ฮอร์โมนกลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการทำลายสารชีวโมเลกุล(catabolic hormone) สลายกลูโคส กรดไขมันและโปรตีนทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีผลการทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) เราสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับฮอร์โมนกลูคากอนได้ ตามหัวข้อต่อไปนี้

 

โครงสร้าง

หน้าที่

กลไกออกฤทธิ์ของกลูคากอน

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน

ความผิดปกติของฮอร์โมนกลูคากอน

 

 

 

 

       กลูคากอนประกอบด้วยพอลิเปปไทด์( polypeptide) สายเดียวมีกรดอะมิโน(amino acid) 29 หน่วย ผลิตมาจากแอลฟา เซลล์ (α cell) ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) ในตับอ่อน

กายวิภาคศาสตร์ของตับอ่อน(แอลฟาเซลล์)

 

สูตรโครงสร้างกลูคากอน

 

ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลงร่างกายจะปรับสมดุลอย่างไร?

     

 

        ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลง ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น กลูคากอนเป็นตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนของเนื้อเยื่อออกมาเป็นกลูโคส กรดไขมันและ กรดอะมิโนให้เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด

ระดับของฮอร์โมนอินซูลิน กลูคากอน ภายหลังที่รับประทานอาหาร

 

ฤทธิ์ต่อเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต

         กระตุ้นการสลายของไกลโคเจนที่เรียกว่าไกลโคจีโนไลซีส ( glycogenolysis) ในตับ เปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส และยับยั้งการเปลี่ยนกลูโคสที่ตับเป็นไกลโคเจนลดน้อยลง

การทำงานเพื่อรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน

 

ฤทธิ์ต่อเมแทบอลิซึมของโปรตีน

       กระตุ้นการสลายโปรตีน (proteolysis) เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกลูโคส โดยกระตุ้นการนำส่ง กรดอะมิโน มาใช้ที่ตับใน ขบวนการสร้างกลูโคส (gluconeogenesis)

 

ฤทธิ์ต่อเมแทบอลิซึมของไขมัน

        กระตุ้นการสลายไขมัน (lipolysis) ในตับและที่เนื้อเยื่อไขมัน ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ไลเปส( lipase) ทำให้ได้กรดไขมันอิสระออกมา และกระตุ้นการนำส่ง กรดไขมันเข้าสู่ตับและกล้ามเนื้อและยังช่วยการเผาผลาญกรดไขมัน

 

UP

 

         กลูคากอนออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับสัญญาณที่เยื่อเซลล์มีผลกระตุ้นระบบอะดินิลไซเคลสโดยผ่าน จี โปรตีน (คลิก) ตัวสื่อสัญญาณตัวที่ 2 ที่สร้างขึ้นคือ cAMP ซึ่งจะกระตุ้นสารเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ทำให้เกิดการสลายไกลโคเจนได้เป็นกลูโคส

 

 

UP

 

การควบคุมการหลั่งกลูคากอน

        การหลั่งกลูคากอนถูกควบคุมโดยตรงด้วยระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติ จะกระตุ้นแอลฟา เซลล์ให้หลั่งกลูคากอนจนระดับน้ำตาลสูงเท่าปกติ การกระตุ้นแอลฟาเซลล์จึงหยุดลง

        กลูคากอนจะหลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกที่มายังไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ความเครียดจะกระตุ้นการหลั่งกลูคากอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การหลั่งกลูคากอนถูกยับยั้งโดยโซมาโทสแททิน

        อินซูลินกดการหลั่งกลูคากอน จึงมักพบกลูคากอนเพิ่มสูงในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลิน ทำให้อาการของเบาหวานรุนแรงมากขึ้น

 

UP

 

        ถ้าระบบควบคุมการหลั่งกลูคากอนผิดปกติไป เซลล์แอลฟาจะหลั่งกลูคากอนตลอดเวลา การมีฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะเร่งการสลายกลูโคสภายในตับ เร่งให้ตับปล่อยกลูโคส ออกสู่เลือดมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น

        ไม่พบโรคที่เกิดจากการขาดกลูคากอน แต่การหลั่งกลูคากอนลดลง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำได้

 

UP