Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Hackathon กับการเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
438 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

จากบทความที่แล้ว ที่ได้มีการกล่าวถึงความหมายของ Hackathon วัตถุประสงค์ในการจัด Hackathon และโจทย์ในการจัด Hackathon ซึ่งมีความแตกต่างกันไป สำหรับในบทความนี้เราจะมาพูดถึงอีกแง่มุมหนึ่งของ Hackathon ซึ่งก็คือบทบาทของ Hackathon ที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการจัดการเรียนรู้กันบ้างค่ะ

อย่างที่ทราบกัน (ถ้าได้อ่านบทความของเดือนที่แล้ว) ว่า Hackathon ได้ถูกจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือปัญหาเชิงวิศวกรรม ด้วยเหตุนี้ Hackathon จึงถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมได้ใช้ทักษะในการแก้ปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง รวมไปถึงใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ที่ได้ถูกกำหนดขึ้น ตลอดจนได้ใช้ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งมีความถนัดแตกต่างกัน ซึ่งทักษะทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ก็คือทักษะที่เหมาะกับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 หรือ 21st Century skills นั่นเอง นอกจากนี้   concept ของ Hackathon ยังถูกมองว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อีกด้วย เพราะการที่ Hackathon ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมใช้ทักษะและความรู้ในการเสาะหาข้อมูลและคิดค้นวิธีการแก้ปัญหานั้น ก็มีความใกล้เคียงกับการจัดการเรียนรู้แบบ Project-based learning และ Problem-based learning  นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น concept ของ Hackathon ยังถูกนำไปเชื่อมโยงกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ design thinking อีกด้วย

สำหรับแนวคิดเชิงออกแบบหรือ design thinking นั้น คือกระบวนการออกแบบที่เอาโจทย์หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง จึงต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจถึงบริบท พฤติกรรมและลักษณะของกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ จากนั้นก็ระดมความคิดสร้างสรรค์จากมุมมองที่หลากหลายเพื่อให้ได้มาซึ่งไอเดีย หรือแนวทางที่จะตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมาย แล้วก็มาสร้าง prototype เพื่อทดสอบและพัฒนาเพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในที่สุดหรือสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายได้ จะเห็นได้ว่า concept กระบวนการคิดเชิงออกแบบนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Hackathon โดยที่จะมีบทบาทในช่วงของการเริ่มต้นทำ  Hackathon นั่นก็คือ การเข้าใจปัญหา ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การระดมความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ไอเดียที่หลากหลาย โดยที่ไม่ได้มีการประเมินไอเดียเหล่านั้นเพื่อคัดออก หากแต่รวบรวมทุกไอเดียที่เกิดขึ้นเอาไว้ให้ได้มากที่สุดก่อน จากนั้นก็คือการเลือกไอเดียจากที่ได้ทำการรวบรวมเอาไว้ นำมาทำให้เป็นรูปเป็นร่าง หรือการสร้าง prototype นั่นเอง

ในปัจจุบันแนวคิดเชิงออกแบบหรือ design thinking นั้นได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายจนเป็นที่มาของรายได้ให้แก่ทีมผู้คิดค้น แม้กระทั่งในด้านการศึกษา แนวคิดเชิงออกแบบก็ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในปัจจุบันให้แก่ผู้เรียนได้อีกด้วย ซึ่งบทบาทของแนวคิดเชิงออกแบบในด้านการศึกษา ก็คือหัวข้อของบทความถัดไปค่ะ แล้วพบกันเดือนหน้านะคะ

 

ที่มา

  1. ความหมาย Design Thinking และการนำไปใช้แก้ปัญหาธุรกิจ :

https://medium.com/@PunchilZ/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-design-thinking-632e1a16d471

  1. Hackathon as a new pedagogy :

https://www.edutopia.org/blog/hackathons-as-a-new-pedagogy-brandon-zoras

 

 

เรื่องโดย ดร.พัชรพรรณ ศิริวัฒน์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,258,006 views since 16 August 2018