ตับอ่อนตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง
โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม
(spleen) และด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ
12 15 เซนติเมตร
ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน
เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่มมีชื่อว่าไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์
(Islets of Langerhans) มีปริมาณ 1 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด
ตำแหน่งของตับอ่อน
|
ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ทั้งหมด
6 ชนิด แต่มี 4 ชนิดที่เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ได้แก่
1. เอ
หรือแอลฟาเซลล์ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกลูคากอน
2. บี
หรือเบตาเซลล์มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 75 ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
3. ดีหรือเดต้าเซลล์
มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 5-10 ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโซมาโทสเตทิน
(somatostatin)
4. พีพี
หรือเอฟเซลล์ เพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 1-2
ของไอเลตส์
ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ทำหน้าที่ผลิตเพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ (pancreatic polypeptide) ทำหน้าที่ลดการดูดซึมอาหารที่กระเพาะและลำไส้
(gastrointestinal function)
แผนภาพแสดงการทำหน้าที่ของตับอ่อน
ร่างกายสร้างและใช้พลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับไปตลอดเวลา
โดยอาศัยขบวนการสังเคราะห์อาหารหรือการสร้างสารชีวโมเลกุลที่เรียกว่าอะนาบอลิก
(anabolic) ซึ่งเป็นการรวมโมเลกุลเล็กให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่นกลูโคสรวมกันเป็นไกลโคเจน
ซึ่งเป็นขบวนการสร้างไกลโคเจน(glycogen formation)เรียกอีกอย่างว่าไกลโคเจนนีซิส
(glycogenesis)
ในยามที่ร่างกายขาดอาหารก็ต้องจะมีขบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารโมเลกุลเล็กหรือการทำลายสารชีวโมเลกุลเล็กหรือที่เรียกว่าแคแทบอลิซึม
(catabolism) เช่นไกลโคเจนแตกตัวกลายเป็นกลูโคสและกลูโคสแตกตัวเป็นกรดแลกติก
เรียกขบวนการนี้ว่าไกลโคไลซิส (glycolysis) กรดแลกติกนี้ตับสามารถนำไปสร้างเป็นกลูโคสขึ้นมาใหม่เพื่อให้กล้ามเนื้อนำมาใช้ได้ด้วย
เรียกขบวนการที่ร่างกายใช้สารอื่นที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตมาสร้างเป็นกลูโคสนี้ว่ากลูโคนีโอเจนนิซิส
(gluconeogenesis ตามศัพท์หมายถึง synthesis of new glucose ซึ่งหมายถึงการสร้างกลูโคสจากกรดอะมิโนและบางครั้งจากกลีเซอรอลที่ได้จากไขมัน)
ปกติร่างกายจะใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
แต่ในยามที่ร่างกายขาดอาหารประเภทนี้ ร่างกายสามารถใช้สารอาหารอื่นทดแทนกันได้ตลอดเวลา
เช่น สามารถใช้กรดไขมันให้เปลี่ยนเป็นกลูโคส หรือเปลี่ยนกรดอะมิโนบางตัวมาเป็นกลูโคสได้
และเมื่อร่างกายมีกลูโคสมากเกินไป ก็จะเปลี่ยนเก็บไว้ในรูปของกรดไขมันที่เนื้อเยื่อได้
เมแทบอลิซึมของไขมันและโปรตีนซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นกลูโคสในเซลล์ตับและกล้ามเนื้อได้
โดยทั่วไปร่างกายจะรักษาระดับความเข้มข้นของกลูโคสในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการทำงานของฮอร์โมนจากตับอ่อนนั่นเอง
ในหัวข้อต่อไปเราจะได้เรียนรู้ว่าตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอะไรได้บ้าง
1. อินซูลิน (insulin)
2. กลูคากอน (glucagon)
3. โซมาโทสแทติน (somatostatin )
4. เพนคริเอติก พอลิเปปไทด์
|