Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Learn from Nature: แค่จ้องตากัน ปลากัดก็ท้องจริงหรือ?

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
5,576 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

หลายคนคงคุ้นหูกับ “ปลากัดจ้องตากันแล้วท้อง” ที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก แล้วปลากัดจ้องตากันแล้วท้องได้จริงๆ หรือ?

ลองย้อนกลับไปสมัยเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 เราเรียนรู้ว่า ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต เป็นสัตว์เลือดเย็น และสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยอสุจิ (เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้) ผสมกับไข่ (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) แล้วจะได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่หน้าตาคล้ายหรือมีส่วนผสมระหว่างพ่อและแม่

แล้วการมองตากัน ทำให้อสุจิและไข่ผสมกันเลยเหรอ? ทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่มีทางเป็นไปได้” และที่สำคัญไม่มีทางได้ลูกแน่ๆ และถ้ายังจำกันได้ว่าปลาสืบพันธุ์ภายนอกร่างกาย ปลากัดตัวผู้สร้างหวอด และอยู่กับหวอดเพียงแค่ตัวเดียว จะเห็นได้ชัดเลยว่า ปลากัดจ้องตากันแล้ว ไม่มีทางได้ลูกแน่ๆ

.....  แล้วอาการที่เราเห็น ปลากัดท้องป่องละ เกิดอะไรขึ้น และเป็นไปได้อย่างไร  ....

ทำความเข้าใจกันก่อนนิดนึงว่า อาการท้องป่องของปลากัดเพศเมียนั้นต่างจากการท้องของมนุษย์ ที่เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายของแม่ และลูกเจริญเติบโตอยู่ภายใน การที่ปลากัดท้องป่องนั้นต้องสังเกตให้ดีว่า เป็นอาการท้องป่อง (ที่เกิดขึ้นได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย) เพราะกินอิ่ม (จริง ๆ แล้วคนจ้องตากันก็มีโอกาสท้องป่องได้นะ ก็ถ้าเผลอจ้องตากันระหว่างทานข้าว จะทำให้กินเพลินไม่รู้ปริมาณ กินไปกินมา จ้องไปจ้องมา น้ำหนักจะขึ้นได้ไม่ทันตั้งตัว เป็นผลให้พุงป่องทั้งผู้หญิงและผู้ชายได้นะจ๊ะ) ป่วยด้วยการติดเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำ หรือ เพื่อแสดงออกถึงความพร้อมในการผสมพันธุ์

ถ้าท้องป่องเป็นผลมาจากการเทียบปลากัดเพศผู้และเพศเมีย หรือ เกิดขึ้นในช่วงเวลาผสมพันธุ์ (ช่วงฤดูฝน เป็นต้น) ประกอบกับเห็นจุดสีขาวๆ นูนออกมาใต้ท้องปลากัดเพศเมียอย่างชัดเจน (ดังภาพ) จุดสีขาวๆ นี้คนมักเรียกว่า จุดไข่นำ

สิ่งนี้เป็นผลจากการที่มีไข่อยู่ภายในท้องตัวเมียเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ถ้าไม่นำปลากัดเพศเมียมาเจอกันกับปลากัดเพศผู้แล้ว ผ่านไปสักระยะหนึ่งไข่ในท้องของเพศเมียจะฝ่อไป ท้องก็จะยุบเป็นปกติ (คล้ายกับที่ผู้หญิงตกไข่ทุกเดือน แต่เมื่อไม่ได้รับการผสมพันธุ์ก็จะสลายไปและขับทิ้งในรูปของประจำเดือน เพียงแต่ในปลากัด ไม่มีประจำเดือนเหมือนคนเท่านั้นเอง) ถ้าต้องการได้ลูกปลากัด จะต้องให้ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมาเจอกัน เพื่อทำการ Featuring (ปฏิสนธิ) ภายนอกร่างกาย เมื่อนำพ่อปลากัดและแม่ปลากัดมาเจอกัน จะได้ลูกเลยเหรอ .... แค่นี้เพียงพอไหม? อยากรู้เพิ่มเติมว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ลูกปลากัดเป็นจำนวนมาก ติดตามต่อในฉบับถัดไป

 

 

เรื่องโดย ผศ.ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,397,354 views since 16 August 2018