หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก

อำนาจหน้าที่และภารกิจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550

        มาตรา 7  มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นนามของมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง พัฒนา ประมวล และประยุกต์องค์ความรู้ทั้งมวลและดำเนินการให้มีการเรียนรู้ในองค์ความรู้ดังกล่าว รวมตลอดทั้งเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริม ป้องกันและรักษาสุขภาพอนามัย ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และกีฬา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นส่วนรวมตร์ชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ให้บัณฑิตมีความสามารถในการวิจัยทางนวัตกรรมการศึกษา บัณฑิตมีคุณภาพทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ  บัณฑิตมีคุณลักษณะที่รู้จริง รู้นาน รู้สร้างสรรค์ และสื่อสารได้ หลักสูตรนี้มีความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 มหาวิทยาลัยมีภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ทำการวิจัย รวมตลอดทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้ทำการวิจัย เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้โดยกระทำต่อเนื่อง และนำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและสังคมและก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
(2) ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ มีคุณะรรม จริยธรรม มีความสำนึกต่อสังคมและมีความใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง
(3) ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
(4) ให้บริการทางการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และบริการทางวิชาการและวิชาชีพ ให้เป็นที่ยอมรับในประเทศ และในระดับนานาชาติ
(5) ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
(6) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันอื่น เข้าร่วมในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้
(7) ร่วมมือกับสถาบันอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการตาม (1) ถึง (6)
(8) ส่งเสริมและทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม รวมทั้งบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลยั่งยืน

        มาตรา 9 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และภาระหน้าที่ตามมาตรา 8 ให้มหาวิทยาลัยคำนึงถึง
(1) ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
(2) ความเป็นเลิศทางวิชาการ ความมีเสรีภาพทางวิชาการ มาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
(3) ความมีคุณธรรมและจริยธรรม
(4) ความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม
(5) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการบริหาร
(6) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร

        มาตรา 10 มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนงาน ดังนี้
(1) สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
(2) สำนักงานอธิการบดี
(3) วิทยาเขต
(4) คณะ
        มหาวิทยาลัยอาจให้มีส่วนงานที่เรียกชื่ออื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 เป็นส่วนงานในมหาวิทยาลัยอีกได้
        สำนักงานอธิการบดี มีหน้าที่จัดการงานบริหารทั่วไปของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
        คณะ มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ทำการวิจัยนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และให้บริการทางวิชาการ
        สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขต คณะ และส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น อาจแบ่งส่วนงานเป็นหน่วยงานภายในของส่วนงานนั้นได้

 

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
3 ประการ คือ

1. ผลิตบัณฑิตปริญญาเอก และปริญญาโท

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (หลักสูตร นานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่เน้นทั้งเนื้อหาวิชาการและกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกันและ ส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในแขนงวิชาต่างๆ ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ให้บัณฑิตมีความสามารถในการวิจัยทางนวัตกรรมการศึกษา บัณฑิตมีคุณภาพทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ  บัณฑิตมีคุณลักษณะที่รู้จริง รู้นาน รู้สร้างสรรค์ และสื่อสารได้ หลักสูตรนี้มีความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย อุปกรณ์ และรูปแบบการเรียนรู้

ซึ่งประกอบไปด้วย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ และรูปแบบการเรียนรู้
   2.1 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ : เพื่อ เสริมทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน เช่น ColorReader เครื่องอ่านและวัดสีเฉพาะบางสี TRIColorReader เครื่องอ่านและวัดสีได้ทุกสีและ RGB  Box เครื่องผสมแสงสี นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์และเครื่องมืออีกหลายชนิดที่ใช้งานร่วมกับคู่มือปฏิบัติการ
   2.2 รูปแบบการเรียนรู้ : เป็น การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีนวัตกรรมในหัวข้อต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งปฏิบัติการใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน คิดเป็นทำเป็น เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมรวมทั้งมีจริยธรรม กล่าวคือ ให้ผู้เรียนสามารถ “รู้จริง รู้นาน รู้สร้างสรรค์ และสื่อสารได้”
   2.3 แบบจำลองเสริมการเรียนรู้ : เพื่อ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ได้แก่ ชุดโครงสร้างแบบจำลองดีเอ็นเอทั้งแบบสำเร็จและแบบประกอบเอง โครงสร้างแบบจำลองของกล้ามเนื้อ แบบจำลองโปรตีน แบบจำลองเซลลูโลส สำหรับครู/อาจารย์ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาตอนต้น
   2.4 สื่อมัลติมิเดีย : สื่อ มัลติมีเดีย เพื่อเสริมการเรียนรู้ สำหรับครู/อาจารย์ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสำหรับคนพิการทางการได้ยินและการมองเห็น ในรูปแบบ CD และ on-line ใน website

3. บริการวิชาการแก่สังคม

ได้มีการฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมวิชาการแก่โรงเรียนและชุมชน งานหลักๆ ของการบริการวิชาการ ได้แก่
   3.1 การจัดฝึกอบรม/ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อ ให้บุคลากรได้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย อาจารย์นำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา บุคลากรมีการพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
   3.2 การจัดฝึกอบรม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา หรือนักเรียน จากสถานศึกษาต่างๆ ทั้งด้านเนื้อหาวิชาการ ทักษะปฏิบัติการและกระบวนการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนการสอน ซึ่งครู/อาจารย์สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ นักศึกษาและนักเรียนจะได้ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย มีกระบวนการเรียนรู้
   3.3 การจัดการความรู้ ทางสถาบันฯ ได้มีการแบ่งปันความรู้ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ สื่อทาง Internet ซึ่งได้แก่ เว็บไซต์ สถาบัน และเว็บไซต์ KM โดยมีการนำเสนอความรู้ทั้งทางด้านข่าววิทยาศาสตร์ศึกษาฐานข้อมูลการจัดการเรียนการสอนการวิจัย และการบริการวิชาการของทางสถาบันฯ เป็นสื่อกลางของชุมชนนักปฏิบัติ(รายละเอียดอยู่ในส่วนที่ 2 การจัดการความรู้) และกระดานสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
   3.4 การบรรยายพิเศษ อาจารย์ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ได้รับเชิญจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ แก่กลุ่มเป้าหมาย
   3.5 การจัดแสดงนิทรรศการ โดยเผยแพร่ผลงานในเชิงวิชาการให้แก่ ครู/อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้ได้รับความรู้ซึ่งนำเสนอผลผลิตของทางสถาบันฯ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ศึกษาในเชิงพาณิชย์เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตเพื่อจำหน่ายโดยนำรายได้เข้า สถาบันฯ
   3.6 การเยี่ยมชมการดำเนินการของสถาบันทางสถาบันฯ ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของทางสถาบันฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิตสื่อและการจัดการเรียนการสอนเป็นการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
882 views since 16 August 2018