ประวัติความเป็นมา

    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้จัดตั้งขึ้นในชื่อสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ตามมติของสภามหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการศึกษาและเติม ปัญญาให้สังคม ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการ เรียนรู้ โดยหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาคือการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการ เรียนรู้ตลอดชีวิต และในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (Institute for Innovative Learning) ตามมติของสภามหาวิทยาลัย

   หน้าที่หลักของสถาบันคือการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ในทุกระดับทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านอื่นๆ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาบุคคลที่มีความพร้อมทั้งทางประสบการณ์ทักษะทางกระบวนการเรียนรู้ และความรู้ทางเนื้อหาวิชาการอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นแกนนำในการถ่ายทอดกระบวนการเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างชาญ ฉลาด ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนให้คนไทยมีศักยภาพในการเรียนรู้ในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  สถาบันนวัตกรรมฯ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ครู/อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีบูรณาการความรู้และความคิดและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาและเติมปัญญาให้สังคม สถาบันฯได้มีกิจกรรมส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้โดยการผลิตบัณฑิตทางกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆที่มีความสามารถทั้งเนื้อหาวิชาการและวิธีการสอนที่ส่งเสริมการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ดังที่ได้สร้างหลักสูตรปริญญาโท–เอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาที่เน้นเนื้อหาวิชาการนวัตกรรมและการสื่อสารควบคู่ไปกับหลักการศึกษาขึ้นเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ทั้งนี้จะมีการทำวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสาขาต่างๆ เพื่อได้ตัวอย่างที่เหมาะสมกับประเทศไทยสำหรับการเผยแพร่ต่อไป กิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบของเนื้อหาวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัย และวิธีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเผยแพร่ต่อวงการศึกษาทั่วประเทศและเพื่อเป็นตัวอย่างแก่สถาบันอื่นๆ รวมทั้งให้บริการวิชาการต่อสังคมในด้านเนื้อหาวิชาการสื่อต่างๆในรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่มี นวัตกรรมมีกิจกรรมจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริงสามารถบรรลุเป้าหมายของปฏิรูปการศึกษาได้

1,971 views since 16 August 2018