เมื่อเรากล่าวถึงแรง    อีกสิ่งหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ตามแนวคิดแบบฟิสิกส์แผนใหม่
(modern physics)  ก็คือ  อนุภาคพาหะส่งถ่ายแรง ( force carrier particles )   เนื่องจากเราเชื่อว่า แรงหรือปฏิกิริยาระหว่างอนุภาค  เกิดจากกการแลกเปลี่ยนอนุภาคพาหะส่งถ่ายแรง
                   สำหรับการแลกเปลี่ยนอนุภาคพาหะส่งถ่ายแรงนั้น เราขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น
เป็นกรณีของแรงซึ่งทำให้อนุภาคแยกออกจากกัน ดังนี้  ให้ลองสมมติว่ามีชายสองคนยืนอยู่บน
ลานน้ำแข็งและกำลังส่งลูกบาสให้กันอยู่   จะสังเกตได้ว่าเมื่อชายคนหนึ่งส่งลูกบาสให้กับอีกคน
คนที่รับลูกบาสจะเคลื่อนที่ไปเนื่องจากแรงจากลูกบาสนั้น    ที่นี้ลองคิดว่าชายสองคนนั้นคือ
อนุภาคสองอนุภาค    และลูกบาสก็คืออนุภาคพาหะส่งถ่ายแรงนั่นเอง    แต่ในความเป็นจริงเรา
ไม่สามารถมองเห็นอนุภาคพาหะส่งถ่ายแรงได้   เทียบได้กับที่เรามองไม่เห็นลูกบาสนั่นเอง สิ่งที่เราเห็นคือผลของการแลกเปลี่ยนอนุภาคเท่านั้น   ทีนี้ลองกดที่ปุ่มเพื่อให้มองไม่เห็นลูกบาสดู
นะคะ

                  

นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนอนุภาคพาหะส่งถ่ายแรง อาจเป็นผลให้อนุภาคนั้นเปลี่ยนหรือสลาย
เป็นอนุภาคชนิดอื่นก็เป็นได้

                ตารางสรุปเกี่ยวกับแรงแต่ละชนิด    เรียงตามความแรงสัมพัทธ์ (ความแรงเมื่อเทียบกับ
แรงที่แข็งแรงที่สุด)   ขอบเขต    พร้อมด้วยอนุภาคพาหะส่งถ่ายแรงของแรงนั้นๆ
ชนิดของแรง
ความแรงสัมพัทธ์
ขอบเขต
อนุภาคพาหะส่งถ่ายแรง
แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม
1
1 เฟมโตเมตร
กลูออน
แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
10-2
แปรผกผันกับ
ระยะทางกำลังสอง
โฟตอน
แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน
10-9
1 เฟมโตเมตร
w และ z โบซอน
แรงโน้มถ่วง
10-38
แปรผกผันกับ
ระยะทางกำลังสอง
แกรวิตอน

                            สำหรับการศึกษาเรื่องแรงพื้นฐานทั้ง 4  แรงนั้น นักฟิสิกส์รู้ดีว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อ
จะสร้างเป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับแรงทั้ง  4    นั้นได้ด้วยหลักการเดียวกัน   เรียกว่าเป็น  
“ ทฤษฎีเอกภาพของแรง ” (Grand Unified Theory) หรือรู้จักกันในนามของ GUT      ปัจจุบัน
เรามีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้า กับ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน นั้นเป็นแรงชนิดเดียวกัน เนื่องจากเมื่อมีพลังงานสูงๆ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนจะมีพฤติกรรมเหมือนแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
จึงเรียกว่าเป็น  “ แรงไฟฟ้าอย่างอ่อน ” (electroweak force)      และตอนนี้นักฟิสิกส์กำลังพิสูจน์
แนวคิดเกี่ยวกับ “ ทฤษฏีสตริง ”(string theory) หรือเรียกว่าทฤษฎีเส้นด้าย ที่เชื่อว่า
องค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของสสารไม่ใช่อนุภาคที่เป็นจุด เพียงจุดเดียว  แต่เป็นสิ่งที่มีความยาว
หนึ่งมิติเหมือนกับเส้นด้ายบางๆ  ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเรื่องนี้จะจบลงอย่างไรนั้นยังไม่มีใครรู้คำตอบ    และไม่แน่ว่าท่านที่กำลังอ่านอยู่ อาจจะเป็นผู้พบคำตอบนี้ก็เป็นได้