Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) กับการศึกษา

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,747 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

  Motivation หรือแรงจูงใจนั้น โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 1) Autonomous motivation คือแรงจูงใจที่มาจากภายในของบุคคลเองที่ผลักดันให้บุคคลนั้นกระทำอะไรบางอย่าง โดยแสดงออกมาในรูปแบบของการยินดีที่จะทำด้วยความเต็มใจ และ 2) controlled motivation คือแรงจูงใจภายนอกที่ผลักดันให้บุคคลนั้นกระทำอะไรบางอย่าง เช่น การให้รางวัล เป็นต้น จะเห็นได้ว่า controlled motivation นั้น ปัจจัยภายนอก เช่น การลงโทษ คำชมเชย รางวัล จะมีอิทธิพลต่อการลงมือหรือไม่ลงมือทำ แต่สำหรับ autonomous motivation นั้น ปัจจัยภายในของบุคคลนั้น เช่น ความคิด เป้าหมาย จะมีอิทธิพลต่อการลงมือ/ไม่ลงมือทำ ตามทฤษฎีนั้น การที่บุคคลจะมี autonomous หรือ self-motivation นั้น จะต้องมีความพึงพอใจต่อ 3 ปัจจัยที่กล่าวถึงต่อไปนี้ ซึ่งเราเรียกว่า 3 Basic Psychological Needs ได้แก่

  1. Competency หมายถึง บุคคลจะมี self-motivation เมื่อบุคคลผู้นั้นมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง
  2. Ralatedness หมายถึง บุคคลจะมี self-motivation เมื่อบุคคลผู้นั้น รู้สึกว่าตนเองเป็นสมาชิกของสังคม รู้สึกว่าตนองได้เชื่อมโยงกับบุคคลอื่นในสังคมของตน เป็นพวกพ้องเดียวกัน มีความห่วงหาและถูกห่วงหาโดยเพื่อนร่วมสังคม
  3. Autonomy หมายถึง บุคคลจะมี self-motivation เมื่อบุคคลผู้นั้น รู้สึกว่าตนเองสามารถกำหนดเส้นทางชีวิตตนเองได้ มีสิทธิที่จะตัดสินใจในเรื่องของตนเอง โดยไม่ถูกครอบงำจากบุคคลอื่น หรือจากปัจจัยภายนอก

ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน หรือจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เอื้อให้เกิด 3 สิ่งนี้ ก็จะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน ให้กับนักเรียนด้วย เช่น  การให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกหัวข้อการทำโครงานหรือหัวข้อการเขียน assignment ด้วยตนเอง เป็นต้น

 

ที่มา Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2017). Self-determination Theory: Basic Psychological Needs in Motivation, Development, and Wellness. The Guilford Press. https://doi.org/10.1521/978.14625/28806.


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,006 views since 16 August 2018