Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ความตระหนักรู้ (awareness of science) และความฉลาดรู้วิทยาศาสตร์ (science literacy)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
2,406 เข้าชม
(@patcharapan-sir)
Trusted Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 24
หัวข้อเริ่มต้น  

            พูดถึงการสื่อสารวิทยาศาสตร์กันมาเยอะแล้ว ทีนี้เราจะมาพูดถึงเป้าหมายของการสื่อสารวิทยาศาสตร์กันบ้าง ซึ่งก็คือเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความฉลาดรู้วิทยาศาสตร์ ความหมายของการตระหนักรู้นั้น ในปทานุกรมทั่วไปได้ให้ความหมายเอาไว้ว่าเป็นการมีจิตสำนึก โดยที่ไม่เพิกเฉยต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็เป็นการเพียงพอสำหรับในช่วงเวลานั้นๆ 

            สำหรับการตระหนักรู้วิทยาศาสตร์นั้น Gilbert, Stocklmayer, & Garnett (1999) ได้ให้นิยามว่า การรับรู้วิทยาศาสตร์นั้นคือชุดของเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถบ่งบอกว่ามีการตระหนักรู้วิทยาศาสตร์ได้จากทักษะและพฤติกรรมที่แสดงออก

           ในบางครั้ง มีผู้นำ”การตระหนักรู้วิทยาศาสตร์ของประชาชน”ไปใช้ในความหมายเดียวกันกับ “การเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชน” อันที่จริงแล้วนั้น จุดมุ่งหมายของสอง term นี้ มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน หากแต่มีขอบเขตของความหมายที่คาบเกี่ยวกันอยู่ สำหรับ”การตระหนักรู้วิทยาศาสตร์”นั้น จะหมายรวมถึงเจตคติของประชาชนที่มีต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เป็นพื้นฐานของการนำไปสู่ “การเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชน” และ”การฉลาดรู้วิทยาศาสตร์”

            การฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้นคือความสามารถในการเข้าใจแง่มุมของวิทยาศาสตร์ ทั้งในเรื่องธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และทัศนคติที่มีต่อวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้น จะสามารถเข้าใจข้อเท็จจริง แนวคิดหลักและทฤษฎีสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนกระบวนการในการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาหรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ สื่อสารและโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล จะเห็นได้ว่า การฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้น มีความสำคัญอย่างมากในยุคที่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำรงชีวิต เพราะ หากประชาชนมีความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต

แหล่งที่มาของข้อมูล

  1. Scientific Literacy https://www.gotoknow.org/posts/278247
  2. ความฉลาดรู้วิทยาศาสตร์ https://pisathailand.ipst.ac.th/
  3. E-an Zen(1990) Science Literacy and Why it is Important, Journal of Geological Education, 38:5, 463-464, DOI: 5408/0022-1368-38.5.463
  4. Sykes, J. B. (1999). Concise Oxford Dictionary (10th ed.)
  5. Gilbert, J. K., Stocklmayer, S., & Garnett, R. (1999). Mental modelling in science and technology centres: what are visitors really doing? The International Conference on Learning Science in Informal Contexts, 16–32. Canberra

 


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,391,150 views since 16 August 2018