1. การควบคุมการตั้งครรภ์

จากการหลั่งของฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนสามารถนำความรู้มาใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์หรือ “ ระยะปลอดภัย” (safe period) ได้ โดยถ้ามีเพศสัมพันธ์ในระยะก่อนมีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือน 7 วันมักจะเป็นวันที่ปลอดภัยจาการตั้งครรภ์

 

 

การนับวันปลอดภัย

การสังเกตจากมูกจากช่องคลอด

การสังเคราะห์เป็นยาคุมกำเนิด

 

 

 

         2. การใช้เป็นฮอร์โมนทดแทน

         สำหรับผู้ขาดฮอร์โมน เช่นกรณีที่ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ก่อนที่จะหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ (surgical menopause)

         รักษาผู้ที่มีอาการปวดท้องมากขณะที่มีประจำเดือน    โดยให้ฮอร์โมนไปยับยั้งไม่ให้มีการตกไข่

         เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)  ได้แก่การที่เยื่อบุไปเจริญที่ต่างๆ ที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก เช่นรังไข่ อุ้งเชิงกราน เอ็นค้ำจุนทำให้ขณะมีประจำเดือนจะมีเลือดประจำเดือนออกมาที่เยื่อบุไปเจริญอยู่ ทำให้มีอาการปวดมาก รักษาโดยการให้ ยาที่เป็นฮอร์โมนไม่ให้มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือนและการผ่าตัด ฮอร์โมนที่ให้คืออีสโทรเจนและ/หรือโพรเจสเทอโรนจะให้ระยะเวลานาน 6-9 เดือนซึ่งการให้เป็นเวลานานๆ นี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ การรับประทานยาต้องรับประทานหลังมีประจำเดือนมาประมาณ 3-5 วัน

 

         ตำแหน่งของเยื่อบุมดลูกที่ไปเจริญนอกโพรงมดลูก

 

ระดับฮอร์โมนในเลือดของคนที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (เมนโนพอส :menopause) น่าจะเป็นอย่างไร?

 

         วัยหมดประจำเดือน ( menopause)
            ภายหลังที่เข้าสู่วัยรุ่น และมีประจำเดือนครั้งแรก (เมนนาร์ค : menarche) สตรีจะเริ่มมีประจำเดือนที่สม่ำเสมอเป็นเวลา 30 – 40 ปี หลังจากนั้นฟอลลิเคิลในรังไข่จะลดน้อยลง ประจำเดือนอาจเริ่มมามาก (เมนนอราเจีย : menorrhagia หรือhypermenorrhea) มีอาการปวดประจำเดือน(ดีสเมนนอเรีย :dysmenorrhea หรือ menorrhalgia)   เนื่องจากไข่ลดลง ทำให้ฮอร์โมนจากรังไข่ลดลงด้วย ทำให้ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ ต่อมน้ำนมเริ่มฝ่อ มดลูกและช่องคลอดเริ่มเสื่อมลง จนในที่สุดไม่มีประจำเดือน (menopause) ฮอร์โมนอีสโทรเจนที่ลดลง จะไปกระตุ้นให้ เอฟ เอส เอช หลั่งออกมา แต่เมื่อไม่มีฟอลลิเคิล ในรังไข่เหลืออีก ทำให้ไม่มีฮอร์โมน อีสโทรเจนอีก ทำให้มีอาการไม่สุขสบายจากการขาดฮอร์โมน แพทย์รักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งการรับประทานฮอร์โมนสังเคราะห์นี้ต้องตรวจร่างกายอื่นๆ ประกอบด้วย เพราะฮอร์โมนอาจทำให้มีอาการ ข้างเคียงได้

 

         3. การช่วยให้มีการฏิสนธิ (assisted reproductive technologies    : A RT)

         การปฏิสนธินอกร่างกาย(in vitro fertilization :IVF) และการย้ายตัวอ่อน (embryo transfer) เป็นการปฏิสนธิแบบไม่ต้องมีการร่วมเพศตามธรรมชาติ    การไม่มีบุตรเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สามี ไม่มีเชื้ออสุจิ หรือมีแต่ไม่แข็งแรง การเคลื่อนที่ของอสุจิไม่ดี ภรรยา ไม่มีไข่ตก ท่อรังไข่อุดตัน มีพังผืดมากในอุ้งเชิงกราน (pelvic adhesion) เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis)

พังผืดยึดรังไข่         

 

วิทยาการการช่วยเหลือการมีบุตร (assisted reproductive technologies: ART)

         ปัจจุบันการมีบุตรยากสามารถช่วยเหลือได้โดยการผสมไข่และสเปิร์มในหลอดแก้ว แล้วใส่กลับไปที่โพรงมดลูก ให้เจริญเติบโตต่อไป ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนนำมาใช้ในเรื่องนี้ดังนี้

         การกระตุ้นการตกไข่ โดยการให้ GnRH เป็นระยะ (ตามการหลั่งของ GnRH ที่เป็นระยะ) กระตุ้นการผลิต FSH และ LH หรือให้ยาซึ่งเป็นฮอร์โมน สังเคราะห์ไปกีดกัน การทำงานของอีสโทรเจน ไม่ให้ไปยับยั้งการทำงานของ GnRH ทำให้มีการผลิต FSH และ LH ออกมาจำนวนมาก มีผลให้มี การ ตกไข่มากกว่า 1 ใบ หลังจากนั้นจะนำไข่ออกมาเลือกใบที่แข็งแรง และนำมาใช้ตามการ ปฏิสนธินอกร่างกาย ด้วยวิธีต่างๆ เช่น

 

ขบวนการปฏิสนธินอกร่างกาย

 

         ซิ๊ฟ (ZIFT : Zygote Intrafallopian Transfer)

                การเก็บไข่ โดยแทงเข็มผ่านทางช่องคลอดเข้าสู่รังไข่โดยตรงซึ่งสามารถเห็นได้จากอัลตราซาวด์ หรือผ่านทางหน้าท้องไปที่รังไข่

            การเก็บสเปิร์ม โดยการหลั่งภายนอก (masturbation) เลือกสเปิร์มที่แข็งแรงเท่านั้น ซึ่งถ้าต้องการเก็บไว้ใช้ภายหลังสามารถเก็บได้ไว้ในไนโตรเจนเหลวเป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพ

              การปฏิสนธินอกร่างกาย นำไข่และสเปิร์มผสมรวมกันในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน (zygote)

              การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer) เมื่อตัวอ่อนแบ่งเซลล์ได้ 2-8 เซลล์นำตัวอ่อนใส่กลับไปยังโพรงมดลูก ให้ฮอร์โมนช่วยในการฝังตัวอ่อน

 

 

        กิ๊ฟต์ (GIFT : gamete intra fallopian transfer) โดยการนำเอาไข่ออกมาเลือกที่สมบูรณ์ แล้วนำเครื่องมือที่นำอสุจิและเซลล์ไข่ ใส่เข้าไปในท่อนำไข่เพื่อให้มีการผสมและตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ แต่ในกรณีนี้ต้องไม่มีปัญหาที่ปีกมดลูก

 

         อิ๊กซี่ (ICSI : intracytoplasmic sperm injection)   นิยมใช้ในกรณีที่ ผู้ที่มีสเปิร์ม น้อยมากๆ และการเคลื่อนไหวไม่ดี การทำคือการที่นำเอาอสุจิเพียง 1 เซลล์ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ เพื่อให้แน่ใจว่าอสุจิเข้าไปผสมในไข่แน่นอน

 

การทำอิ๊กซี่

         การทดสอบการตั้งครรภ์ โดยการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมน ฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน ( hCG ) ในกระแส ประมาณวันที่ 10-12 วันหลังใส่ตัวอ่อน สำหรับอัตราการสำเร็จประมาณร้อยละ10 - 30

         ตัวอ่อนที่เหลือจากการย้ายฝากจะเก็บไว้ใช้ใหม่ได้โดยการแช่แข็ง เพราะขบวนการดังกล่าวมาแล้วต้องใช้ค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และการให้ฮอร์โมน ในการกระตุ้นไข่ มีผลต่อสุขภาพด้วย ตัวอ่อนจัดเก็บไว้ในกลีเซอรอล หรือในไดเมททิล ซัลฟอกไซด์ (dimethyl sulfoxide) ซึ่งเป็นของเหลวไม่แข็งตัวเป็นก้อนที่อุณหภูมิต่ำมาก แล้วแช่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก (-196 องศาเซลเซียส) เพื่อหยุดกิจกรรมต่างๆ ในเซลล์ เมื่อต้องการนำมาใช้ การหลอมตัวของสารทั้งสองนี้ก็ไม่ทำลายเซลล์


"เด็กหลอดแก้วไทยคนแรก เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เป็นเพศชาย ส่วนเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกเป็นคนอเมริกันเพศหญิง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2521 ชื่อ หลุยส์ บราวน์"

หลุยส์ บราวน์ เด็กปฏิสนธิในหลอดแก้วคนแรกของโลกอุ้มทารกแฝดที่เกิดจากการปฎิสนธในหลอดแก้วในประเทศอังกฤษ ส่วนภาพเล็กคือเด็กคนแรกที่ฎิสนธิในหลอดแก้วที่เกิดในประเทศออสเตรเลียชื่อแคนดิส รีด(Candice Reed)ขณะอายุได้1ปีเกิดในปี พ.ศ. 2523