ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าหรืออะดิโนไฮโปไฟซีส (anterior pituitary gland หรือ adenohypophysis) เป็นโปรตีน ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ประเภทคือ

 

1. โทรปิกฮอร์โมนหรือโทรฟินฮอร์โมน (tropic หรือ trophin hormone)

2. เปปไทด์ฮอร์โมน (peptide hormone)

 

       ภาพตัดขวางตามแนวนอนของพาร์ส ดิสตาลิสของต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะพบว่าทางด้านข้างจะมีเซลล์โซมาโทรฟมากจึงมีการสร้า งโกรทฮอร์โมน (GH) มาก ตรงกลางมีเซลล์คอร์ติโคโทรฟมากจึงมีการสร้าง ACTH มาก ทางด้านหน้ามีไทโรโทรฟมาก มีการสร้าง TSH มาก ส่วนแลคโตโทรฟซึ่งสร้าง PRL และโกนาโดโทรฟซึ่งสร้าง LH และ FSH จะกระจายอยู่ทั่วไป

 

 

      ฮอร์โมนบางตัวควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอื่นๆ เรียกฮอร์โมนที่ทำงานเช่นนี้ว่า โทรปิก ฮอร์โมนได้แก่
(ปัจจุบันยังมีความสับสนระหว่างคำห้อยท้ายของคำเต็ม trophic และ tropic อยู่บ้าง รากศัพท์คำว่า tropic หมายถึงแน้วโน้ม  การหันไปสู่   การนำไปสู่ ส่วน trophic หมายถึงการหล่อเลี้ยง  การกิน    การใช้คำต่อท้ายทั้งสองคำนี้ในขณะนี้จะนิยมใช้คำว่า tropic กับฮอร์โมนเหล่านี้มากกว่า)

      1. อะดรีโนคอร์ติโคโทรปิกฮอร์โมน ( adrenocorticotropic hormone : adrenocortico trophic hormone เรียกย่อว่าACTH) สร้างจากคอร์ติโคโทรปิกเซลล์ (corticotropic cell) มีผลควบคุมการสร้างของต่อมหมวกไตส่วนนอก ( adrenal cortex) กระตุ้นให้มีการสร้าง ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์และ มิเนราโลคอร์ติคอยด์ และถ้ามีความเข้มข้นของ ACTH มากๆ จะมีผลต่ออวัยวะอื่นด้วย เช่นกระตุ้นเมลาโนไซท์ (melanocyte) หรือเซลล์มีสีทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น

      ในปัจจุบันพบว่าผิวหนังเป็นแหล่งสร้าง ACTH ด้วย ซึ่งมีผลต่อเซลล์ของสีผิว รากขน (hair follicle) และระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง(skin immune system) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังบางชนิด และอาการแพ้หรือการอักเสบจากผิวหนังที่พบเนื่องจากภาวะเครียด

                จากภาพลูกศรเส้นสีดำเต็มจะเป็นการแสดงการกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน                              ลูกศรเส้นประจะเป็นการแสดงการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน

       ฮอร์โมนคอร์ติโคโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน(corticotropin releasing hormone:CRH ) จากไฮโพทาลามัสกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน ACTH ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH จะกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล    เมื่อฮอร์โมนมีปริมาณมาก จะไปยับยั้งการสร้าง CRH

.

      2. ไทรอยด์ สติมูเลติงฮอร์โมน (thyroid stimulating hormone or thyrotropic hormone or thyrotropinเรียกย่อว่า TSH) สร้างมาจากไทโรโทรปิกเซลล์ (thyrotropic cell) เป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน

การทำงานของไทโรโทรปินรีลิสซิงฮอร์โมน(thyrotropin releasing hormone: TRH) จากไฮโพทาลามัสมากระตุ้นการหลั่งของTSH ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า TSH จะกระตุ้นการสร้าง ไทรอยด์ฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์และปริมาณของไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพียงพอแล้ว จะไปยับยั้งการสร้าง ของ TSH และTRH

 

      3. ลูทิไนซิง ฮอร์โมน (luteinizing hormone เรียกย่อว่าLH) หรืออินเตอร์สติเชียลเซลล์
สติมิวเลติงฮอร์โมน (interstitial cell stimulating hormoneเรียกย่อว่าICSH) สร้างมาจากโกนาโดโทรปิกเซลล์ (gonadotropic cell) ถูกกระตุ้นโดยโกนาโดโทรปิน รีลิสซิง ฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone เรียกย่อว่า GnRH) จากไฮโพทาลามัส ในเพศหญิงจะมีผลต่อ ฟอลลิเคิลที่สุกแล้ว ทำให้เกิดการตกไข่ (ovulation) และกระตุ้นคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) ให้สร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนในเพศชายจะกระตุ้นการสร้างแอนโดรเจน (androgen) โดยเฉพาะเทสโทสเทอโรน (testosterone)

 

      4. ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (follicle stimulating hormone เรียกย่อว่า FSH) สร้างมาจากโกนาโดโทรปิกเซลล์ (gonadotropic cell) ถูกกระตุ้นโดยโกนาโดโทรปิน รีลิสซิง ฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone GnRH) จากไฮโพทาลามัสในเพศหญิงจะไปกระตุ้น การเจริญของไข่ในรังไข่ และกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนอีสโทรเจน ในเพศชายจะกระตุ้นการสร้าง สเปิร์ม (sperm)

      การทำงานของ GnRH จากไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นการสร้างของ LH และFSH ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า  LH และFSH ควบคุมการทำงานของรังไข่และอัณฑะ และเมื่อมีการสร้างฮอร์โมนเพียงพอจะไปยับยั้งการหลั่งLH, FSH และ GnRH

      TSH, LHและ FSH เป็นฮอร์โมนประเภทไกลโคโปรตีน( glycoprotein)

 

UP

 

 

     ฮอร์โมนกลุ่มนี้ที่มีผลโดยตรงกับอวัยวะเป้าหมายอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

     1. โกรทฮอร์โมน ( growth hormone) หรือโซมาโตโทรปิน (somatotropin เรียกย่อว่า STH) สร้างจากโซมาโตโทรปิกเซลล์ (somatotropic cell) ผ่านทางโปรตีนตัวกลางคือโซมาโทมีดิน (somatomedin) ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโปรตีน

      โกรทฮอร์โมน (growth hormone) หรือโซมาโตโทรปิน (somatotropin hormone เรียกย่อว่า STH) สร้างจากโซมาโตโทรฟเซลล์ (somatotroph cell) ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

เรามาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโกรทฮอร์โมนกันดีกว่า

      โครงสร้าง

      หน้าที่

      การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน

      ความผิดปกติของฮอร์โมน

      โกรทฮอร์โมนช่วยให้นักกีฬาแข็งแรงขึ้น จริงหรือเปล่า

      โกรทฮอร์โมนชะลอความแก่ จริงไหม?

 

 

     2. โพรแลกทิน (prolactin) หรือ แมมโมโทรปิน (mamotropin) สร้างจากแมมโมโทปิกเซลล์ (mamotropic cell) หรือแลคโทโทรฟ ( lactotrophs)

         โพรแลกทิน โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีน (simple polypeptide)

 

ฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง   อวัยวะเป้าหมาย และฮอร์โมนที่หลั่งโดยอวัยวะเป้าหมาย

 

     เป็นโปรตีนสายเดียวที่โครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ199 หน่วย หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ในปีคศ. 1920ได้มีการค้นพบโพรแลกทิน โดยการใช้ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ฉีดเข้าไปในกระต่ายที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ปรากฏว่ากระต่ายมีการสร้างน้ำนมขึ้นมาได้

โครงสร้างของเต้านม

 

เรามาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโพรแลกทินกันดีกว่า

    หน้าที่

    การควบคุมการหลั่ง

    ความผิดปกติของฮอร์โมน