การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ของสตรีจะมีเป็นรอบหรือวงจร
แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 25 - 35 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้ว 28
วัน โดยวันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่1 ซึ่งในแต่ละรอบเดือนจะมีเหตุการณ์ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของรังไข่
ไฮโพทาลามัสจะ
สร้างโกนาโดโทรปิน รีรีสซิ่งฮอร์โมน (gonadotropin releasing
hormone) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมนเอฟ
เอส เอช (FSH) ทำให้มีการกระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เจริญเติบโตขึ้น
ในตอนแรกในรังไข่จะมีไข่หลายใบ
แต่ภายใน 5-7 วัน จะมีเซลล์ฟอลลิเคิลใบหนึ่งโตมากกว่าใบอื่น
(dominant follicle) ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนอีสโทรเจนออกมามากจนไปยับยั้งการทำงานของเอฟ
เอส เอช (FSH ) ไม่ให้หลั่งออกมากระตุ้นการทำงานของฟอลลิเคิลอื่นอีกทำให้แต่ละเดือนมีไข่ตกเพียงใบเดียวและโดยปกติจะสลับข้างของรังไข่
2 ใบ ซึ่งมีด้านซ้ายและด้านขวาอีสโทรเจนกระตุ้นให้เซลล์ฟอลลิเคิล(follicle)
สร้างของเหลวออกมาสะสมอยู่ระหว่างเซลล์ และ มีช่องกลวงตรงกลาง
(astral follicle) ล้อมรอบไข่หรือโอโอไซด์(oocyte)
การเจริญของถุงไข่อ่อน
การตกไข่ การเกิดและการสลายตัวของคอร์ปัสลูเทียม
การตกไข่
จากผลของโกนาโดโทรปินที่สูงขึ้น
จะกระตุ้นให้ฟอลลิเคิลที่เจริญเติบโตเต็มที่มีปริมาณของเหลวในถุงกราเฟียนจำนวนมาก
และแกรนูโลซาก็เพิ่มจำนวน และเซลล์ทีคาก็หลั่งอีสโทรเจนมากขึ้น
เมื่อถุงไข่อ่อนมี ขนาดใหญ่ทำให้เซลล์แกรนูโลซาจับกันไม่ติด
ถุงไข่อ่อนจะปริตรงจุดจำเพาะ (stigma) เป็นบริเวณที่บางและมีเลือดมาเลี้ยงน้อย
ปัจจัยต่างๆ
ที่ทำให้เกิดการตกไข่
ที่ผนังของฟอลลิเคิลจะมีส่วนประกอบเป็นคอลลาเจนที่เหนียว ในขณะที่ฟอลลิเคิลมีการเจริญเติบโตมากขึ้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนอีสโทรเจนออกมามากด้วย
ทำให้มีการเพิ่มตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนแอล เอช (LH)
ที่ชั้นทีคา (theca) ของรังไข่มากขึ้น ทำให้แอล เอช
มีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บางทฤษฎีเชื่อว่าฮอร์โมนแอล
เอช กระตุ้นให้แกรนูโลซาเซลล์ผลิตสารกระตุ้นพลาสมิโนเจน
(plasminogen activator) เมื่อมี
LH มากระตุ้น จะทำให้เซลล์บวมขึ้น เซลล์จะปล่อยพลาสมินโนเจน
ซึ่งจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ตัวหนึ่งทำให้กลายเป็นพลาสมิน
และพลาสมินจะเป็นเอนไซม์อีกตัวหนึ่งช่วยย่อย คอลลาเจนในถุงไข่อ่อน
ให้ผนังอ่อนตัวลงเมื่อเกิดแรงดันของของเหลวที่แอนทรัมก็จะเกิดการตกไข่(ovulation)
ออกมา
ไข่เริ่มมีการแบ่งตัวอีกครั้งต่อจากระยะโปรเพสจนถึงระยะทีโลเฟส
-1 คือการแบ่งเซลล์แบบครึ่งจำนวนครั้งที่ 1 เซลล์ไข่อ่อนขั้นที่1
กลายเป็นเซลล์ไข่ขั้นที่ 2 พร้อมที่จะปฏิสนธิแล้วหลุดออกจากรังไข่
เรียกว่า การตกไข่ (ovulation)
และจะเคลื่อนที่เข้าไปในส่วนปลายของท่อนำไข่ที่คล้ายนิ้วมือ
(fimbria) ไข่จะมีอายุประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการผสมจากอสุจิจะสลายไป
ซึ่งในระยะนี้จะมีการสร้างเยื่อบุมดลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
(proliferative phase)
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนจนถึงวันที่ไข่ตกจะแตกต่างกันมากในแต่ละคน
ประมาณ 8-14 วัน ซึ่งในผู้ที่มีรอบประจำเดือนที่แตกต่างกัน
นี้ เช่น สตรีที่มีรอบประจำเดือน 21 35 วัน ส่วนใหญ่จะต่างกันในระยะก่อนไข่ตก
คอร์ปัส ลูทีล (corpus
luteum)
หลังไข่ตก
ขนาดเซลล์ของฟอลลิเคิลในรังไข่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีช่องว่างและสะสมสารที่มีสีเหลืองจึงเรียกระยะนี้ว่าคอร์ปัส
ลูเทียม (corpus luteum) ซึ่งแปลว่า โครงสร้างสีเหลือง
และมีเลือดจำนวนมากขังอยู่ซึ่งจะค่อยๆดูดซึมไป
คอร์ปัส
ลูเทียม (corpus luteum) ซึ่งมีโครงสร้างสีเหลืองและอาจมีเลือดขังอยู่
ก่อนที่ไข่ตกนี้จะเริ่มมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนในปริมาณเล็กน้อยแล้ว
ฟอลลิเคิลในรังไข่ที่ไข่หลุดออกไปแล้ว เรียกว่าคอร์ปัส
ลูทีล (corpus luteum) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนในปริมาณที่มากโดยเฉพาะช่วงกลางของระยะหลังไข่ตก
และสร้างอีสโทรเจน (estrogen) บ้าง โพรเจสเทอโรนจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนอีสโทรเจน
เพื่อป้องกันการแท้งบุตร (abortion) และทำให้เยื่อบุของมดลูกมีการเจริญเติบโตเพื่อเตรียมพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อน
(embryo) และกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันตนเองไม่ให้ต่อต้านทารกระหว่างมีการฝังตัว
เมื่อมี
FSH และ LH มากขึ้น จะกระตุ้นให้ไข่เจริญใหญ่ขึ้น ขนาดของไข่ที่เจริญขึ้น
จะกระตุ้นให้มีการสร้าง อีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนมากขึ้น
ปริมาณของLH และ FSH ที่เพิ่มมากที่สุดในกลางรอบเดือน
จะกระตุ้นให้มีการตกไข่ อีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่หลั่งออกมามากจะกระตุ้นให้เยื่อบุมดลูกเจริญเติบโต ภายหลังที่ไข่ตกแล้ว คอร์ปัส
ลูเทียมจะกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนมากขึ้น
และกระตุ้นเยื่อบุมดลูกให้เจริญต่อไปได้อีกจนกระทั่งถ้าไม่มีการปฏิสนธิ
ระดับของฮอร์โมนอีสโทรเจน และโพรเจสเทอโรนจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกเป็นประจำเดือนออกมา
ระดับของฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่มีผลต่อการเจริญของเยื่อบุมดลูกและรอบประจำเดือน
คอร์ปัส
ลูเทียม จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนประมาณ 10 สัปดาห์ แล้วรก(placenta)
จะมาทำหน้าที่แทน แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมจากอสุจิ คอร์ปัสลูทีลจะหลั่งฮอร์โมนลดลงและเปลี่ยนเป็นสีขาว
เรียกว่าคอร์ปัสอัลปิเเคน
(corpus albican) และจะสลายไปประมาณวันที่ 12 หลังไข่ตก(secretory
phase) และอีกประมาณ 2 3 วันจะมีประจำเดือน(menstruation)
ซึ่งมีคำกล่าวว่า ประจำเดือนคือน้ำตาเลือดจากครรภ์ที่ประสบความผิดหวัง
(menstruation is the bloody tears from a disappointed
womb) ระดับของฮอร์โมนจะลดลงอย่างรวดเร็วไปกระตุ้น เอฟ
เอส เอช (FSH) ให้ทำงานใหม่อีกครั้ง ระยะนี้ระยะเวลานี้
ไม่ค่อยคลาดเคลื่อน ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 14 วัน ในวันที่ไข่ตกอุณหภูมิของร่างกายจะลดลง
หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้น
ประจำเดือน
(menstruation ) คือ การที่ผนังชั้นในของมดลูกหลุดออก
แล้วถูกขับออกมา ทางช่องคลอด เนื่องจากไม่มีการปฏิสนธิ
ผนังชั้นใน หรือ เยื่อบุจะสลายออกมา มีส่วนประกอบคือเลือดและเมือก
ระยะการเจริญของไข่
การตกไข่ ระยะเวลาในการเจริญของตัวอ่อน ความหนาของเยื่อบุมดลูกและที่เตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์
ท่านทราบหรือไม่ สมัยก่อนบาทหลวงจะใช้วิธีจับตัวภรรยาว่าถ้าตัวร้อนแสดงว่าภรรยาตกไข?
บาทหลวงบางนิกายสามารถมีภรรยาแต่เป็นข้อห้ามทางศาสนาที่ไม่ให้ใช้การคุมกำเนิด
แต่จากความสังเกตพบว่าถ้าภรรยาตัวร้อนขึ้นแสดงว่าถ้ามีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้อาจต้องครรภ์
ได้ จึงใช้วิธีธรรมชาตินี้ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ระยะตกไข่อุณหภูมิจะลดลง(ซึ่งคงสังเกตยาก)และเพิ่มขึ้นในระยะหลังตกไข่
สังเกตหรือเปล่าว่าในน้ำผลไม้บางชนิดเช่นน้ำมะพร้าวจะมีฮอร์โมนอีสโทรเจนอยู่
ถ้าดื่มจำนวนมากประจำเดือนจะหายไปได้
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน
1. เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
ไฮโพทาลามัส จะหลั่งฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีรีสซิง ฮอร์โมน(GnRH)
ออกมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า
2.
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะ ผลิตฮอร์โมน FSH และ LH ออกมา กระตุ้นให้ไข่ที่รังไข่ของสตรีเจริญเติบโตขึ้น
3. ไข่ที่เจริญจะผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนออก
ทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญขึ้น ทำให้เป็นสาวและมีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย
4.
ปริมาณของอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้นจะไปยับยั้งไฮโพทาลามัสให้ลดการหลั่ง
GnRH ซึ่งทำให้การสร้างฮอร์โมนลดน้อยลง
|