ทิศทางของกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ (directions of thermodynamics
processes) |
|
กระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์
ทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติเป็นแบบผันกลับไม่ได้ เรียกว่าเป็น
irreversible process นั่นคือกระบวนการที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทิศทางเดียว
เช่นการไหลของความร้อนจะไหลจากวัตถุที่ร้อนกว่าไปยังวัตถุที่เย็นกว่าเท่านั้น
จะไม่เป็นไปในทางกลับกัน เมื่อเราผลักหนังสือให้ไถลไปบนโต๊ะ พลังงานกลจะเปลี่ยนไปเป็นความร้อนเนื่องจากการเสียดสี
กระบวนการนี้ผันกลับไม่ได้ นั่นคือเราไม่เคยเห็นกรณีที่หนังสือหยุดนิ่งบนโต๊ะ
แล้วอยู่ดี ๆ มันก็เคลื่อนที่และทั้งโต๊ะและหนังสือเย็นลง
กระนั้นก็ตามเราอาจนึกถึงระบบที่สามารถเกิดการเปลี่ยนสภาวะแบบผันกลับได้
(reversible process) ระบบแบบนี้เป็นระบบในอุดมคติ โดยที่กระบวนการแบบผันกลับได้ของระบบแบบนี้จะใกล้เคียงกับความเป็นสมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์
(thermodynamic equilibrium) เช่น อุณหภูมิของระบบคงที่ตลอดการเปลี่ยนสภาวะ
ไม่มีการไหลเข้าหรือออกของความร้อน ไม่มีการขยายหรือหดลงของปริมาตร
นั่นคือไม่มีการทำงานเกิดขึ้น แต่หากปริมาณพวกนี้มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการแบบผันกลับได้มันจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
(infinitesimal change) จนอาจถือว่าสภาวะของระบบยังอยู่ในสมดุล ดังนั้นเราอาจเรียกกระบวนการแบบผันกลับได้ว่า
quasi-equilibrium process
ในทางตรงกันข้าม
ในกระบวนการแบบผันกลับไม่ได้ ระบบจะมีการเปลี่ยนสภาวะโดยที่ตัวแปรสภาวะมีการเปลี่นแปลงด้วยค่าที่แน่นอน
ไม่ใช่การเปลี่ยนน้อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีสภาวะที่เกิดสมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์จนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ
เราจึงอาจเรียกกระบวนการแบบผันกลับไม่ได้ว่า nonequilibrium process
ทิศทางของกระบวนการจะสัมพันธ์กับความไม่เป็นระเบียบ
(disorder หรือ randomness) ในสภาวะสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีกระดาษจำนวนหนึ่งซึ่งในแต่ละใบเขียนตัวเลขต่าง
ๆ กันไว้ ถ้าเราเรียงมันไว้ตามลำดับแล้วโยนกระดาษทั้งหมดขึ้นไป มันจะไม่ตกลงมาโดยเรียงตัวกันตามลำดับเหมือนเดิม
แต่จะลงมาแบบไม่เป็นระเบียบ ในทำนองเดียวกัน พลังงานจลน์ในระดับมหภาพ
(macroscopic kinetic energy) จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบของโมเลกุล
แต่การส่งผ่านความร้อนจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนของพลังงานของการเคลื่อนที่อย่างไม่เป็นระเบียบของโมเลกุล
ดังนั้นการเปลี่ยนรูปของพลังงานกลไปเป็นความร้อน จะมีความไม่เป็นระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในหัวข้อถัดไปเราจะได้ศึกษาถึงเครื่องจักรสองประเภท
ได้แก่เครื่องจักรความร้อน ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนความร้อนไปเป็นงาน และเครื่องทำความเย็น
ซึ่งใช้ในการถ่ายเทความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่า
UP
|
เครื่องจักรความร้อน (heat engines)
|
|
อุปกรณ์ใด
ๆ ที่สามารถเปลี่ยนความร้อนส่วนหนึ่งไปเป็นงานหรือพลังงานกล จะเรียกว่า
เครื่องจักรความร้อน (heat engine)
โดยมากสสารปริมาณหนึ่งในเครื่องจักรที่ได้รับหรือสูญเสีย
ความร้อนจะมีการขยายหรือหดตัว และบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนสถานะ เราเรียกสสารนี้ว่า
working substance ของเครื่องจักร
ในเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายใน (internal-combustion engines) working
substance คือส่วนผสมของอากาศกับน้ำมัน ในเครื่องจักรไอน้ำ (steam
engines) working substance คือน้ำ
เครื่องจักรอย่างง่ายที่สุดที่เราจะพิจารณาคือเครื่องจักรที่
working substance ของมันมีกระบวนการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร ซึ่งคือชุดของกระบวนการที่
working substance ในสภาวะสุดท้ายจะอยู่ในสภาวะเดียวกับสภาวะตั้งต้น
ในเครื่องจักรไอน้ำ น้ำที่ใช้จะถูกนำมาใช้อีกเรื่อย ๆ ส่วนเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายในจะไม่ใช้อากาศเดิมตลอดแต่เรายังสามารถทำการวิเคราะห์โดยประมาณว่ามันเปลี่ยนสภาวะเป็นแบบวัฏจักรได้
เครื่องจักรความร้อนทุก
ๆ เครื่องจะได้รับ (absorb) ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูง เสร็จแล้วมันจะทำงานกลและปล่อย
(discard หรือ reject) ความร้อนส่วนหนึ่งไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
ซึ่งความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ถือว่าเป็นความร้อนที่เครื่องจักรสูญเสียไป
(wasted)
เมื่อเครื่องจักร(ระบบ)มีการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร
พลังงานภายในของระบบที่สภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายจะเท่ากัน จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์
จะได้
ดังนั้น |
|
ดังนั้นความร้อนสุทธิที่ไหลเข้าไปในเครื่องจักรจะเท่ากับงานสุทธิที่เครื่องจักรทำ
ในการวิเคราะห์เครื่องจักรความร้อน เราจะนึกถึงวัตถุสองอันที่มาทำอันตรกิริยากับเครื่องจักร
อันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิสูง
(hot reservoir) ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความร้อนแก่เครื่องจักร
มันสามารถให้ความร้อนปริมาณมาก ๆ แก่ working substance ที่อุณหภูมิ
คงที่
และอุณหภูมิของมันเองไม่เปลี่ยน วัตถุอีกอันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำ
(cold reservoir) (หรือแหล่งความเย็น) ซึ่งสามารถดูดรับความร้อนปริมาณมาก
ๆ ที่เครื่องจักรปล่อยออกมาที่อุณหภูมิคงที่ที่ต่ำกว่า ในเครื่องจักรไอน้ำ
เปลวไฟและแก๊สที่ร้อนในเครื่องต้มจะเป็น hot reservoir ส่วนน้ำเย็นและอากาศที่ใช้ในการควบแน่นให้ไอน้ำที่ใช้แล้วเย็นลง
เป็น cold reservoir
ให้ปริมาณความร้อนที่มีการส่งผ่านกับ
hot reservoir และ cold reservoir แทนด้วย และ
ตามลำดับ
ปริมาณความร้อน เป็นบวกเมื่อมันไหลเข้าสู่
working substance และเป็นลบเมื่อมันไหลออกจาก working substance
หมายเหตุ
ทั้ง และ จะเป็นขนาดของความร้อนซึ่งมีค่าเป็นบวก
ในกรณีที่ระบบคายความร้อนที่ต้องเป็นลบจะใช้
รูปที่ 10-8 แผนภาพการถ่ายเทพลังงานสำหรับเครื่องจักรความร้อน |
เราจะพิจารณาการเปลี่ยนรูปของพลังงานโดยใช้แผนภาพการถ่ายเทพลังงาน
(energy-flow diagram) ดังรูปที่ 10-8 วงกลมในรูปแทนเครื่องจักรความร้อน
ขนาดของปริมาณความร้อน ที่เครื่องจักรได้รับจาก
hot reservoir แสดงได้ด้วยขนาดของ ท่อ ที่ต่อจาก hot reservoir ไปยังเครื่องจักรความร้อน
และขนาดของ ท่อ ที่ต่อระหว่างเครื่องจักรความร้อนกับ cold reservoir
บอกถึงขนาดของปริมาณความร้อน ที่เครื่องจักรความร้อนปล่อยออกมา
และ ท่อ ทางด้านขวาแทนส่วนของความร้อนที่เครื่องจักรเปลี่ยนไปเป็นงาน
W
ในหนึ่งรอบของการทำงานของเครื่องจักรความร้อน
และ
เป็นปริมาณความร้อนที่มันได้รับและสูญเสียไปตามลำดับ
ดังนั้นความร้อนสุทธิที่เครื่องจักรได้รับในหนึ่งรอบของการทำงานคือ
เครื่องจักรได้รับความร้อนนี้แล้วนำไปใช้ในการทำงาน
งานสุทธิที่ทำโดย working substance ในเครื่องจักรหาได้จากกฎข้อที่หนึ่ง
จะได้
ในเครื่องจักรความร้อน
ดังนั้น
ในสมการ
(10-32) มีค่าเป็นลบ แสดงถึงงานที่ระบบทำ
ในการพิจารณาเกี่ยวกับงานที่ระบบทำและต้องพบกับงานที่มีค่าเป็นลบ
อาจจะทำให้สับสนได้และนี่เป็นจุดอ่อนอันหนึ่งของการใช้ข้อตกลงที่ว่างานที่ทำให้กับระบบเป็นบวก
ส่วนงานที่ระบบทำต่อสิ่งแวดล้อมมีค่าเป็นลบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อสับสนนี้ในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องจักรความร้อน
เราจะสนใจเฉพาะขนาดของความร้อนและขนาดของงานโดยไม่คิดเครื่องหมาย
เราจึงจะพิจารณา ,
และ
ซึ่งจะไม่เคยเป็นลบเลย
ย้อนกลับมาพิจารณาสมการ
(10-63) ที่ว่า ซึ่งสามารถเขียนใหม่ได้เป็น
(สำหรับเครื่องจักรความร้อน) |
(10-33) |
สมการนี้แสดงให้เห็นว่าถ้าเราต้องการได้งานมาก
ๆ จากเครื่องจักรความร้อนเราต้องพยายามเปลี่ยน ให้เป็น
โดยสูญเสียไปเป็น
ให้น้อยที่สุด
ถ้าเป็นไปได้เราอยากที่จะเปลี่ยนความร้อน ทั้งหมดให้เป็นงาน
ในกรณีนั้นเราจะได้
และ
แต่นี่เป็นงานในอุดมคติ
ในความเป็นจริงมักจะมีการสูญเสียความร้อนเสมอ นั่นคือ ไม่เคยเป็นศูนย์
เราให้นิยาม
ประสิทธิภาพอุณหภาพ (thermal efficiency) :
e ของเครื่องจักรความร้อน ว่าเป็นอัตราส่วนระหว่างขนาดของงานที่เครื่องจักรทำได้จริงต่อความร้อนที่เครื่องจักรได้รับ
นั่นคือ
e
ไม่มีหน่วยเนื่องจากเป็นอัตราส่วนของพลังงานด้วยกัน
เราสามารถคิดว่าเครื่องทำความเย็น
(refrigerator) คือเครื่องจักรความร้อนที่ทำงานแบบผันกลับ เครื่องจักรความร้อนรับเอาความร้อนจากที่ร้อนกว่าแล้วคายความร้อนออกไปในที่ที่เย็นกว่า
เครื่องทำความเย็นจะทำตรงกันข้าม มันจะรับความร้อนจากที่ที่เย็นกว่า
(ซึ่งคือภายในตัวเครื่องทำความเย็นเอง) แล้วปล่อยความร้อนออกในที่ที่ร้อนกว่า
(ปกติจะเป็นอากาศในห้องที่มีเครื่องทำความเย็นตั้งอยู่)
เครื่องจักรอย่างง่ายที่สุดที่เราจะพิจารณาคือเครื่องจักรที่
working substance ของมันมีกระบวนการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร ซึ่งคือชุดของกระบวนการที่
working substance ในสภาวะสุดท้ายจะอยู่ในสภาวะเดียวกับสภาวะตั้งต้น
ในเครื่องจักรไอน้ำ น้ำที่ใช้จะถูกนำมาใช้อีกเรื่อย ๆ ส่วนเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายในจะไม่ใช้อากาศเดิมตลอดแต่เรายังสามารถทำการวิเคราะห์โดยประมาณว่ามันเปลี่ยนสภาวะเป็นแบบวัฏจักรได้
เครื่องจักรความร้อนทุก
ๆ เครื่องจะได้รับ (absorb) ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูง เสร็จแล้วมันจะทำงานกลและปล่อย
(discard หรือ reject) ความร้อนส่วนหนึ่งไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
ซึ่งความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ถือว่าเป็นความร้อนที่เครื่องจักรสูญเสียไป
(wasted)
เมื่อเครื่องจักร(ระบบ)มีการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร
พลังงานภายในของระบบที่สภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายจะเท่ากัน จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์
จะได้
ดังนั้น |
|
ดังนั้นความร้อนสุทธิที่ไหลเข้าไปในเครื่องจักร
จะเท่ากับงานสุทธิที่เครื่องจักรทำ ในการวิเคราะห์เครื่องจักรความร้อน
เราจะนึกถึงวัตถุสองอันที่มาทำอันตรกิริยากับเครื่องจักร อันหนึ่งคือ
แหล่งความร้อนอุณหภูมิสูง (hot reservoir)
ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความร้อนแก่เครื่องจักร มันสามารถให้ความร้อนปริมาณมาก
ๆ แก่ working substance ที่อุณหภูมิ คงที่
และอุณหภูมิของมันเองไม่เปลี่ยน วัตถุอีกอันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำ
(cold reservoir) (หรือแหล่งความเย็น) ซึ่งสามารถดูดรับความร้อนปริมาณมาก
ๆ ที่เครื่องจักรปล่อยออกมาที่อุณหภูมิคงที่ที่ต่ำกว่า ในเครื่องจักรไอน้ำ
เปลวไฟและแก๊สที่ร้อนในเครื่องต้มจะเป็น hot reservoir ส่วนน้ำเย็น
และอากาศที่ใช้ในการควบแน่นให้ไอน้ำที่ใช้แล้วเย็นลง เป็น cold reservoir
ให้ปริมาณความร้อนที่มีการส่งผ่านกับ
hot reservoir และ cold reservoir แทนด้วย และ
ตามลำดับ
ปริมาณความร้อน เป็นบวกเมื่อมันไหลเข้าสู่
working substance และเป็นลบเมื่อมันไหลออกจาก working substance
หมายเหตุ
ทั้ง และ จะเป็นขนาดของความร้อนซึ่งมีค่าเป็นบวก
ในกรณีที่ระบบคายความร้อนที่ต้องเป็นลบจะใช้
รูปที่ 10-9 แผนภาพการถ่ายเทพลังงานสำหรับเครื่องทำความเย็น |
เครื่องจักรความร้อนให้งานกลสุทธิอออกมา
แต่เครื่องทำความเย็นต้องการงานกลสุทธิ จากแผนภาพของเครื่องทำความเย็น
ดังแสดงในรูปที่ 10-9 จะเห็นว่าเครื่องทำความเย็นได้รับความร้อนปริมาณ
จาก
cold reservoir แล้วปล่อยความร้อนปริมาณ ให้แก่
hot reservoir ดังนั้นในหนึ่งรอบของการทำงาน ความร้อนที่เครื่องทำความเย็นได้รับคือ
และจากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์
สำหรับกระบวนการแบบวัฎจักรของเครื่องทำความเย็น จะได้ว่า
เนื่องจากความร้อน
ที่ออกมาจาก
working substance และให้กับ hot reservoir จะมากกว่าความร้อน ที่ได้รับจาก
cold reservoir เสมอ ดังนั้นงานในสมการ (10-35) จะมีค่าเป็นบวก ซึ่งแสดงถึงงานที่สิ่งแวดล้อมทำต่อระบบ
ประสิทธิภาพของการทำงานของเครื่องทำความเย็นจะดีที่สุดหากมันสามารถเอาความร้อน
ปริมาณมาก ๆ ออกมาจากภายในเครื่องจักรได้ โดยที่เราทำงานให้กับระบบน้อยที่สุด
อัตราส่วนที่ต้องพิจารณาจึงเป็น ยิ่งอัตราส่วนมีค่ามาก
ประสิทธิภาพของเครื่องจักรก็จะยิ่งดี เราเรียกอัตราส่วนนี้ว่า สัมประสิทธิ์ของการทำงาน
(coefficient of performance) เขียนแทนด้วย
จากสมการ (10-35) จะได้ |
(10-36) |
โดยปกติความร้อนไหลจากที่ที่ร้อนกว่าไปยังที่ที่เย็นกว่า
ถ้าเราต้องการทำให้กระบวนการนี้ผันกลับดังเครื่องทำความเย็น เราจะต้องให้งานกับระบบ
มันจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างเครื่องทำความเย็นซึ่งนำความร้อนจากที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าโดยไม่มีการให้งานเข้าไป
ถ้าไม่ต้องให้งานเข้าไปเลย ค่าสัมประสิทธิ์ของการทำงานจะเป็นอนันต์
(infinite) เราเรียกอุปกรณ์แบบนี้ว่า workless refrigerator ซึ่งไม่มีจริง
ไม่มีระบบใดที่สามารถเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร
โดยดึงความร้อนจากแหล่งให้ความร้อนที่อุณหภูมิหนึ่งแล้วเปลี่ยนความร้อนทั้งหมดไปเป็นงานกล
คำอธิบายนี้เรียกว่า
engine statement ของกฎข้อที่สอง
กฎข้อที่สองไม่ได้ขัดแย้งกับกฎข้อที่หนึ่ง
นั่นคือถึงแม้ว่าในกฎข้อที่หนึ่งความร้อนที่ระบบได้รับอาจเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้
ตราบใดที่มีการอนุรักษ์ของพลังงาน กฎข้อที่สองจึงไม่ได้เป็นผลจากกฎข้อที่หนึ่ง
แต่เป็นอีกกฎหนึ่งของธรรมชาติที่แยกออกมา กฎข้อที่หนึ่งพูดถึงการไม่สูญหายไปหรือการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
แต่กฎข้อที่สองให้ข้อจำกัดต่อการใช้และการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
ในการวิเคราะห์เรื่องของเครื่องทำความเย็นในหัวข้อที่แล้ว
จะได้คำอธิบายอีกอันหนึ่งสำหรับกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ความร้อนไหลจากที่ที่ร้อนกว่าไปยังที่ที่เย็นกว่า
ไม่มีการผันกลับ แต่เครื่องทำความเย็นนำเอาความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าโดยมันต้องการพลังงานกลหรืองานจากภายนอก
เราอาจบรรยายได้ว่า
ไม่มีระบบการใดที่สามารถส่งผ่านความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าด้วยตนเองได้
เราจะเรียกคำอธิบายนี้ว่า
refrigerator statement ของกฎข้อที่สอง
|