Nudge Theory เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics) ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการ Nudge (แปลเป็นภาษาไทยว่า สะกิดหรือตะล่อม) ให้เป็นไปในทางที่(คนใช้เครื่องมือ)ต้องการ โดยไม่มีการบังคับใจ ตัวอย่างของการใช้ Nudge Theory เพื่อให้ผู้คนยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ก็เช่น การที่ร้านอาหาร fast food จัดให้มีค่าเริ่มต้นของอาหารชุด เป็น French fries กับน้ำอัดลมมีขนาดเล็ก (ไซส์ S) เพราะมีจำนวนแคลอรี่น้อยกว่าขนาดกลาง (M) และขนาดใหญ่ (L) เพื่อให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น หรือในเรื่องของการบริจาคอวัยวะ โดยในแบบฟอร์มที่ปรากฏอยู่หน้าเวปไซต์ จะตั้งค่าเริ่มต้นเป็น opt-in หรือเลือกที่จะบริจาคอวัยวะ แต่ถ้าหากไม่อยากบริจาคอวัยวะ จะต้องไปค้นหาและกดที่ปุ่ม opt-out หรือไม่ประสงค์จะบริจาคแทน แต่อย่างไรก็ดี ประเด็นการบริจาคอวัยวะนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของการตั้งค่า opt-in เป็นค่าเริ่มต้นนั้น อาจจะสร้างความกังวลใจให้กับผู้บริจาคที่ไม่ได้เต็มใจบริจาคตั้งแต่แรกหรือเผลอกด opt-in โดยไม่ได้ตั้งใจ
Nudge Theory นั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้ เพื่อเป็นการสะกิดหรือตะล่อมให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การกำหนด deadline ย่อยๆในการส่งงาน เช่น deadline รายงานความก้าวหน้ารายอาทิตย์ ในระหว่างการทำโครงงานใหญ่ซึ่งใช้เวลาทำทั้งเทอม เพื่อให้นักเรียนโครงงานเสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด หรือการให้รางวัลเล็กๆน้อยๆเมื่อนักเรียนทำกิจกรรมย่อยสำเร็จ ก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้
ที่มา
1) จูงใจหรือยัดเยียด ทำความรู้จักการใช้ Nudge วิธีสะกิดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม. (2019, November 4). THE STANDARD. https://thestandard.co/nudge/
2) Park, M.-H., & Clemson, C. (2020). Using Nudge Theory in Early Childhood Classrooms. Childhood Education, 96(6), 22–31. https://doi.org/10.1080/00094056.2020.1846375
3) Thaler, R. H., & Sunstein, C. R. (2009). Nudge: Improving Decisions about Health, Wealth, and Happiness. Penguin Books.