ต่อมใต้สมองแบ่งตามโครงสร้างและหน้าที่ออกเป็น
2 ส่วน คือ
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
(anterior pituitary) หรืออะดิโนไฮโปไฟซิส
(adenohypophysis) ประกอบด้วยส่วนที่อยู่ห่างไกลออกไป
เรียกว่าพาร์ส ดิสตาลิส (pars distalis) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของต่อม
ส่วนที่มีลักษณะเป็นท่อเรียกว่าพาร์ส
ทูเบอราลิส (pars tuberalis) และส่วนที่อยู่ตรงกลาง เรียกว่าพาร์ส
อินเทอร์มีเดีย (pars intermedia) ซึ่งไม่มีบทบาทแล้วในมนุษย์
แต่มีบทบาทในสัตว์
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
(posterior pituitary) หรือนิวโรไฮโปไฟซิส (neurohypophysis)
ประกอบด้วย มีเดียน เอมีเนนส์ (median eminence) ส่วนที่มีเส้นประสาทอยู่มากเรียกว่าพาร์สเนอโวซา
(pars nervosa) ทั้งสองส่วนเชื่อมด้วยส่วนที่สาม คือก้านอินฟันดิบิวลัม
(infundibulum) ซึ่งถ้าเป็นภาพสามมิติจะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายกรวย
1.การควบคุมแบบย้อนกลับ
คือ การที่ฮอร์โมนที่มีปริมาณมากเกินไปยับยั้งการหลั่งของตัวเอง
หรือไปยับยั้งฮอร์โมนตัวอื่น ที่มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนนั้น
โดยวิธีทางตรงหรือวิธีทางอ้อม เช่นไทโรโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน
(TRH) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมอง ส่วนหน้าให้หลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน
(TSH) ออกมาแล้วฮอร์โมนนี้ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน
(T3หรือ T4) เมื่อไทรอย์ฮอร์โมนมีระดับที่สูงแล้วจะไปยับยั้งการสร้างของ
TSH หรือไปยับยั้งการสร้าง TRH
|
การควบคุมแบบย้อนกลับของการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน
|
2.
การควบคุมทางระบบประสาท คือ การควบคุมจากระบบประสาท
เมื่อระบบประสาทถูกกระตุ้นจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนทันที เช่น
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ถ้ามีการกระตุ้นระบบประสาทจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการหลั่งของฮอร์โมนอื่นหรือรีลิสซิง
แฟคเตอร์ (releasing factor) หรือฮอร์โมนที่ยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนอื่นหรืออินฮิบิทิง
แฟคเตอร์ (inhibiting factor) จากสมองส่วนไฮโพทาลามัส เข้าสู่กระแสเลือด
แล้วสารเหล่านี้ไปกระตุ้น หรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อมใต้สมองมาจากเส้นเลือดแดง
(internal carotid arteries) 3 เส้น คือซูพีเรียไฮโพไฟเซียล
(superior hypophyseal arteries) มาที่มีเดียน เอมิเนนส์ (median
eminence) แล้วไปตามเส้นเลือดพอร์ทัลแบบยาวที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ได้รับเลือดมาจากเส้นเลือดแดงชื่อมิดเดิลและอินฟีเรียไฮโพไพเซียล
(middle และ inferior hypophyseal arteries)
|
เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อมใต้สมองส่วนหน้า |
ความผิดปกติของฮอร์โมนมักเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนนั้นมากเกินไปหรือหลั่งฮอร์โมนนั้นน้อยเกินไปโดยมีปัจจัยต่างๆ
มาทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ
-
การมีฮอร์โมนน้อยเกินไป
อาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
ไปกดเบียดทำให้เซลล์ของต่อมทำงาน หรือผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง
- การมีฮอร์โมนมากเกินไป
อาจเกิดจากเนื้องอกของเซลล์ต่างๆ
เช่น โซมาโตโทรฟ ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้เกิด การเจริญของร่างกายใหญ่โตผิดปกติ
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องโกรทฮอร์โมน)
-
การรักษา
ในปัจจุบันนิยมการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองออกโดยการผ่าตัดผ่านทางจมูกไปที่กระดูกสฟีนอยด์
(transphenoidal surgery) เพื่อนำเนื้องอกออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เล็ก
ไม่ต้องพักฟื้นนาน ไม่ต้องผ่าตัดโดยการ ผ่ากระโหลกศีรษะ ให้กระทบกระเทือนเป็นอันตรายต่อเส้นประสาท
เส้นเลือดและเนื้อสมองอื่นๆ
การผ่าตัดนำเอาเนื้องอกของต่อมใต้สมองออกโดยการใช้เครื่องมือผ่านทางจมูก
ผ่านไปทางกระดูกสฟีนอยด์ไปที่เนื้องอก ตัดเนื้องอก แล้วนำเนื้องอกออกมา
ทั้งหมดต้องทำผ่านกล้องขยาย
|