึ้นสำหรับของแข็งและของไหลเช่นกันเมื่อมันมีการขยายตัวภายใต้อิทธิพลของความดัน
เช่นข้าวโพดดังตัวอย่างที่เคยกล่าวข้างต้น
รูปที่ 10-1แก๊สบรรจุอยู่ภายในท่อทรงกระบอกซึ่งมีลูกสูบอยู่ที่ปลายด้านขวา
|
จากรูปที่
10-1สมมุติมีของไหลชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะทรงกระบอกที่ปรับปริมาตรได้โดยใช้ลูกสูบ
ถ้าทรงกระบอกมีพื้นที่หน้าตัด
และความดันที่ระบบมีต่อลูกสูบคือ
ถ้าเราต้องการจะดันลูกสูบจะต้องออกแรงอย่างน้อย
และเมื่อลูกสูบเลื่อนเข้าด้วยระยะทางน้อย
งานที่เราทำต่อระบบคือ
แต่เราทราบว่า
เมื่อ
คือปริมาตรเล็ก ๆ ของระบบที่เปลี่ยนไป เราสามารถบรรยายงานที่ทำโดยระบบในเทอมของปริมาตรเล็ก
ๆ ที่เปลี่ยนไปนี้ได้เป็น
สังเกตว่าถ้าเราทำงานให้กับระบบจะทำให้ปริมาตรของระบบลดลง
นั่นคือ eq11จะมีค่าป็นลบดังนั้นเพื่อให้งานที่เราทำมีเครื่องหมายเป็นบวก
เราจึงนิยามงานเป็น
ซึ่งสูตรนี้ใช้ได้แม้ว่าระบบจะเป็นผู้ทำงาน
เพราะถ้าระบบทำงานเองจะทำให้ปริมาตรเพิ่มขึ้น นั่นคือ
จะมีค่าเป็นบวก แต่เครื่องหมายลบจะทำให้งานเป็นลบตามที่เราเคยตกลงไว้ว่างานที่ระบบทำจะมีเครื่องหมายเป็นลบ
ถ้าระบบมีการเปลี่ยนปริมาตรจาก
เป็น
ระบบจะทำงานได้เป็น
โดยทั่วไปความดันของระบบจะแปรเปลี่ยนเมื่อมีการเปลี่ยนปริมาตร
เพื่อที่จะทำการอินทิเกรทปริมาณในสมการ (10-3) เราจะต้องรู้รูปแบบฟังก์ชันของความดันว่าแปรเปลี่ยนตามปริมาตรอย่างไร
เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ของสองปริมาณนี้โดยใช้ e-diagram
ดังตัวอย่างในรูปที่ 10-2 โดยที่ขนาดของงานที่ได้ในสมการ (10-3) คือพื้นที่ใต้กราฟ
ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ isotherm ระหว่าง กับ
รูปที่ 10-2 pV-diagram แบบต่าง ๆ |
ในรูปที่ 10-2 (ก) จะเห็นว่าระบบเปลี่ยนจากสภาวะที่ 1 ไปเป็นสภาวะที่
2 โดยมีปริมาตรเพิ่มขึ้นหรือมีการขยายตัว (expansion) งานที่ทำต่อระบบคือพื้นที่ใต้เส้นโค้ง
(ดูส่วนที่แรเงา) แต่มีเครื่องหมายเป็นลบ
ในรูปที่ 10-2 (ข) ระบบเปลี่ยนจากสภาวะที่ 1 ไปยังสภาวะที่ 2 โดยมีมีปริมาตรลดลงหรือมีการอัดตัว
(compression) งานที่สิ่งแวดล้อมทำงานต่อระบบคือพื้นที่ใต้เส้นโค้ง
(เป็นบวก)
ในรูปที่ 10-2 (ค) ความดันมีค่าคงที่ตลอดการเพิ่มปริมาตรจาก ไปเป็น
งานที่ทำให้กับระบบคือ (เครื่องหมายเป็นลบ)
ในกระบวนการใดก็ตามที่ปริมาตรคงที่ แสดงว่าไม่มีการทำงานให้กับระบบ
(งานเป็นศูนย์)
UP
|
เส้นทางการเปลี่ยนสภาวะทางเทอร์โมไดนามิกส์
(paths between thermodynamic states) |
|
เมื่อระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์มีการเปลี่ยนจากสภาวะตั้งต้นไปยังสภาวะสุดท้าย
ระบบจะต้องผ่านการเป็นสภาวะอื่น ๆ ก่อนจะเป็นสภาวะสุดท้าย เราเรียกชุดของสภาวะต่าง
ๆ ที่อยู่ระหว่างสภาวะตั้งต้นกับสุดท้ายว่า
เส้นทาง (path) ซึ่งอาจมีมากมายหลายแบบและสามารถเขียนลงบน
-diagram
ได้ ดังตัวอย่างในรูปที่ 10-3
รูปที่ 10-3 -diagram
แบบต่าง ๆ |
จุดที่
1 แทนสภาวะตั้งต้นที่มีความดัน
ปริมาตร
และจุดที่ 2 เป็นสภาวะสุดท้ายที่มีความดัน
ปริมาตร
ในการเปลี่ยนสภาวะจากจุดที่ 1 เป็นจุดที่ 2 เราอาจใช้เส้นทางต่าง ๆ
ดังนี้
ในรูปที่ 10-3 (ข) เส้นทาง 1 3
เป็นการเปลี่ยนสภาวะโดยให้ระบบมีความดันคงที่ที่
เมื่อระบบเปลี่ยนปริมาตรไปเป็น
จากนั้นก็ลดความดันลงเป็น
ไปยังจุดที่ 2 โดยให้ปริมาตรคงที่ งานที่ให้กับระบบในกระบวนการเปลี่ยนสภาวะแบบนี้คือพื้นที่ใต้เส้นตรง
1 3 มีค่าเป็น
(เป็นลบเพราะเป็นการขยายตัว) จะไม่มีงานเกิดขึ้นในกระบวนการที่ปริมาตรคงที่
3 2
ในรูปที่ 10-3 (ค) เส้นทาง 1 4
2
เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่อาจใช้ในการเปลี่ยนสภาวะของระบบโดยที่ปริมาตรเปลี่ยนไปเท่ากับเส้นทางอื่น
งานที่ทำให้กับระบบจะมีเครื่องหมายเป็นลบและมีขนาดเท่ากับพื้นที่ใต้เส้นตรง
42 เพราะไม่มีการทำงานในช่วงปริมาตรคงที่
1 4 งานมีค่าเป็น
ในรูปที่ 10-3 (ง) เส้นโค้ง 1
2
ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการเปลี่ยนสภาวะของระบบ งานที่เราต้องทำให้กับระบบทำก็จะเท่ากับพื้นที่ใต้เส้นโค้งแต่มีเครื่องหมายเป็นลบ
งานที่ทำสำหรับเส้นทางหนึ่ง
ๆ จะแตกต่างจากงานที่ทำสำหรับเส้นทางอื่น ๆ สังเกตได้จากพื้นที่ใต้กราฟในแต่ละเส้นทางจะไม่เท่ากัน
เราสรุปว่า งานที่ทำโดยระบบจะขึ้นอยู่กับสภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้าย
รวมทั้งเส้นทางที่มันใช้ในการเปลี่ยนสภาวะด้วย
นอกจากนี้เราอาจเลือกเส้นทางการเปลี่ยนสภาวะของระบบให้เป็นแบบที่เรียกว่า
closed loop เช่น
132ไ41
ดังแสดงในรูปที่ 10-3 (ก) ในกรณีนี้สภาวะสุดท้ายจะเป็นสภาวะเดียวกับสภาวะตั้งต้น
แต่งานที่ทำโดยเส้นทางแบบนี้จะไม่ใช่ศูนย์! แต่จะเท่ากับพื้นที่ที่ถูกล้อมรอบด้วย
loop บน -diagram
ลองคิดดู!
พลังงานภายใน
(internal energy) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในวิชาเทอร์โมไดนามิกส์
เราอาจให้นิยามของพลังงานภายในโดยใช้กลศาสตร์ของอนุภาคเข้าช่วย เราทราบว่าสสารใด
ๆ ประกอบด้วยอะตอมและโมเลกุล อะตอมและโมเลกุลก็ประกอบด้วยอนุภาค (particles)
ที่มีพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ เราจะเสนอว่าพลังงานภายในของระบบ
คือ ผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ทั้งหมดที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคเหล่านี้
โดยมีข้อยกเว้นว่าพลังงงานภายในไม่รวมพลังงานศักย์ที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบคือน้ำในแก้วใบหนึ่ง เมื่อเราวางแก้วน้ำไว้บนชั้นสูง
มันจะมีพลังงานศักย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากอันตรกิริยาระหว่างแก้วน้ำกับโลก
(ระบบกับสิ่งแวดล้อม) แต่มันไม่มีผลต่ออันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลของน้ำในแก้ว
ดังนั้นพลังงานภายในของน้ำจึงไม่เปลี่ยน
เราจะใช้สัญลักษณ์
แทนพลังงานภายใน
ในการเปลี่ยนสภาวะของระบบ พลังงานภายในอาจเปลี่ยนจากค่าตั้งต้น เป็นค่าสุดท้าย
การเปลี่ยนของพลังงานภายในคือ
เราทราบแล้วว่าการส่งผ่านความร้อนคือการส่งผ่านพลังงาน
ถ้าเราใส่ความร้อนปริมาณ ให้กับระบบแต่ระบบไม่ทำงาน
พลังงานภายในจะเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณเท่ากับ นั่นคือ
ถ้ามีการทำงานให้กับระบบขนาด
W พลังงานภายในจะเพิ่มขึ้นเป็น ถ้ามีทั้งการส่งผ่านความร้อนให้กับระบบและมีการทำงานต่อระบบเกิดขึ้น
ผลรวมของการเปลี่ยนพลังงานภายในคือ
สมการ
(10-5) นี้คือ กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์
ซึ่งบอกว่าโดยทั่วไปพลังงานภายในที่เปลี่ยนไปเกิดจากการส่งผ่านความร้อนและการทำงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
ในเมื่อ และ
W อาจเป็นบวก ลบหรือศูนย์ได้
ก็อาจเป็นบวก ลบหรือศูนย์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเปลี่ยนสภาวะของระบบ
สมการ
(10-5) ซึ่งแสดงกฎข้อที่หนึ่งเป็นรูปทั่วไปของกฎการอนุรักษ์พลังงานสำหรับกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์
โดยรวมเอาการส่งผ่านพลังงานในรูปของความร้อนและงานเชิงกล (mechanical
work) เข้าไว้ด้วยกัน
|
|
|
รูปที่ 10-4 ความร้อน งานและการเปลี่ยนของพลังงานภายในแบบต่าง
ๆ |
ลองพิจารณาเครื่องหมายของการเปลี่ยนของพลังงานภายใน
จากรูปที่
10-4
ในรูปที่ 10-4 (ก) พลังงานความร้อนที่ให้กับระบบมากกว่างานที่ระบบทำ
จะเป็นบวก
นั่นคือพลังงานภายในเพิ่มขึ้น
ในรูปที่ 10-4 (ข) พลังงานความร้อนไหลออกจากระบบมากกว่างานที่ทำต่อระบบ
จะเป็นลบ
นั่นคือพลังงานภายในลดลง
ในรูปที่ 10-4 (ค) พลังงานความร้อนที่ให้กับระบบเท่ากับงานที่ระบบทำ
นั่นคือพลังงานภายในไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ในตอนแรกเราให้นิยามของพลังงานภายในของระบบไว้ว่าเป็นผลรวมของพลังงานทั้งหมดที่อะตอม
และโมเลกุลของระบบมี พลังงานเหล่านั้นอาจอยู่ในรูปของพลังงานที่เกี่ยวกับสนามไฟฟ้า
สนามแม่เหล็ก หรือแม้แต่พลังงานที่เกี่ยวกับมวลจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ
การให้นิยามแบบนี้เราใช้ปริมาณเชิงจุลภาค (microscopic quantities)
มาคิด ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ เป็นไปได้ยากที่จะวัดปริมาณเหล่านี้
ดังนั้นเราจะให้นิยามของพลังงานภายในอีกแบบ โดยใช้กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ข้างต้น
นั่นคือ เราให้นิยามของการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายใน
ในช่วงการเปลี่ยนสภาวะของระบบว่า โดยนิยามนี้เราสามารถวัด
ได้
เนื่องจากเราสามารถวัด และ
W ได้ สังเกตว่านี่ไม่ใช่นิยามของ แต่เป็นนิยามของ
ปัญหาที่เกิดตามมาจากการให้นิยามแบบนี้คือ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อระบบเปลี่ยนจากสภาวะที่ 1 ไปเป็นสภาวะที่
2 โดยใช้เส้นทางที่ต่างกันสองเส้นทาง แล้ว ที่ได้จะเท่ากันสำหรับทั้งสองเส้นทาง
เพราะเราทราบแล้วว่า และ
W มีค่าขึ้นอยู่เส้นทางที่ระบบใช้ในการเปลี่ยนสภาวะ ก็ควรที่จะมีค่าขึ้นกับเส้นทางด้วยหรือไม่?
จากการทดลองพบว่า
ในขณะที่ และ
W ต่างก็ขึ้นอยู่กับเส้นทาง การเปลี่ยนของพลังงานภายในของระบบในกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ขึ้นอยู่กับสภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายเท่านั้น
จะไม่ขึ้นกับเส้นทางที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาวะ นี่เป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งสำหรับกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์
มีกรณีพิเศษ
2 กรณี ของกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ที่ควรกล่าวถึงคือ กระบวนการแบบวัฏจักร
และ ระบบโดดเดี่ยว
เนื่องจากทั้งสองกรณีให้ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
กระบวนการแบบวัฏจักร (cyclic process)
เป็นกระบวนการที่สภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายเป็นสภาวะเดียวกัน
ดังนั้นการเปลี่ยนของพลังงานภายในทั้งหมดเป็นศูนย์ นั่นคือ
และ
|
|
ซึ่งหมายถึงว่าปริมาณของงานที่ทำโดยระบบในกระบวนการแบบวัฏจักรจะเท่ากับความร้อนที่ไหลเข้าสู่ระบบ
ระบบโดดเดี่ยว (isolated system)
หมายถึงระบบที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนพลังงานและมวลสารกับสิ่งแวดล้อม
คือระบบไม่มีการทำงานต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มีความร้อนไหลเข้าหรือออกจากระบบ
จะได้ว่า และ
นั่นคือ
พลังงานภายในของระบบโดดเดี่ยวมีค่าคงที่
การเปลี่ยนสภาวะโดยที่สภาวะใหม่ต่างจากสภาวะเดิมเล็กน้อย (infinitesimal
changes of state)
ถ้าปริมาณความร้อน
ขนาดน้อย
ๆ ไหลเข้าไปในระบบ ระบบจะทำงานปริมาณ น้อย
ๆ และพลังงานภายในจะเปลี่ยนไป เล็กน้อยเช่นกัน
เราจะเขียนกฎข้อที่หนึ่งในรูปของดิฟเฟอเรนเชียล (differential form)
ได้เป็น
เราจะได้ใช้การเปลี่ยนสภาวะแบบ
infinitesimal นี้ในภายหลัง และจะใช้ ดังนั้น
|
ตัวอย่างที่10-2 |
|
ในกระบวนการเปลี่ยนสภาวะของระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ระบบหนึ่ง
พบว่าพลังงานภายในของระบบลดลง 500 J ในขณะที่มีการทำงานให้แก่ระบบ
220 J จงหาปริมาณความร้อนที่ถูกส่งผ่านในกระบวนการนี้พร้อมทั้งบอกทิศทางด้วย
วิธีทำ
(เป็นลบเพราะพลังงานภายในของระบบลดลง)
(เป็นบวกเพราะสิ่งแวดล้อมทำงานต่อระบบ)
จากกฎข้อที่
1
จะได้
เครื่องหมายลบบอกว่าความร้อนไหลออกจากระบบ
|
|