เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่โดยการพัดโบกของขนเซลล์
(cilia) ของท่อนำไข่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนอีสโทรเจน
เมื่อมีการผสมระหว่างอสุจิและไข่ เกิดการปฏิสนธิขึ้น (fertilization)
จนเคลื่อนที่มาถึงมดลูกซึ่งเป็นระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) มีจำนวนเซลล์ประมาณ100
เซลล์ แล้วจะฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ แล้วเซลล์โทรโฟบลาสท์ (trophoblast)
ของบลาสโตซิสจะยึดกับเนื้อเยื่อของมดลูก เจริญไปเป็นรก (placenta)
ดังนั้นรกจึงเป็นส่วนหนึ่งของทารก แต่จะอยู่นอกตัวทารกในมดลูกของมารดา
การตกไข่
การปฏิสนธิ การแบ่งเซลล์ และการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูกซึ่งใช้เวลาประมาณ
7 วัน ดังภาพ ภายหลังการฝังตัวของตัวอ่อน ส่วนเซลล์โทรโฟบลาสทจะเจริญไปเป็นรก
รกจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนมาควบคุมการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไป
รกเป็นโครงสร้างที่เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก
รกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก เสมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของตัวมารดา
โดยจะมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก การจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ต้องอาศัยฮอร์โมนหลายชนิด
รกเป็นบริเวณที่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกมาพบกัน
โดยเชื่อมต่อสายสะดือของทารกกับมดลูก ของมารดา รกทำหน้าที่ 2 ประการคือ
-
ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์ของทารกในครรภ์
-
ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น
ระหว่างตั้งครรภ์และเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการเจ็บครรภ์รวมทั้งฮอร์โมนอีสโทรเจน และฮอร์โมน
โพรเจสเทอโรน
ก) ทารกในครรภ์ต้องอาศัยรกในการแลกเปลี่ยนอาหาร
อากาศ และของเสียจากทารกในครรภ์
ข) เส้นเลือดของทารกจะแช่จุมอยู่ใกล้ชิดกับเส้นเลือดมารดาเพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร
อากาศ และของเสียจากทารกในครรภ์
รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ
ได้แก่
1. ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน
ในช่วงแรกประมาณ
6-8 สัปดาห์จะได้รับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจากคอร์ปัส ลูเทียมที่รังไข่
หลังจากนั้นรกจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์
เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก ที่จะทำให้การตั้งครรภ์ สามารถดำเนินต่อไปได้
โดยการยับยั้งการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ร่างกายไม่กำจัด
ทารกซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายออกมาโดยไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ฮอร์โมนที่สร้างส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาส่วนน้อยที่ผ่านไปยังทารก
แสดงระดับฮอร์โมนต่างๆ
ระหว่างการตั้งครรภ์
จะเห็นว่าในระยะแรกของการตั้งครรภ์
ระดับของHCGซึ่งสร้างจากรกจะสูงมากและฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่สร้างจากคอร์ปัส
ลูเทียมยังคงสูงอยู่ ซึ่งทำให้ไม่มีประจำเดือนและทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญ
เมื่อรกทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น (ภาพกลาง)
คอร์ปัส ลูเทียมจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนน้อยลงและหมดหน้าที่ไป (ภาพสุดท้าย) และระดับของ HCG จะลดลง
เมื่อระยะเวลาการตั้งครรภ์มากขึ้น รกจะผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น
2. ฮอร์โมนอีสโทรเจน
การสร้างฮอร์โมนนี้จะไม่เหมือนกับที่รังไข่ เพราะรกไม่มีเอนไซม์ 17
- βไฮดรอกซิเลสที่จะเปลี่ยนโพรเจสเตอโรน หรือ เพรกนีโนโลน(pregnenolone)
เป็นอีสโทรเจน จึงต้องอาศัยสเตอรอยด์ที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตของแม่
และของทารกแทน โดยเซลล์โทรโฟบลาสท์จะใช้ดีไฮโดรอิพิแอลโดรสเตอโรน ซัลเฟต
(DHEA-S) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของแม่ และของทารกมาเป็นสารตั้งต้นที่จะผลิตอีสตรา
ไดออล
17 เบต้า อีสโตรนจะถูกหลั่งมาที่เลือดแม่ แต่อีสตราไดออลจะถูกต่อมหมวกไต
ของทารกเปลี่ยนไปเป็น อีสไทรออล กลับมาที่รกเพื่อเข้ากระแสเลือดแม่
หน้าที่ของอีสโทรเจนในการตั้งครรภ์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าในขณะใกล้คลอดจะมีปริมาณของอีสโทรเจนสูง
และอีสโทรเจนทำให้มีเลือดมาเลี้ยงที่มดลูกมาก
3. ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic
gonadotropin: HCG)
ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟินเป็นไกลโคโปรตีน
มี 2 หน่วยคือ สายแอลฟาและสายเบตา สายแอลฟาประกอบด้วยกรดอะมิโน
92 ตัว สายเบตามีกรดอะมิโน 145 ตัว เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่ติดกับมดลูก (chorian) สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่
8 ของการปฏิสนธิ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ปริมาณ HCG จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยจะมีประมาณ
100 IU/L ในวันที่ที่ขาดประจำเดือน และ100,000 IU/L ขณะอายุครรภ์ 8-10
สัปดาห์ หลังจากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 10,000 20,000 IU/L และคงที่ตลอดการตั้งครรภ์
1.
ทำให้คอร์ปัสลูเทียมผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเตอโรนต่อ
2.
ทำให้ผนังมดลูกพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อนคือมีเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก
และยับยั้งการทำงานของโกนาโดโทรปินจากต่อมใต้สมองไม่ให้มีการเจริญของไข่ในรอบต่อไป
3.
กระตุ้นเลย์ดิกเซลล์ในอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน เพราะสายเบตาของเอชซีจี
มีลักษณะคล้ายกับ ฮอร์โมนแอลเอช (LH) ที่สร้างจากต่อมใต้สมองโดยมีกรดอะมิโน 121 ตัวแรกที่เหมือนกันถึงร้อยละ 80
4.
กระตุ้นการทำงานต่อมไทรอยด์ โดยเอชซีจี สามารถจับกับตัวรับสัญญาณของทีเอสเอช
(TSH) เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์
ประโยชน์
1.
การศึกษาการทำงานของฮอร์โมน HCG ทำให้มีการสร้างเครื่องทดสอบการตั้งครรภ์
(over the counter kit : OTC kit) ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ (antigen
antibody reaction) ใช้วินิจฉัยการตั้งครรภ์ ซึ่งทำได้เร็ว
2.
ช่วยวินิจฉัยการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy คำว่า molar มีรากศัพท์จากคำว่า
mole หมายถึงเม็ดเล็กๆ คล้ายไฝ หรือ องุ่น
molar pregnancy เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวทารก แต่มีเป็นถุงน้ำเล็กๆ คล้ายไฝหรือองุ่นเหล่านี้แทน) ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีฮอร์โมนเอชซีจี สูงมาก 3-10 เท่าของการตั้งครรภ์ปกติ
4. ฮอร์โมนที่มีผลเหมือนโพรแลคตินและโกรทฮอร์โมนจากรก (human
chorionic somatomamotrophin, hCS หรือ human placental lactrogen,
hPL)
hCS
เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 หน่วย มีผลคล้ายโพรแลคทินและโกรทฮอร์โมน
เช่นการสลายไขมันเพื่อให้เลือดแม่และทารกมีกรดไขมันสูงขึ้น ยับยั้งการนำกลูโคสเข้าเซลล์แม่
ทำให้ร่างกาย ต้องหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคสจากสารอาหารอื่น
ทำให้สารอาหารประเภทโปรตีน และกลูโคสผ่านไปยังทารกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนกระตุ้น
ให้มีการเปลี่ยนแปลง ของเต้านม เพื่อเตรียมในการผลิต น้ำนมมากยิ่งขึ้น
|