วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH

      ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone)

      วาโซเพรสซิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 หน่วย คล้ายกับฮอร์โมนออกซิโทซิน แต่ต่างกันอยู่เล็กน้อย ทำให้การทำงานแตกต่างกันไป ตำแหน่งที่ 8 ของวาโซเพรสซินคือกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) บางครั้งจึงเรียกว่าอาร์จินีนวาโซเพรสซิน มีสูตรโครงสร้างดังนี้

       สูตรโครงสร้างของADH และออกซิโทซินประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 หน่วย มีพันธะไดซัลไฟด์เชื่อมระหว่างกรดอะมิโน ซัสเตอีนตำแหน่งที่ 1 และ 6 จับกันเป็นวงแหวนและต่างกับออกซิโทซินตามภาพ ทำหน้าที่ในการดูดน้ำกลับที่ท่อไต และทำให้ปริมาณของปัสสาวะลดน้อยลง ทำให้ปริมาตรของเลือดในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ความดันโลหิตปกติ

 

ทำไมขณะออกกำลังกายร่างกายเราจึงปัสสาวะน้อยลง ?

     1. ทำให้สารน้ำในร่างกายปกติ

       เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง (diarrhea) ฮอร์โมน ADH จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะน้อยลง หรือเมื่อไฮโพทาลามัสรู้สึกว่าร่างกายมีความเข้มข้นของเกลือ (saltiness) มากเกินไป ร่างกายจะหลั่ง ADH มากขึ้น

     2. การเข้มข้นของสารเหลวในร่างกายปกติ

       ความเข้มข้นของสารในกระแสเลือดประเภทที่เรียกว่าออสโมลาริติ   (osmolarity) เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารโดยรวม รวมทั้งประจุโดยรวม จะส่งสัญญาณผ่านกระแสประสาทไปที่ไฮโพทาลามัส (ซึ่งรู้จักในชื่อ ออสโมรีเซฟเตอร์ (osmoreceptor)) กระตุ้นให้กระแสประสาทให้หลั่ง ADH ดังภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกระหายน้ำและการหลั่ง ADH พบว่า ADH จะหลั่งออกมาก่อนที่ร่างกายรู้สึกกระหายน้ำ

 

      ในขณะที่ร่างกายสูญเสียสารเหลวหรือเลือดในร่างกายเป็นจำนวนมาก ฮอร์โมน ADH จะหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดหดตัว เส้นเลือดแคบลงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น

 

ทำไมเช้าวันที่หลังดื่มแอลกอฮอร์ จึงรู็สึกกระหายน้ำและมึนงง ?

 

            ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไปซึ่งได้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สารเหลวในร่างกายจะเจือจางลง ฮอร์โมน ADH จะถูกหลั่งออกมาน้อยลง ไตจะขับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ความเข้มข้นปกติ การดื่มแอลกอฮอล์จะร่วมยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADHอีกด้วย ทำให้ปัสสาวะบ่อยมีผลให้สารน้ำในร่างกายต่ำ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ และกระหายน้ำได


[Patients feel very thirsty and are constantly having to pass urine.]

ผู้ป่วยเบาจืดจะรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและปัสสาวะบ่อย

 

      โรคที่พบบ่อยได้แก่ ไดอะปิทิส อินซิปิดัส (diabetes insipidus) ซึ่งเกิดจาก 2ประการดังนี้

      1. ไฮโพทาลามิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (hypothalamic diabetes insipidus) คือมีการหลั่งADH จากต่อมไฮโพทาลามัสได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่สมอง หรือการติดเชื้อ

      2. เนฟโฟจินิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (nephrogenic diabetes insipidus) เกิดจากไตไม่สามารถตอบสนองต่อADH มักเกิดจากโรคที่เกิดที่ไต   ภาวะกลายพันธุ์ (mutation) หรือการผ่าเหล่าของยีนของ ADHทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน ADH ที่ผิดปกติ ซึ่งอาการแสดงที่ปรากฏ คือมีการหลั่งปัสสาวะออกมาอย่างมาก เช่นการหลั่งปัสสาวะได้16 ลิตร/ วัน ทำให้ต้องการน้ำทดแทน อย่างมาก ซึ่งถ้าให้การทดแทนไม่เพียงพอจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

การรักษาโดยให้ ADH สังเคราะห์