รังไข่ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน
2 ข้างของมดลูก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเป็นต่อมไร้ท่อโดยผลิตฮอร์โมนเพศหญิง
คือฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen ออกเสียงอีกอย่างได้ว่า
เอสโทรเจน) และ โพรเจสเทอโรน
(progesterone) ซึ่งเป็นสเตรอยด์ ระดับของฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของรอบประจำเดือน
ตำแหน่งของรังไข่ในร่างกายผู้หญิง
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์มีการพัฒนามาตั้งแต่เซลล์เพศ(germ
cell) ของตัวอ่อน ซึ่งเรียกว่าเซลล์เพศ ขณะอยู่ในครรภ์จะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโตทิกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อแรกเกิดจะมีไข่ประมาณ 2 ล้านใบ โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในระยะเสื่อมสลายหรือฝ่อ
(atresia) ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา
หลังจากนั้นโอโอโกเนียมจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส
1 (meiosis1) เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งให้พร้อมในการรวมตัวกับอสุจิแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จะหยุดอยู่ที่ระยะ
โปรเพส 1 ประมาณเดือนที่ 3 ของการเจริญอยู่ในครรภ์ เซลล์ไข่จะแบ่งตัวถึงขั้นที่1
(primary oocyte) ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงไข่ขั้นที่1 (primary follicle)
เซลล์ของไข่ที่มาหยุดอยู่ที่ระยะโพรเพสนี้จะมีเซลล์มาห้อมล้อมกลายเป็นถุงไข่อ่อนตั้งต้น
(primordial follicle) เซลล์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนเป็นเซลล์แกรนูโลซา
(granulosa cell) ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ไข่อ่อน เซลล์ของไข่อ่อนที่ติดกับเยื่อฐานเซลล์จะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ทีคา
(theca cell) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือทีคาด้านนอก(theca externa)
และทีคาด้านใน(theca interna) เป็นที่สังเคราะห์ฮอร์โมนได้
ถุงไข่อ่อนจะอยู่ในระยะถุงไข่ขั้นที่
1 (primary follicle) นี้ไปจนเข้าสู่วัยสาวก่อนไข่ตก
1.
ทีคา อินเทอร์นาเซลล์ ( theca interna cell)
ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนผ่านเข้าสู่เซลล์แกรนนูโลซา
หลังจากนั้น เอนไซม์อะโรมาเทส จะเปลี่ยนแอนโดรเจน(
เช่น เทสโทสเทอโรน) ไปเป็นอีสโทรเจน เข้ากระแสเลือดไปที่อวัยวะเป้าหมาย
เช่น ที่สมอง หลอดเลือด อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบการขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น
2.
ลูเทียว เซลล์ (luteal cell)
หลังจากตกไข่แล้ว
เซลล์แกรนูโลซาจะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ลูเทียว ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน
โพรเจสเทอโรนจำนวนมาก
และมีการสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจนบ้างเล็กน้อย
การเจริญเติบโตของถุงไข่อ่อนถูกกระตุ้นโดย
FSH และLH ที่จับกับตัวรับสัญญาณบนเยื่อเซลล์แกรนูโลซาและทีคาเซลล์
เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะเหลือไข่ประมาณ
400,000 ใบ และมีเพียง 8,000 ใบที่เจริญเติบโตต่อ แต่จะมีเพียง 300
ถึง 400 ใบเท่านั้นที่จะเจริญจนถึงระยะการตกไข่
- ฮอร์โมนอีสโทรเจน
(estrogen hormone)
- ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน
(progesterone hormone)
-
การทำงานร่วมกันของฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน
- ประโยชน์ของความรู้ด้านฮอร์โมนเพศ
|