Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การศึกษาตามแนวฉันทะ The Education base on Chanda

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
363 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

เมื่อพูดถึงเรื่อง การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษารูปแบบปกติหรือนานาชาติ ในระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา คนในวงการและนอกวงการการศึกษามักจะนึกถึงความน่าเชื่อถือและการจัดอันดับของสถาบันการศึกษาเหล่านั้นเป็นลำดับต้นๆ หรือแม้กระทั่งมุ่งไปที่เรื่องชื่อเสียงของครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในสถาบันการศึกษานั้นๆ ด้วย

ตามความเป็นจริงแล้ว เรื่องการศึกษานี้ อะไรคือสิ่งแรกๆ ที่เราควรให้ความสนใจหรือเพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษ ตอบว่า อย่างแรกสุด เราจะดูว่าสถาบันที่จัดการศึกษานั้นมุ่งเน้นไปในทิศทางใดหรือมีปรัชญาในการบริหารการศึกษาอย่างไร เพราะเรื่องเหล่านี้ จะสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านการบริหารจัดการองค์กรทางการศึกษาของผู้บริหารนั่นเอง ตลอดจนชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาจะปรากฎเป็นรูปธรรมให้สังคมได้เห็นว่า สถาบันการศึกษานั้นๆ ใช้ปรัชญาและแนวคิดอะไรในการบริหารจัดการการศึกษา

จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อกล่าวถึงเรื่องการศึกษา คนโดยทั่วไปมักจะมองไปที่ปรัชญาการศึกษาที่ผู้บริหารใช้ในการบริหารจัดการองค์กรเป็นหลัก ตลอดถึงชื่อเสียงอันโด่งดังของสถาบันการศึกษาเป็นที่ตั้ง หรือแม้แต่เลือกตัดสินใจเข้าสู่สถาบันการศึกษาด้วยความรู้ความสามารถของครูอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับในสถาบันการศึกษานั้น แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพและคุณค่าที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา           อย่างถึงที่สุดแล้วจะเข้าใจได้ว่า ทุกองคาพยพของการบริหารจัดการการศึกษา ล้วนมุ่งไปที่ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาเป็นสำคัญ สถาบันการศึกษาจะติดอันดับต้นๆ ครูอาจารย์จะมีความรู้ความสามารถสุดยอด หรือผู้บริหารจะมีฝีมือบริหารจัดการจนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติก็ตาม หากผู้เรียนหรือผู้ศึกษาขาดความตั้งใจหรือใส่ใจต่อการศึกษา โอกาสของความสำเร็จที่จะเกิดต่อตัวผู้เรียนหรือผู้ศึกษา ตลอดจนผลงานเชิงประจักษ์ของผู้บริหาร ครูอาจารย์หรือสถาบันการศึกษาจะปรากฏเป็นเด่นชัดได้อย่างไร

มีคำถามว่า การศึกษาตามแนวฉันทะนั้นเป็นอย่างไร สำหรับเรื่องนี้ ผู้เขียนมุ่งไปที่ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาเป็นสำคัญ และฉันทะนี้ย่อมทำให้ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาเกิดการพัฒนาตนเองได้อย่างเด่นชัด ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนอถึงตัวบ่งชี้คุณลักษณะแห่งฉันทะในตนที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

  1. ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาต้องมีสติปัญญาหยั่งรู้ในความรู้ความสามารถหรือศักยภาพที่ตนเองมีอยู่เป็นทุนในเบื้องต้น หมายความว่า เราสามารถเห็นได้จากหลายๆ ครั้ง นักเรียนหรือนักศึกษาไทยไม่สามารถตอบตนเองและสังคมได้ว่า เลือกเรียนสาขาวิชาหรือสถาบันนี้ด้วยความมุ่งหมายอะไร พูดง่ายๆ ก็คือผู้เรียนหรือผู้ศึกษาไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองเลือกเรียนนั้นเกิดจากเหตุผลอะไร และเรียนสาขาวิชานี้เพื่อมุ่งประโยชน์อะไรในอนาคตสำหรับตนเองและสังคม ดังนั้น ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาที่มีปัญหาในประเด็นแรกนี้ เวลาถูกถามจึงตอบได้เพียงแค่ว่า พ่อแม่บอกให้เรียนหรือเรียนตามเพื่อนๆ และที่น่ากลัวเป็นอย่างยิ่งคือ ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร จึงมาเรียนสาขาวิชานี้
  2. ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์หรือมีสายตากว้างไกลมองไปข้างหน้าถึงประโยชน์ที่จะได้จากการเรียนหรือการศึกษาของตนเอง ประเด็นนี้เป็นการมองที่กว้างขึ้น คือหลังจากที่ผู้เรียนได้รู้จักธรรมชาติของตนเองว่าชอบเรียนสาขาวิชาและสถาบันการศึกษานี้ด้วยเหตุผลอะไรเป็นสำคัญ ซึ่งมิใช่เป็นการเลือกแบบไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรหรือไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ท้ายที่สุด กรรมเวรเลยทำให้มาเรียนดังที่เห็น หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่รู้ว่าการเรียนการศึกษาของผู้ที่คิดแบบนี้จะเป็นการเรียนการศึกษาที่มีความสุขและมีการพัฒนาต่อเนื่องจากที่มีอยู่เดิมหรือแย่กว่าเดิม ปรากฏการณ์เช่นนี้ อาจจะเรียกว่า การเรียนแบบแล้วแต่กรรมเวรหรือแล้วแต่โชคชะตาจะพาไป ซึ่งการเรียนโดยใช้วิธีคิดเช่นนี้ เชื่อได้เลยว่า มีแต่จะล่มจมอย่างเดียว มิหนำซ้ำ ยิ่งกลับกลายเป็นทับถมสังคมให้ล่มจมยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าตัว เรียกว่าตนเองแย่แล้วยังไม่พอ ยังฉุดกระชากลากจูงสังคมให้แย่ตามไปด้วย

ดังนั้น การเรียนการศึกษาตามแนวฉันทะนี้ จึงเป็นการเรียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการเข้าใจธรรมชาติภายในของตนเองอย่างลึกซึ้ง เรียกง่ายๆ ว่า ตนเองต้องรู้ว่าตนเองต้องการอะไรเป็นสำคัญ ต่อมา ต้องมีสายตาที่ยาวไกล มองไปถึงอนาคตว่าสิ่งที่เรียนจะมีประโยชน์กับตนเอง คนอื่น และสังคมโดยรวมได้อย่างไร  เรียกว่าประโยชน์ตนก็ได้ ประโยชน์คนอื่นและสังคมก็ไม่เสีย สรุปแล้ว การศึกษาในลักษณะเช่นนี้จะเป็นคำตอบให้กับเด็กสมัยใหม่ ซึ่งเป็นเด็กที่ต้องการอะไรทันด่วน ไม่ชอบการรอคอย พร้อมทั้งการเรียนแบบฉันทะนี้จะเข้ากันได้ดีกับสังคมไทย ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยแล้ว

 

 

เรื่องโดย ดร.มนัสวี ศรีนนท์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,257,955 views since 16 August 2018