ต่อมใต้สมองส่วนหลังเจริญมาจากที่เดียวกันกับต่อมใต้สมองส่วนหน้าหรือไม่ ?

      ต่อมใต้สมองส่วนหลังเจริญมาจากเนื้อเยื่อประสาท (ต่อมใต้สมองส่วนหน้าเจริญมาจากเพดานปากของตัวอ่อน) ต่อมใต้สมองส่วนหลังเป็นที่เก็บฮอร์โมนสองชนิดที่หลั่งจากไฮโพทาลามัส ฮอร์โมนนิวโรไฮโพไฟซิส (neurohypophysis : PN) เป็นที่สิ้นสุดของเส้นประสาทแอกซอน (axon) ของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ ที่ตัวเซลล์อยู่ที่ไฮโพทาลามัส คือ

       1. พาราเวนทริคิวลาร์ นิวคลีอาย (paraventricular nuclei : PVN) เซลล์ส่วนใหญ่
สร้างออกซิโทซิน   ส่วนน้อยสร้างวาโซเพรสซิน

       2. ซูพราออฟติก นิวคลีอาย (supraoptic nuclei : SON) เซลล์ส่วนใหญ่สร้างวาโซเพรสซิน  มีบางส่วนสร้างออกซิโทซิน

       ฮอร์โมนทั้งสองชนิดถูกส่งมาตามเส้นประสาทแอกซอน (axon) แล้วเก็บไว้ที่นิวโรไฮโพไฟซิส โดยจับกับโปรตีนตัวพา (carrier protein) ชื่อ นิวโรไฟซิน (neurophysin) ปลายเส้นประสาท จะไปสิ้นสุดที่นิวโรไฮโพไฟซิส เรียกว่าใยประสาท ไฮโพทาลาโม -ไฮโพไฟเซียล (hypothalamo - hypophyseal tract) บริเวณนิวโรไฮโพไฟซิส ประกอบด้วยเซลล์เรียกว่า พิทูอิไซท์ (pituicyte)

 

1   ทั้งพาราเวนทริคิวลาร์ นิวคลีอายและซูพราออฟติก นิวคลีอายในไฮโพทาลามัส มีเซลล์ประสาทที่สร้าง ทั้งวาโซเพรสซินและออกซิโทซิน  แล้วแต่ชนิดของเซลล์ประสาทในนั้นว่าจะสร้างวาโซเพรสซินหรือออกซิโทซิน

2   ฮอร์โมนจะเคลื่อนที่ตามเส้นประสาทแอกซอนมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

3   เมื่อเซลล์ประสาทได้รับการกระตุ้น ฮอร์โมนที่เก็บไว้จะถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย

 

       จากการทดลองถ้ามีการตัดต่อมใต้สมองส่วนหลังออกไปพบว่ามีอาการเบาจืดเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ถ้าตัดไฮโพทาลามัสออกไป อาการเบาจืดจะเกิดขึ้นอย่างถาวร แสดงให้เห็นว่า ต่อมใต้สมองส่วนหลังไม่ได้เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมน แต่เป็นที่เก็บฮอร์โมน ที่สร้างจากไฮโพทาลามัส  ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจะเคลื่อนที่ไปตามนิวโรซีครีทอรีเซลล์ไปที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ถ้าตัด ต่อมใต้สมองส่วนหลังออก ฮอร์โมนจะเคลื่อนที่ไปตามเเอกซอน (axon) ไปเรื่อยๆ เมื่อถูกกระตุ้นก็จะมีการหลั่งออกมา จึงทำให้อาการเบาจืดเป็นแค่ชั่วคราว

 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

 

วาโซเพรสซิน (vasopressin)

ออกซิโทซิน (oxytocin)