ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (pars intermedia หรือ Intermediate lobe) ส่วนใหญ่ในมนุษย์ต่อมนี้ไม่ทำงาน ฝ่อไปแล้ว แต่ในสัตว์พบว่าต่อมใต้สมองส่วนกลาง และคอร์ติโคโทรฟ (corticotroph) ของต่อมใต้สมองส่วนหน้าสามารถสร้างโมเลกุลตั้งต้น ซึ่งถูกตัด (cleaved) เป็นฮอร์โมนได้หลายตัว รู้จักในชื่อโพรโอพิโอเมลาโนคอร์ติน (proopiomelanocortin เรียกย่อว่า POMC ) และสร้างได้ที่ไฮโพทาลามัส ปอด กระเพาะ ลำไส้ และรก

     ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง คือ เมลาโนไซท์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (melanocyte stimulating hormone เรียกย่อว่าMSH) สร้างจากเซลล์เมลาโนไซท์ (melanotropic cell)  
ในพาร์สอินเตอร์มีเดียของต่อมใต้สมอง เป็นพอลิเปปไทด์ฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 35 - 41 หน่วย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment ) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจาย ของเมลานิน (melanin) ในเมลาโนไซท์ (melanocyte ) ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ

     มีบางรายงานได้กล่าวถึงบทบาทของMSH ว่ากดความรู้สึกเจริญอาหารในสมอง   โดยพบว่าผู้ที่อ้วนมากๆ จะมีการผ่าเหล่าหรือมีสารพันธุกรรมที่สร้างMSH เปลี่ยนไป ส่วนหน้าที่อื่นๆยังไม่ทราบแน่ชัด
และเนื่องจากในมนุษย์ต่อมใต้สมองส่วนนี้ฝ่อไปแล้ว ดังนั้น MSHที่ตรวจได้จึงเป็นเปปไทด์ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ได้จากการสลาย ACTH

     ในเซลล์คอร์ทิโคโทรฟ ( corticotroph) การสังเคราะห์ POMC จะถูกเปลี่ยนเป็น ACTH และเบตาไลโปโทรฟิน ( β- lipotrophin : β -LPH) และบางส่วนของเบตา เอนดอร์ฟิน (β – endorphin) มีฤทธิ์เป็นสารกล่อมประสาท และมีการสร้างเมลาโนโทรปิน แอลฟา (melanotropins a)และ เบตา เอ็ม เอส เอซ ( β MSH) ทั้งα -MSH และ β- MSH ไม่พบในมนุษย์

 

 

การควบคุมสีผิว (control of skin coloration)

      ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เปลี่ยนสีผิวเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย พรางตา และแสดงการดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่หรือขับเม็ดสีดำ หรือน้ำตาล เล็กๆออก หรือเข้าไปในเซลล์ที่เรียกว่า เมลาโนฟอร์ (melanophore) สารเม็ดเล็กๆนี้เรียกว่าสารมีสีดำหรือเมลานิน (melanin) สร้างจากโดปา (dopa) และโดปาควินโนน (dopaquinone) การเคลื่อนที่ของสารมีสีเล็กๆนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน และสารสื่อประสาทหลายชนิดได้แก่ α-MSH, β - MSH, เมลาโทนิน และแคททีโคลามีน

      สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีเมลาโนฟอร์ (melanophore) ที่จะมารวมกัน หรือกระจายออกไปได้เหมือนสัตว์เหล่านี้ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีเซลล์ เมลาโนไซท์ (melanocyte) ซึ่งสร้างเมลานินได้ พบว่าการให้ MSH ในผู้ป่วยจะกระตุ้นการสร้างเมลานิน ซึ่งทำให้ผิวเข้มขึ้นได้ใน 24 ช.ม. แม้ว่า α- MSH และ β - MSH จะใช้ไม่ได้ในมนุษย์ แต่เมลาโนไซท์ จะมีเมลาโนโทรบินซึ่ง ACTH จะสามารถจับกับตัวรับนี้และกระตุ้นให้ผิวเข้มขึ้นได้

 

การมีสีผิวเข้มขึ้นในมนุษย์

      การเปลี่ยนสีผิวที่เกิดจากโรคทางต่อมไร้ท่อในมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการไหลเวียนของ ACTH ถ้าผิวซีดมักเกิดจากการทำงานของไฮโพทาลามัสน้อย ถ้าผิวเข้มมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคของต่อมหมวกไตทำงานน้อย

      นอกจากนี้พบว่าผิวหนังเป็นแหล่งผลิต ACTH และ MSH จากโมเลกุลของPOMC ที่สำคัญ

      ฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อรากขน (hair follicles) ต่อมน้ำมัน (sebaceous glands) และระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

 

เคยเห็นคนผิวเผือกหรือไม่ สาเหตุเป็นเพราะอะไร?

       ผิวเผือกหรือเอาไบโน (albino) พบได้ในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวเผือกหลายชนิด เกิดจากภาวะที่ไม่สามารถสร้างเมลานินตั้งแต่เกิด อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมักเกิดจากการผิดพลาดหรือการผ่าเหล่าของการสร้างเมลานินผิวเผือกมี 2 ประเภท ือ

        ไพบอลดิซึม (piebaldism) เป็นผิวเผือกที่เกิดตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา เนื่องจากเซลล์ เม็ดสีออกจากเซลล์ที่เจริญไปเป็นระบบประสาท (neural crest) ในระยะตัวอ่อน ซึ่งภาวะนี้สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้  ส่วนไวทิลิโก ( vitiligo) เป็นผิวเผือกที่เกิดจากสาเหตุเดียวกันแต่มีอาการภายหลังการคลอดแล้ว

ทารกที่ไม่สามารถสร้างเมลานินตั้งแต่เกิด (piebaldism)

 

ผู้ไหญ่ที่ไม่สามารถสร้างเมลานินได้ (vitiligo)

 

     การสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment ) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจายของเมลานิน (melanin) ในเมลาโนไซท์ (melanocyte ) ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ

       

        การหลั่ง MSH ถูกกระตุ้นโดยเมนาโนไซท์ สติมิวเลติงฮอร์โมนรีลีสซิงแฟคเตอร์ (melanocyte stimulating hormone releasing factor : MSH-RF)ถูกยับยั้งโดยเมนาโนไซท์ สติมิวเลติงฮอร์โมนอินฮิบิติงแฟคเตอร์ (melanocyte stimulating hormone inhibiting factor : MSH-IF)