อุณหภูมิและความร้อน (temperature and heat) |
|
อุณหภูมิเป็นสมบัติที่ใช้ในการบอก ความร้อน หรือ ความเย็น ของวัตถุ
วัตถุที่เราแตะแล้วรู้สึกว่าร้อนมักมีอุณหภูมิสูงกว่าวัตถุที่เราแตะแล้วรู้สึกว่าเย็นกว่า
ในการใช้อุณหภูมิเพื่อเป็นตัววัดความร้อนหรือความเย็นเราจะต้องสร้างเครื่องมือที่ใช้อ่านอุณหภูมิขึ้นมา
เราสามารถใช้สมบัติทางกายภาพที่วัดได้ (measurable physical property)
ของสสารที่มีค่าขึ้นกับอุณหภูมิ อันได้แก่ ปริมาตรของของเหลว ความยาวของแท่งวัตถุ
สีของไส้ตะเกียง ความต้านทานทางไฟฟ้าของเส้นลวด ความดันของแก๊สที่มีปริมาตรคงที่
หรือปริมาตรของแก๊สที่มีความดันคงที่
ในการวัดอุณหภูมิของวัตถุ
เราจะต้องนำเครื่องวัดอุณหภูมิ หรือที่เรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer)
มาสัมผัสกับวัตถุนั้น ถ้าวัตถุนั้นร้อน เทอร์มอมิเตอร์ก็จะร้อนตามวัตถุ
เมื่อค่าที่ใช้อ่านจากเทอร์มอมิเตอร์หยุดการเปลี่ยนแปลง เราก็อ่านค่านั้นซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิของวัตถุ
(และเป็นอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ด้วย) ทั้งนี้หมายถึงว่าเทอร์มอมิเตอร์กับวัตถุนั้นอยู่ในสภาวะที่สมดุล
(equilibrium condition) คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของเทอร์มอมิเตอร์และวัตถุอีกต่อไป
เนื่องจากทั้งสองร้อนเท่ากัน เราเรียกสภาวะนี้ว่า สมดุลความร้อน (thermal
equilibrium)
UP
|
กฎข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์
(the zeroth law of thermodynamics) |
|
ถ้าวัตถุ
A และวัตถุ B ต่างก็อยู่ในสมดุลความร้อนกับวัตถุ C แล้ว
วัตถุ A และวัตถุ B จะอยู่ในสมดุลความร้อนซึ่งกันและกันด้วย
|
นี่เป็นกฎซึ่งให้ความหมายของคำว่า
อุณหภูมิ โดย อุณหภูมิของระบบ คือสมบัติของระบบซึ่งบอกว่าระบบนั้นอยู่ในสมดุลความร้อนกับระบบอื่น
ๆ หรือไม่ นั่นหมายถึง ระบบสองระบบหรือวัตถุสองอันจะอยู่ในสมดุลความร้อนซึ่งกันและกันก็ต่อเมื่อมันมีอุณหภูมิเท่ากัน
หมายเหตุ:
เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า ระบบ ในภายหลัง
UP
|
เทอร์มอมิเตอร์และสเกลที่ใช้บอกอุณหภูมิ
(thermometers and temperature scales) |
|
เทอร์มอมิเตอร์แบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไปหรือในชีวิตประจำวัน
คือ liquid-in-glass tube thermometer โดยมีของเหลว เช่น ปรอท หรือเอธานอล
บรรจุอยู่ในท่อแก้วรูเล็ก (capillary tube) สมบัติของของเหลวที่เปลี่ยนตามอุณหภูมิคือความยาวของลำของเหลวในท่อ
เมื่ออุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร ์สูงขึ้น ลำของปรอทจะสูงขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของของเหลว
ในขณะที่ท่อมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย ในการอ่านค่านั้น เพื่อให้เป็นไปได้สะดวก
จะทำการขีดเส้นสเกลบนท่อ โดยตั้งว่าระดับของของเหลวที่อุณหภูมิ ณ จุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์อยู่ที่ศูนย์
และระดับที่อุณหภูมิ ณ จุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์อยู่ที่ 100 แล้วแบ่งระยะระหว่างที่สองระดับนี้ออกเป็น
100 ช่วงเท่า ๆ กัน เรียกแต่ละช่วงว่า ดีกรี (degree) สเกลที่ได้นี้จะเรียกว่าสเกลเซลเซียส
(Celsius temperature scale) (ในสมัยก่อนเรียกว่า centigrade) หน่วยที่ใช้บอกอุณหภูมิคือ
องศาเซลเซียส ตัวแปรที่ใช้แทนอุณหภูมิมักใช้ตัว
t หรือ T อุณหภูมิในสเกลเซลเซียสจะเขียนแทนด้วย โดยที่
ณ จุดเยือกแข็งของน้ำ และจุดเดือดของน้ำ
อุณหภูมิในสเกลฟาห์เรนไฮต์ (Fahrenheit temperature scale)
จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่
32 ํ F
จุดเดือดของน้ำอยู่ที่
212 ํ F
นั่นคือ จุดเยือกแข็งและจุดเดือดของน้ำจะอยู่ห่างกัน 180 degrees สำหรับอุณหภูมิในหน่วย
ฟาห์เรนไฮต์
ความสัมพันธ์ระหว่างสเกลฟาห์เรนไฮต์กับสเกลเซลเซียสคือ
อุณหภูมิในสเกลเคลวินหรือสเกลอุณหภูมิสัมบูรณ์ (Kelvin or absolute temperature
scale)
รูปที่ 9-1 การเปลี่ยนแปลงของความดันของแก๊สภายในเทอร์มอมิเตอร์แบบใช้แก๊สกับอุณหภูมิ
|
เราพบว่าถ้าเปลี่ยนชนิดของของเหลวจะต้องเปลี่ยนสเกลบนท่อด้วย
ทำให้มีความต้องการทำให้สเกลของอุณหภูมิที่ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสสาร เทอร์มอมิเตอร์ที่ทำงานแบบนี้เรียกว่าเทอร์มอมิเตอร์อุดมคติ
และที่ใกล้เคียงที่สุดคือเทอร์มอมิเตอร์แบบใช้แก๊ส (gas thermometer)
หลักการทำงานของมันคือความดันของแก๊สที่มีปริมาตรคงที่จะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ
ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างความดันของแก๊สกับอุณหภูมิ ต้องวัดความดันที่สองอุณหภูมิ
คือ ที่ และที่
จากนั้นเขียนกราฟ
ลากเส้นตรงระหว่างสองจุดนี้ เราจะสามารถใช้เส้นตรงนี้ในการอ่านค่าอุณหภูมิที่ความดันต่างๆ
ได้ (ดูรูปที่ 9-1 ประกอบ) ถ้าลากเส้นนี้ต่อออกไปเรื่อย ๆ ทางด้านองศาติดลบ
เราจะพบว่าที่ความดันเป็นศูนย์ อุณหภูมิจะมีค่า จากการทดลองพบว่าอุณหภูมิที่ได้นี้มีค่าเท่ากันเมื่อใช้แก๊สต่างชนิดกัน
(ตราบใดที่แก๊สนั้นมีความหนาแน่นน้อย ๆ) เราใช้สเกลของอุณหภูมิที่ความดันของแก๊สเป็นศูนย์เป็นสเกลใหม่
โดยกำหนดให้อุณหภูมิเป็นศูนย์ที่ความดันเป็นศูนย์ และเรียกสเกลนี้ตามชื่อนักฟิสิกส์ชาวบริทิช
Lord Kelvin (ค.ศ. 1824 1907) ว่า สเกลเคลวิน (Kelvin temperature
scale) หรืออาจเรียกว่า สเกลสัมบูรณ์ (Absolute scale) ซึ่งเป็นสเกลที่เลื่อนจากเซลเซียส
โดยที่ นั่นคือ
ดังนั้น อุณหภูมิห้องที่
เรามักใช้สเกลเคลวินในการศึกษาเรื่องเทอร์โมไดนามิกส์
ในการอ่านอุณหภูมิโดยใช้สเกลเคลวิน เราจะไม่อ่านว่า 293 องศาเคลวิน
แต่จะอ่าน 293 เคลวิน นั่นคือ ไม่มีคำว่า องศา อยู่ข้างหน้า
เราทราบจากกราฟข้างต้นว่าอุณหภูมิแปรผันตรงกับความดันของแก๊สที่ปริมาตรคงที่
นั่นคือ หรือ
เมื่อ
a คือค่าคงที่ และ T คืออุณหภูมิในสเกลเคลวิน เราจะได้ว่า
ถ้าเราเลือกให้
เป็นอุณหภูมิ
triple point ของน้ำ ซึ่งหมายถึงจุดที่น้ำมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง
ของเหลวและแก๊สอยู่ด้วยกัน จุดนี้เกิดขึ้นเมื่อน้ำมีอุณหภูมิเท่ากับ
และความดัน
610 Pa (0.006 atm) ซึ่งเป็นความดันของน้ำ ไม่ใช่ความดันของแก๊สในเทอร์มอมิเตอร์แบบใช้แก๊ส
อุณหภูมิในสเกลเคลวินสำหรับ triple point คือ (มากกว่าจุดหลอมเหลว
ของน้ำอยู่เพียงแต่มีความดันต่ำกว่ามาก) ถ้า คือความดันของแก๊สใน
เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้แก๊สที่ และ
p คือความดันของแก๊สในเทอร์มอมิเตอร์นั้น ที่อุณหภูมิ T ใด ๆ เราจะได้
|
ตัวอย่างที่ 9-1 |
|
ทองมีจุดหลอมเหลวที่
และจุดเดือดที่
ก) จงเขียนอุณหภูมิเหล่านี้ในหน่วย และ
K
ข) จงหาผลต่างระหว่างอุณหภูมิที่สองจุดนี้ในหน่วย และ
K
วิธีทำ
ก)
และ
และ
ข) ผลต่างระหว่างสองจุด
|
UP
|
การขยายตัวตามความร้อน
(thermal expansion) |
|
วัตถุโดยทั่วไปจะมีการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน
และจะหดตัวเมื่อของวัตถุนั้นถ่ายโอนความร้อนออกไป จนกระทั่งมีอุณหภูมิลดลง (ยกเว้นสารบางชนิด เช่น น้ำที่หดตัวในช่วงอุณหภูมิ
ถึง
เมื่อสูญเสียความร้อน)
การขยายตัวเชิงเส้น (linear expansion)
สมมติมีท่อนวัตถุยาว
ที่อุณหภูมิเริ่มต้น
เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
ความยาวของท่อนวัตถุเปลี่ยนไป (เพิ่มขึ้น)
จากการทดลองพบว่า ถ้า
ไม่มากนัก (น้อยกว่า )
จะแปรผันตรงกับ
ถ้ามีท่อนวัตถุประเภทเดียวกันสองท่อนและต่างก็มีอุณหภูมิเท่ากัน โดยที่ท่อนหนึ่งยาวกว่าอีกท่อนหนึ่งเป็นสองเท่า
เมื่อทั้งสองมีอุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็นปริมาณเท่ากัน ท่อนที่ยาวกว่าจะเพิ่มความยาวขึ้นเป็นสองเท่าของท่อนที่สั้นกว่า
ดังนั้น
จะแปรผันตรงกับความยาวตั้งต้น
ด้วย เราอาจเขียนเป็นสมการได้ว่า
เมื่อ
คือ สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้น (coefficient of linear expansion)
ซึ่งมีค่าต่างกันสำหรับสารแต่ละชนิด
มีหน่วยเป็น
หรือ
ถ้าวัตถุมีความยาวเริ่มต้น
ที่อุณหภูมิ
ดังนั้นความยาวใหม่
ที่อุณหภูมิ
จะได้เป็น
การขยายตัวเชิงพื้นที่ (area expansion)
จากการทดลองพบว่า
ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป
(ในปริมาณน้อยๆ) พื้นที่ที่เปลี่ยนไป
จะแปรผันตรงกับ
และพื้นที่ตั้งต้น ดังนี้
เมื่อ
คือ สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงพื้นที่ (coefficient of area expansion)
สำหรับของแข็งแบบไอโซทรอปิก (isotropic) นั่นคือของแข็งที่ขยายตัวในทุกทิศเหมือนกันหมด
จะได้ว่า
การขยายตัวเชิงปริมาตร (volume expansion)
โดยมากทั้งของแข็งและของเหลวจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับการขยายตัวเชิงเส้นและเชิงพื้นที่ ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไปไม่มากนัก
ปริมาตรที่เพิ่มขึ้น
จะแปรผันตรงกับ
และปริมาตรตั้งต้น
เมื่อ
คือ สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงปริมาตร (coefficient of volume expansion)
สำหรับสสารแบบไอโซทรอปิก คืออัตราการขยายตัวในทิศต่าง ๆ เท่ากัน จะได้ว่า
|
ตัวอย่างที่ 9-2 |
|
แผ่นทองแดงกลมบาง
หนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น ตรงกลางแผ่นถูกเจาะเป็นรูกลม เมื่อมันถูกเผาให้ร้อนจาก
เป็น
รูตรงกลางจะใหญ่ขื้นหรือเล็กลง ทำไม
วิธีทำ
รูตรงกลางจะใหญ่ขึ้น ลองนึกดูว่าถ้าอุดรูด้วยแผ่นดิสก์ทองแดงชนิดเดียวกันหนาเท่ากัน
แล้วเผาพร้อมกันกับแผ่นวงแหวน ตัวดิสก์จะขยายออกด้วยอัตราเดียวกันกับแผ่นวงแหวน
เมื่อนำเอาดิสก์ออกก็จะพบว่ารูกลมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
UP
|
ปริมาณความร้อน
(quantity of heat) |
|
เมื่อเรานำระบบ
2 ระบบหรือวัตถุสองชนิดมาสัมผัสกันเป็นเวลานานพอ อุณหภูมิของระบบทั้งสองจะเท่ากันหรือวัตถุทั้งสองจะอยู่ในสมดุลความร้อนซึ่งกันและกัน
อันตรกิริยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคือ การส่งผ่านพลังงาน
(energy transfer) จากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ตัวพลังงานที่ถูกส่งผ่านนี้คือ
ความร้อน (heat) การส่งผ่านพลังงานความร้อนจะเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างของอุณหภูมิ
เรียกว่าการไหลของความร้อน (heat flow) หรือการส่งผ่านความร้อน (heat
transfer)
ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งถูกส่งผ่านจากระบบหนึ่ง
(ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า) ไปยังอีกระบบหนึ่ง (ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า) อันเป็นผลเนื่องจากระบบทั้งสองมีอุณหภูมิต่างกัน
ความร้อนไม่ใช่พลังงานที่มีอยู่หรือสะสมอยู่ในระบบ แต่เป็นพลังงานที่ถูกส่งผ่านระหว่างระบบ
เนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของระบบ
ปริมาณความร้อน จะมีความหมายก็ต่อเมื่อมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบที่มีอุณหภูมิต่างกันเท่านั้น
ในระบบ
SI หน่วยของความร้อนคือ จูล (Joules: J) ซึ่งเป็นหน่วยเดียวกันกับหน่วยของพลังงาน
หน่วยอื่นที่ใช้คือ แคลอรี (calorie: cal) โดยที่ปริมาณความร้อน 1 cal
คือปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก
เป็น
ที่ความดัน 1 atm
หน่วยในระบบบริทิช (British Unit) สำหรับปริมาณความร้อน คือ British
thermal unit หรือ Btu โดยที่ปริมาณความร้อน 1 Btu คือปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้น้ำซึ่งหนัก
1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก เป็น
|
ตัวอย่างที่ 9-3 |
|
เมื่อเราทำงานต้านแรงเสียดทาน
พลังงานกลจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน เช่นเมื่อเราผลักหนังสือมวล
2.4 kg ไปบนโต๊ะระดับเป็นระยะ 0.85 m ด้วยอัตราเร็วคงที่ ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างหนังสือกับโต๊ะคือ
0.25 พลังงานที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนจะเป็นกี่แคลอรี
วิธีทำ
สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ แรงที่เราให้ไปในการผลักจะเท่ากับแรงเสียดทาน
ซึ่งเป็นผลคูณระหว่างสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
กับแรงในทิศตั้งฉากกับพื้นโต๊ะ mg
งานที่เราทำในการเคลื่อนหนังสือระยะทาง d จึงเป็น
ซึ่งคิดเป็น
|
ความจุความร้อนจำเพาะ (specific heat capacity)
เราจะใช้สัญลักษณ์
แทนปริมาณความร้อน ปริมาณความร้อน
ที่ต้องใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิของสสารที่มีมวล m จากอุณหภูมิ
ไปเป็น
จะแปรผันตรงกับผลต่างของอุณหภูมิ
นอกจากนี้ปริมาณความร้อน ยังแปรผันตามมวล
m ของสสารด้วย เมื่อเราต้มน้ำหนึ่งถ้วย เราต้องใช้ความร้อนปริมาณหนึ่ง
ถ้าต้องต้ม 2 ถ้วย เราต้องใช้ปริมาณความร้อนเป็นสองเท่าในการทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเท่ากัน
ปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ขึ้นกับธรรมชาติหรือชนิดของสสารด้วย จากความสัมพันธ์ทั้งหมดนี้จะได้
เมื่อ
c คือค่าคงตัวการแปรผันที่เรียกว่า ความจุความร้อนจำเพาะ (specific
heat capacity)
ในระดับมัธยมปลายเราอาจจะเรียนว่าค่าความจุความร้อนจำเพาะเป็นค่าคงตัว
แต่ความจริงแล้วความจุความร้อนจำเพาะของสารที่แต่ละอุณหภูมิอาจจะมีค่าไม่เท่ากันก็ได้
ดังนั้นเมื่อต้องการพิจารณาค่าความจุความร้อนจำเพาะที่อุณหภูมิใดจะต้องพิจารณาช่วงอุณหภูมิที่แคบๆ
ที่เรียกว่า
และเรามักจะใช้สัญลักษณ์เป็น
จะได้
ซึ่งเป็นนิยามของความจุความร้อนจำเพาะ
(หรือ )
และ
(หรือ )
เป็นได้ทั้งบวกและลบ
และ
เป็นบวก
เมื่อมีการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ระบบและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
และ
เป็นลบ เมื่อมีการส่งผ่านความร้อนออกจากระบบและอุณหภูมิลดลง
ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำมีค่าประมาณ
หรือ
หรือ
ความจุความร้อนโมลาร์ (molar heat capacity)
บางครั้งอาจสะดวกกว่าในการบอกปริมาณของสสารโดยใช้
จำนวนโมล (mole)
แทนที่จะใช้มวล (mass) m จากวิชาเคมีเราทราบว่าหนึ่งโมลของสารบริสุทธิ์ใด
ๆ ก็คือสารบริสุทธิ์นั้นจำนวน
โมเลกุล มวลโมลาร์ (molar mass) หรือ มวลโมเลกุล (Molecular weight)
M ของสารใด ๆ คือมวลของสารหนึ่งโมล ตัวอย่างเช่น มวลโมลาร์ของน้ำคือ
หรือ
ซึ่งหมายถึงน้ำ 1 โมล จะมีมวลเท่ากับ 18.0 g หรือ 0.0180 g.
มวลสุทธิ
ของสสารจะเท่ากับมวลโมเลกุล M คูณกับจำนวนโมล
ดังนี้
แทนค่า
นี้ลงในสมการของปริมาณความร้อน (สมการ 9-11) จะได้
ผลคูณ
เรียกว่าความจุความร้อนโมลาร์ (Molar heat capacity) และเขียนแทนด้วยอักษรซีตัวใหญ่
C นั่นคือ
ซึ่งเป็นปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิของสารจำนวน
โมล
ทำนองเดียวกันกับความจุความร้อนจำเพาะ
เราสามารถเขียนความจุความร้อนโมลาร์ในรูปของความร้อนต่อโมลต่อผลต่างของอุณหภูมิได้เป็น
ตัวอย่างเช่น
ความจุความร้อนโมลาร์ของน้ำคือ
ความจุความร้อนจำเพาะและความจุความร้อนโมลาร์ของสารจะมีค่าขึ้นกับวิธีการที่เราให้ความร้อนแก่สาร
จึงอาจแบ่งความจุความร้อนเหล่านี้ออกได้เป็นสองประเภท
ความจุความร้อนที่ความดันคงที่ เขียนแทนด้วย
และ
ความจุความร้อนที่ปริมาตรคงที่ เขียนแทนด้วย
และ
UP
|
การเปลี่ยนสถานะและความร้อนแฝง
(phase changes and latent heat) |
|
คำว่า
สถานะ (phase) ใช้บอกสภาวะใด ๆ ของสาร เช่น ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส
เช่น น้ำ เมื่ออยู่ในสถานะของแข็งจะเป็นน้ำแข็ง เมื่ออยู่ในสถานะของเหลวจะเป็นน้ำ
และเมื่ออยู่ในสถานะแก๊สจะเป็นไอน้ำ การเปลี่ยนสถานะจากสถานะหนึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่ง
เรียกว่า phase change หรือ phase transition ที่ความดันหนึ่ง ๆ การเปลี่ยนสถานะเกิดขึ้น
ณ อุณหภูมิหนึ่ง (นั่นคือ อุณหภูมิไม่เปลี่ยน) โดยมากจะมีการได้รับหรือให้ความร้อนในขณะที่มีการเปลี่ยนปริมาตรหรือความหนาแน่น
ตัวอย่างที่คุ้นเคยสำหรับการเปลี่ยนสถานะคือการละลายของน้ำแข็ง
เมื่อเราให้ความร้อนแก่น้ำแข็งที่
ณ ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิของน้ำแข็งจะไม่เปลี่ยน แต่น้ำแข็งจะละลายเป็นน้ำ
ถ้าเราให้ความร้อนอย่างช้า ๆ เพื่อรักษาสมดุลความร้อน อุณหภูมิจะคงที่ที่
จนกระทั่งน้ำแข็งละลายหมด การใส่ความร้อนเข้าไปในระบบแบบนี้ไม่ใช่เพื่อเพิ่มอุณหภูมิแต่เพื่อเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของแข็งเป็นของเหลว
ความร้อนที่ใช้นี้เรียกว่า ความร้อนแฝง (latent heat)
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว (latent heat of fusion):
คือปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้สารมวล 1 kg เปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลว
นั่นคือความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้สารมวล ซึ่งมีความร้อนแฝงของการหลอมเหลว
เปลี่ยนจากของแข็งไปเป็นของเหลว คือ
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (latent heat of vaporization): eคือปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้สารมวล
1 kg เปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส นั่นคือถ้าต้องการให้สารมวล ซึ่งมีความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ
เปลี่ยนจากของเหลวไปเป็นแก๊ส จะต้องใช้ความร้อนเท่ากับ
กระบวนการเปลี่ยนสถานะข้างต้นทั้งสองสามารถย้อนกลับได้
เช่นในการทำให้น้ำที่
กลายเป็นน้ำแข็ง เราจะต้องเอาความร้อนออก ขนาดของปริมาณความร้อนที่ต้องใช้จะเท่าเดิม
แต่จะมีค่าเป็นลบ เพราะมันถูกดึงออกจากระบบไม่ใช่ให้เข้าไป ดังนั้นเราอาจเขียนว่า
ในสมการ (9-19) คือปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารมวล
โดยที่
เครื่องหมาย
+ ใช้สำหรับสารที่ละลาย (melt) และกลายเป็นไอ (vaporize)
เครื่องหมาย
- ใช้สำหรับสารที่แข็งตัว (freeze) และควบแน่น (condense)
ความร้อนแฝงทั้งสองแบบสำหรับน้ำที่ความดันบรรยากาศ
มีค่าดังนี้
การคำนวณปริมาณความร้อน (calorimetry)
เมื่อความร้อนมีการไหลจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง
โดยที่ระบบทั้งสองแยกตัวออกโดดเดี่ยว คือไม่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ปริมาณความร้อนที่ระบบหนึ่งสูญเสียไปจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่อีกระบบหนึ่งได้รับ
นี่คือหลักการอนุรักษ์พลังงาน ความร้อนคือพลังงานที่ถูกส่งผ่าน ความร้อนที่ให้กับระบบมีค่าเป็นบวก
และความร้อนที่ออกจากระบบมีค่าเป็นลบ เมื่อวัตถุต่าง ๆ มาสัมผัสกัน
ผลรวมทางพีชคณิตของปริมาณความร้อนทั้งหมดที่ถูกส่งผ่านจะมีค่าเป็นศูนย์
การวัดปริมาณความร้อนเรียกว่า Calorimetry
|
ตัวอย่างที่ 9-4 |
|
กระป๋องแคลอริมิเตอร์มวล
100 g ทำจากวัสดุที่มีความจุความร้อนจำเพาะ 1.0 cal/g
ํC บรรจุน้ำ 300
g ที่อุณหภูมิ 23 ํC ถ้าเติมน้ำแข็ง 50 g ที่
ลงไปในกระป๋องแคลอริมิเตอร์นี้ อุณหภูมิสุดท้ายของทั้งระบบจะเป็นเท่าใด
(ถ้าไม่มีการถ่ายเทความร้อนกับสิ่งแวดล้อมภายนอก)
วิธีทำ
เราจะใช้หลักการอนุรักษ์พลังงาน นั่นคือ ความร้อนที่เสีย +
ความร้อนที่ได้รับ = 0
ความร้อนที่น้ำในกระป๋องและความร้อนที่ตัวกระป๋องสูญเสีย คือ
ความร้อนที่น้ำแข็งได้รับขณะละลายและความร้อนที่น้ำแข็งที่ละลายแล้วที่
ได้รับคือ
แทนค่าลงใน
จะได้
|
UP
|
ปริมาณความร้อน
(quantity of heat) |
|
กระบวนการส่งผ่านความร้อนมี
3 วิธี คือ การนำความร้อน
(conduction) การพาความร้อน (convection)
และการแผ่รังสี (radiation)
กล่าวโดยย่อ การนำความร้อนเกิดขึ้นภายในวัตถุหรือระหว่างวัตถุ 2 ชนิดที่มาสัมผัสกัน
การพาความร้อนขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของมวล (motion of mass) จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่ง
และการแผ่รังสีความร้อนคือการส่งผ่านความร้อนโดยการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
การนำความร้อน (conduction)
ถ้าเราจับแท่งทองแดงที่ปลายหนึ่งแล้วแหย่อีกปลายหนึ่งเข้าไปในเปลวไฟ
ในที่สุดด้านที่เราจับอยู่จะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าด้านที่เราจับไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับเปลวไฟ
ความร้อนไปถึงยังด้านที่เราจับซึ่งเย็นกว่าได้โดยการนำความร้อน (conduction)
ไปตามแท่งวัตถุ การนำความร้อนเป็นผลเนื่องมาจากการชนระหว่างโมเลกุลหรืออะตอมในเนื้อสาร
(molecular collision) ดังนี้ เมื่อปลายหนึ่งของวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้น
โมเลกุลที่อยู่ปลายนั้นจะสั่นเร็วขึ้น มีพลังงานจลน์มากขึ้น โมเลกุลเหล่านี้จะไปชนและถ่ายทอดพลังงานบางส่วนให้กับโมเลกุลอื่น
ๆ ที่อยู่ถัดไปที่สั่นช้ากว่า (ในส่วนของวัตถุที่เย็นกว่า) ทำให้โมเลกุลเหล่านั้นสั่นเร็วขึ้นด้วย
การชนและการถ่ายทอดพลังงานลักษณะนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปยังโมเลกุลอื่นที่อยู่ถัดไปเรื่อย
ๆ โดยที่อะตอมหรือโมเลกุลเหล่านี้ไม่มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่ง
เพียงแต่มีการส่งผ่านพลังงาน ความร้อนจึงถูกส่งผ่านจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้
ของแข็งที่เป็นโลหะจะนำความร้อนได้ดีกว่าของแข็งชนิดอื่น
เนื่องจากโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระที่สามารถเปลี่ยนตำแหน่ง เคลื่อนที่ไปในบริเวณอื่น
ๆ ในเนื้อโลหะได้ อิเล็กตรอนเหล่านี้สามารถนำเอาพลังงานจากที่ร้อนกว่าไปยังที่เย็นกว่าได้อย่างรวดเร็ว
การส่งผ่านความร้อนเกิดขึ้นระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิต่างกันเท่านั้น
ทิศทางของการไหลของความร้อนจะต้องไปจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเสมอ
พิจารณาแท่งตัวนำความร้อนที่มีพื้นที่หน้าตัด
A และยาว L ดังแสดงในรูปที่ 9-2 ด้านซ้ายของแท่งตัวนำต่ออยู่กับแหล่งที่มีอุณหภูมิ
และด้านขวาต่ออยู่กับแหล่งที่มีอุณหภูมิ ดังนั้นความร้อนจะไหลจากซ้ายไปขวา ด้านข้างของแท่งตัวนำจะหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน
(insulator) เพื่อไม่ให้มีการไหลของความร้อนเข้าหรือออกจากแท่งตัวนำทางด้านข้าง
เมื่อปริมาณความร้อน
ถูกส่งผ่านไปตามแท่งวัตถุนี้ภายในเวลา
อัตราการไหลของความร้อนคือ
เราเรียกอัตราการไหลของความร้อนนี้ว่า กระแสความร้อน (heat current)
เขียนแทนด้วย
นั่นคือ
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า
แปรผันตามพื้นที่ตัดขวาง
ของแท่งวัตถุ และยังแปรผันตามผลต่างของอุณหภูมิ
ด้วย แต่
แปรผกผันกับความยาว
ของแท่งวัตถุ ถ้ากำหนดให้ค่าคงที่
แทน สภาพนำความร้อน (thermal conductivity) เราจะได้ว่า
หน่วยของกระแสความร้อน
คือหน่วยของพลังงานต่อหน่วยของเวลา ในระบบ SI
มีหน่วยเป็น หรือ
วัตต์ ดังนั้น
มีหน่วยเป็น
เราสามารถเขียนสมการ
(9-21) ใหม่ให้อยู่ในรูปที่ขึ้นกับ สภาพ(ความ)ต้านทานความร้อน (thermal
resistance) ดังนี้
นั่นคือ
โดยมีหน่วยในระบบ SI เป็น
การพาความร้อน (convection)
การพาความร้อนเกิดขึ้นในสสารหรือตัวกลางที่เป็นของไหล
โดยการเคลื่อนที่ของมวล (mass motion) ของของไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ตัวอย่างที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำงานของเครื่องทำความเย็นภายในบ้านหรือในรถยนต์
และการไหลของโลหิตในร่างกาย
การที่เรารู้สึกร้อนเมื่อเอามือไปอังเตาไฟ
เพราะว่าอากาศที่อยู่เหนือเตาไฟได้รับความร้อน ทำให้มีการขยายตัวแล้วความหนาแน่นจะลดลง
อากาศร้อนนี้จึงลอยตัวสูงขึ้น (ตามหลักของการลอยตัว) โมเลกุลของอากาศที่ได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นนี้จะ
พา ความร้อนไปด้วย เมื่อมันมากระทบมือก็จะถ่ายเทความร้อนให้แก่มือ
ทำให้รู้สึกร้อน
ถ้าการเคลื่อนที่ของของไหลเกิดขึ้นโดยถูกบังคับ
เช่นใช้เครื่องเป่าหรือปั๊ม จะเรียกว่า การพาความร้อนอย่างไม่อิสระ
(forced convection) ถ้าการเคลื่อนที่ของของไหลเกิดจากผลต่างของความหนาแน่นเนื่องจากการขยายตัวตามความร้อน
(thermal expansion) จะเรียกว่า natural convection หรือ การ พาความร้อนอย่างอิสระ
(free convection) การพาความร้อนอย่างอิสระในอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดสภาพอากาศในแต่ละวัน
และการพาความร้อนในมหาสมุทรมีความสำคัญต่อกระบวนการส่งผ่านความร้อนของโลก
ในร่างกายเราตัวการสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายคือการไหลเวียนของเลือด
ซึ่งถือเป็นการพาความร้อนอย่างไม่อิสระ โดยหัวใจเป็นตัวสูบฉีดเลือดให้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอด
การแผ่รังสี (radiation)
การแผ่รังสีเป็นวิธีการส่งผ่านความร้อนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(electromagnetic waves) เช่น การแผ่รังสีของแสงที่ตามองเห็น รังสีอินฟราเรด
หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต เราได้รับความอุ่นจากรังสีจากดวงอาทิตย์และความร้อนจากถ่านที่กำลังครุกรุ่นอยู่ในกองไฟ
ความร้อนจากสิ่งเหล่านี้ที่เคลื่อนที่มาถึงตัวเราโดยมากไม่ได้เกิดจากการนำหรือการพาความร้อน
แต่เกิดจากการแผ่รังสี การแผ่รังสีเกิดได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง นั่นคือสามารถถูกส่งผ่านบริเวณที่เป็นสุญญากาศได้
(หรืออาจพูดได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวกลางในการส่งผ่านความร้อน)
วัตถุทุกชนิด
(ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ) จะแผ่รังสี (คายพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)
ออกมาในทุกช่วงความยาวคลื่น แต่จะมีความยาวคลื่นค่าหนึ่งที่พลังงานถูกแผ่ออกมามากที่สุด
เรียกว่า eq7 ซึ่งความยาวคลื่นนี้จะขึ้นกับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิของวัตถุเพิ่มขึ้น
ความยาวคลื่น eq7 จะลดลง เช่นที่ eq8 วัตถุอาจแผ่รังสีช่วงสีแดงออกมา
ทำให้เห็นวัตถุเป็นสีแดงร้อน (red-hot) ที่ eq9 วัตถุอาจกลายเป็นสีขาวที่ร้อน
(white-hot) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของพลังงานที่คายออกมากับความยาวคลื่นและอุณหภูมิของวัตถุจะเป็นดังรูปที่
9-3
รูปที่ 9-3 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานการแผ่รังสีกับความยาวคลื่น
สำหรับวัตถุชนิดหนึ่งที่อุณหภูมิต่างกันสองค่า
|
เราจะพบว่า
เมื่อ
b = Weins displacement constant =
กระแสของความร้อน
H เนื่องจากการแผ่รังสี หรืออัตราการแผ่รังสีจากผิวของวัตถุที่มีพื้นที่ผิว
A ซึ่งมีอุณหภูมิสัมบูรณ์ T จะอยู่ในรูป
เมื่อ
คือค่าคงที่
เรียกว่า Stefan-Boltzmann constant และความสัมพันธ์นี้คือกฎของ Stefan-Boltzmann
เรียกตามชื่อผู้ค้นพบ โดยที่
เราเรียก
ว่า สภาพแผ่รังสี (emissivity) ซึ่งบอกความสามารถในการแผ่รังสีของวัตถุ
ค่าของมันจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุ(และอุณหภูมิของวัตถุ) โดยที่
มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 วัตถุใด ๆ จะแผ่รังสีออกมาเพียงเศษส่วน
ของพลังงานที่ผิวของวัตถุดำแผ่ออกมา (วัตถุดำคือวัตถุที่ดูดกลืนพลังงานรังสีทั้งหมดที่ตกลงบนวัตถุ
ที่สภาวะสมดุลทางความร้อน มันจะแผ่รังสีออกมาเท่ากับที่มันดูดกลืนเข้าไป)
สภาพแผ่รังสี (emissivity)
ของวัตถุที่ดำกว่ามักจะมากกว่า
ของวัตถุที่สว่างกว่า
ของวัตถุดำจะเท่ากับ 1
วัตถุที่แผ่รังสีได้ดีมักจะดูดกลืนรังสีได้ดีด้วย
|
ตัวอย่างที่ 9-6 |
|
หลอดไฟฟ้าดวงหนึ่งปกติจะทำงานโดยมีอุณหภูมิไส้
3200 K ถ้าให้หลอดไฟดวงนี้ทำงานที่ Voltage สูงกว่าจนทำให้อุณหภูมิของไส้หลอดเพิ่มขึ้นเป็น
3400 K จงหาเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของพลังงานการแผ่รังสี
วิธีทำ
สัดส่วนการเพิ่มขึ้นของพลังงานการแผ่รังสีก็คือสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของอัตราการแผ่รังสีนั่นเอง
เราทราบว่า
หรือ
ดังนั้น
นั่นคือ
เพิ่มขึ้น 27%
|
UP
|
|