ฮอร์โมนเพศเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในด้านรูปร่างการทำหน้าที่ และการเจริญเข้าสู่ลักษณะของวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ทั้งทางด้านจิตใจและพฤติกรรม

      อวัยวะเพศเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยอาศัยโกนาโดโทรปิน (gonadotropin) ซึ่งเป็นโทรปิกฮอร์โมน (tropic hormone) จากต่อมใต้สมองของมารดาและฮอร์โมนจากรกมาช่วยกระตุ้น ก่อนที่รังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศ ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศได้บ้างจากต่อมหมวกไตและไขมันที่สะสมในร่างกาย แต่ยังไม่พอที่จะทำงานได้

การทำงานของรังไข่และอัณฑะถูกควบคุมโดยไฮโพทาลามัสและต่อมใต้สมอง

      เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว (puberty) ไฮโพทาลามัสและต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะสร้างโกนาโดโทรปิน      รีลีสซิ่งฮอร์โมน(gonadotropin releasing hormone) หรือที่เรียกว่าจีเอ็น อาร์เอช (Gn RH) ออกมา ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน ฟอลลิเคิล สติมิวเลติงฮอร์โมน(follicle stimulating hormone) เรียกย่อว่า เอฟ เอส เอช (FSH ) และแอล เอช(LH) มีผลให้ในเพศหญิงอวัยวะที่เรียกว่ารังไข่ และในเพศชายอวัยวะที่เรียกว่าอัณฑะทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมน

 

      ฮอร์โมนเพศทั้งอีสโทรเจน โพรเจสเทอโรน และเทสโทสเทอโรนล้วนมีสารตั้งต้นคือคอเลสเทอรอล ซึ่งได้ จากไลโพโปรตีนในกระแสเลือดและจากการเปลี่ยนคอเลสเทอรอลภายในรังไข่ให้เป็นเพรกนิโนโลน ซึ่งมีรายละเอียดเหมือน การสังเคราะห์สเตรอยด์ฮอร์โมนที่กล่าวมาแล้ว

การสังเคราะห์ฮอร์โมนประเภทสเตรอยด์ซึ่งมีสารตั้งต้นจากคอเลสเทอรอล